การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึม (Amoeboid Movement)
ภายในไซโทพลาซึมมีไมโครฟิลาเมนต์ เป็นเส้นใยโปรตีนแอกทินและไมโอซิน ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ทำให้เอนโดพลาซึมไหลไปมาภายในเซลล์ได้และดันเยื่อหุ้มเซลล์ให้โป่งออกมาเป็นขาเทียม (pseudopoda) ทำให้อะมีบาเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา (amoeboid movement)
ไซโทพลาซึมในเซลล์อะมีบาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- ชั้นนอก (ectoplasm) มีลักษณะค่อนข้างแข็งและไหลไม่ได้
- ชั้นใน (endoplasm) มีลักษณะเป็นของเหลวและไหลได้
amoeboid movement และ pseudopoda คือ keyword สำคัญ สำหรับการสอบ โดยจะถามว่าเซลล์ใดสามารถเคลื่อนที่เเบบนี้ได้บ้าง นัั้นคือ เซลล์เม็ดเลือดขาว อะมีบา เป็นต้น (เจอกันในข้อสอบนะครับ)
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนไหวโดยอาศัยแฟลเจลลัมหรือซิเลียซึ่งเป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากเซลล์สามารถโบกพัดไปมาได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ไปได้
แฟลเจลลัม (flagellum)
- มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ คล้ายหนวดยาวกว่าซิเลีย แฟลเจลลัมเป็นโครงสร้างที่พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด เช่น ยูกลีน่า วอลวอกซ์
ซิเลีย (cilia)
- มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ ยื่นยาวออกจากเซลล์ของพืช หรือสัตว์เซลล์เดียว หรือเซลล์สืบพันธุ์ ใช้โบกพัดเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในน้ำหรือของเหลว พบในพารามีเซียม พลานาเรีย
โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของ cilia และ flagellum จะเป็น microtubule ที่มีโครงสร้าง 9+0 และ 9+2 ตามงตำแแหน่งที่มีการจัดวาง
กลับไปที่เนื้อหา
1.การเคลื่อนที่ของไส้เดือนเกิดจากการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อวงกลม และกล้ามเนื้อตามยาวหดตัวและคลายตัวเป็นระลอกคลื่นจากทางด้านหน้ามาทางด้านหลังทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปทางด้านหน้า ไส้เดือนมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อวงกลมรอบตัว อยู่ทางด้านนอก และกล้ามเนื้อตามยาว ตลอดลำตัวอยู่ทางด้านใน นอกจากนี้ไส้เดือนยังใช้เดือยซึ่งเป็นโครงสร้างเล็ก ๆ ที่ยื่นออกจากผนังลำตัวรอบปล้องช่วยในการเคลื่อนที่ด้วย
2.การเคลื่อนที่ของพลานาเรีย
พลานาเรียเป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบนอาศัยอยู่ในน้ำมีกล้ามเนื้อ 3 ชนิด คือ
● กล้ามเนื้อวง อยู่ทางด้านนอก
● กล้ามเนื้อตามยาว อยู่ทางด้านใน
● กล้ามเนื้อทแยง ยึดอยู่ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของลำตัว
พลานาเรีย เคลื่อนที่โดยการลอยไปตามน้ำ หรือ คืบคลานไปตามพืชใต้น้ำโดยอาศัยกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว ส่วนกล้ามเนื้อทแยงจะช่วยให้ลำตัวแบนบางและพลิ้วไปตามน้ำ ในขณะที่พลานาเรียเคลื่อนไปตามผิวน้ำ ซิเลียที่อยู่ทางด้านล่างของลำตัวจะโบกพัดไปมาช่วยเคลื่อนตัวไปได้ดียิ่งขึ้น
3.การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนแมงกะพรุน มีของเหลวที่ เรียกว่า มีโซเกลียแทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อ ชั้นใน มีน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของลำตัวแมงกะพรุนเคลื่อนที่โดยการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและที่ผนังลำตัวสลับกันทำให้พ่นน้ำออกมาทางด้านล่างส่วนตัวจะพุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับทิศทางน้ำที่พ่นออกมาการหดตัวนี้จะเป็นจังหวะทำให้ตัวแมงกะพรุนเคลื่อนไปเป็นจังหวะด้วย
4.การเคลื่อนที่ของหมึกหมึกเคลื่อนที่โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลำตัว พ่นน้ำออกมาจาก ไซฟอน ซึ่งอยู่ทางส่วนล่างของส่วนหัว ทำให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าในทิศทางที่ตรงข้ามกับทิศทางของน้ำ นอกจากนี้ส่วนของไซฟอนยังสามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของน้ำที่พ่นออกมา และยังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของการเคลื่อนที่ด้วย ส่วนความเร็วนั้น ขึ้นอยู่กับความแรงของการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำตัว แล้วพ่นน้ำออกมา หมึกมีครีบอยู่ทางด้านข้างลำตัว ช่วยในการทรงตัวให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เหมาะสม
5.ดาวทะเล มีระบบการเคลื่อนที่ด้วยระบบท่อน้ำ ระบบท่อน้ำประกอบด้วย มาดรีโพไรต์สโตนแคเนล ริงแคแนล เรเดียลแคแนล ทิวบ์ฟีท แอมพูลลา ดาวทะเลเคลื่อนที่โดยน้ำเข้าสู่ระบบท่อน้ำดรีโพไรต์และไหลผ่านท่อวงแหวนรอบปากเข้าสู่ท่อเรเดียลแคแนลและทิวบ์ฟีท เมื่อกล้ามเนื้อที่แอมพูลลาหดตัวดันน้ำไปยังทิวบ์ฟีท ทิวบ์ฟีทจะยืดยาวออก ไปดันกับพื้นที่อยู่ด้านล่างทำให้เกิดการเคลื่อนที่ เมื่อเคลื่อนที่ไปแล้วกล้ามเนื้อของทิวบ์ฟีทจะหดตัวทำให้ทิวบ์ฟีทสั้นลง ดันน้ำกลับไปที่แอมพูลลาตามเดิม การยืดหดของทิวบ์ฟีท หลายๆ ครั้งต่อเนื่องกันทำให้ดาวทะเลเกิดการเคลื่อนที่ไปได้
6.แมลง เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่แมลงมีโครงร่างภายนอก ซึ่งเป็นสารพวกไคทินมีลักษณะเป็นโพรง เกาะกันด้วยข้อต่อซึ่งเป็นเยื่อที่งอได้ ข้อต่อข้อแรกของขากับลำตัวเป็นข้อต่อแบบ บอลแอนด์ซอกเก็ต ส่วนข้อต่อแบบอื่นๆ เป็นแบบบานพับ การเคลื่อนไหวเกิดจากทำงานสลับกันของ กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ และเอ็กเทนเซอร์ ซึ่งเกาะอยู่โพรงไคทินนี้ โดย กล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ ทำหน้าที่ในการงอขา และกล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์ ทำหน้าที่ในการเหยียดขาซึ่งการทำงานเป็นแบบแอนทาโกนิซึมเหมือนกับคนแมลงมีระบบกล้ามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ
- ระบบกล้ามเนื้อที่ติดต่อกับโคนปีกโดยตรง
- ระบบกล้ามเนื้อที่ไม่ติดต่อกับปีกโดยตรง
กลับไปที่เนื้อหา
การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
1.การเคลื่อนที่ของปลาระบบกล้ามเนื้อ ที่ยึดติดอยู่ 2 ข้างของกระดูกสันหลังโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่งทั้งชุดเริ่มจากหัวไปหางและการพัดโบกของครีบหางทำให้ปลาเคลื่อนที่เป็นรูปตัว Sครีบต่างๆ ได้แก่ ครีบเดี่ยว เช่น ครีบหลังและครีบหางจะช่วยพัดโบกให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า และ ครีบคู่เช่น ครีบอก และ ครีบสะโพก ซึ่งช่วยในการพยุงตัวและเคลื่อนที่ลงในแนวดิ่ง
2.การเคลื่อนที่ของนกนกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก(keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle)คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor)และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มาก ทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (depresser muscle)คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)การบินโดยการกระพือปีกพบทั่ว ๆ ไป คือ จะกางปีกออกกว้างสุด แล้วกระพือไปข้างหน้าพร้อม ๆ กับกระพือลงข้างล่าง (คล้ายกับการว่ายน้ำท่าผีเสื้อ) จากนั้นจะลู่ปีกและยกขึ้นข้างบนพร้อม ๆ กับขยับไปทางหาง
กลับไปที่เนื้อหา
1. ระบบโครงกระดูกและข้อต่อ
ระบบโครงกระดูกของคน
ระบบโครงกระดูก หมายถึง กระดูกอ่อน(Cartilage) กระดูกแข็ง (Compact bone) ข้อต่อ(Joints)รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่มาเกี่ยวพัน ได้แก่ เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon)เอ็นยึดข้อ (Ligament)หน้าที่ของระบบโครงกระดูก
1. เป็นโครงร่าง ทำให้คนเราคงรูปอยู่ได้ นับเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด
2. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลาย เป็น รวมทั้งพังผืด
3. เป็นโครงร่างห่อหุ้มป้องกันอวัยวะภายใน ไม่ให้เป็นอันตราย เช่น กระดูกสันหลังป้องกัน ไขสันหลัง
4. เป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่ใหญ่ที่สุด
5. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ
6. ช่วยในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกระดูกยาวทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวเป็นมุมที่กว้างขึ้น
7. กระดูกบางชนิดยังช่วยในการนำคลื่นเสียง ช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง จะทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่ายไปยังหูตอนใน
ข้อต่อ
คือ ตำแหน่งที่กระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไปมาจรดกันโดยมีเนื้อเยื่อหรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน มายึดให้ติดกันเป็นข้อต่ออาจเคลื่อนไหวได้มากหรือน้อย หรือไม่ได้เลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของข้อต่อนั้นๆแต่ประโยชน์ที่สำคัญคือ เพื่อป้องกันอันตรายต่อกระดูก และให้กระดูกที่มีความแข็งอยู่แล้ว สามารถเคลื่อนไหวหรือปรับผ่อนได้ตามสภาพและหน้าที่ของกระดูกที่อยู่ ณ ตำแหน่งนั้น ๆ
กระดูกอ่อน จัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษ ที่มีเมทริกซ์แข็งกว่าเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆ ยกเว้น กระดูกแข็งหน้าที่สำคัญ ของกระดูกอ่อน คือ รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ ทำให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสีกระดูกอ่อนจะพบที่ปลายหรือหัวของกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่างๆ และยังเป็น ต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทั่วร่างกายความแตกต่างในแง่ของปริมาณและชนิดของ fiber ที่อยู่ภายใน matrix มีผลให้คุณสมบัติของกระดูกอ่อนแตกต่างกันไป ทำให้สามารถจำแนกชนิดของกระดูกอ่อนได้เป็น 3 ชนิด
2.ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. กล้ามเนื้อลาย ( skeletal muscle ) เป็นกล้ามเนื้อชนิดเดียวที่ยึดเกาะกับกระดูก ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะเป็น ทรงกระบอกยาว เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber ) ถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะมองเห็น เป็นแถบลาย สีเข้ม สีอ่อน สลับกันเห็นเป็นลายตามขวาง แต่ละเซลล์มีหลายนิวเคลียส การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของจิตใจ ระบบประสาทโซมาติก (voluntary muscle) เช่น กล้ามเนื้อที่ แขน ขา หน้า ลำตัว เป็นต้น
กล้ามเนื้อลายประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาวเหมือนเส้นใย เรียกว่า เส้นใยกล้ามเนื้อ ( muscle fiber ) อยู่รวมกันเป็น เซลล์แต่ละเซลล์ในเส้นใยกล้ามเนื้อจะมีหลายนิวเคลียสในเส้นใยกล้ามเนื้อแต่ละเส้นจะประกอบด้วยมัดของ เส้นใยฝอย หรือเส้นใยกล้ามเนื้อเล็ก ( myofibrils ) ที่มีลักษณะเป็นท่อนยาวเรียงตัวตามแนวยาว ภายในเส้นใยฝอยจะประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆเรียกว่า ไมโอฟิลาเมนท์ ( myofilament )ไมโอฟิลาเมนต์ ประกอบด้วยโปรตีน 2 ชนิด คือ ไมโอซิน( myosin ) และแอกทิน ( actin ) ไมโอซินมีลักษณะเป็นเส้นใยหนาส่วนแอกทินเป็นเส้นใยที่บางกว่า การเรียงตัวของไมโอซินและแอกทิน อยู่ในแนวขนานกัน ทำให้เห็นกล้ามเนื้อเป็นลายขาวดำสลับกัน
2. กล้ามเนื้อเรียบ ( smooth muscle ) เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่มีลาย ตามขวาง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะแบนยาว แหลมหัวแหลมท้าย ภายในเซลล์มีนิวเคลียสอันเดียวตรงกลาง ทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ระบบประสาทอัตโนวัติ ( involuntary muscle ) เช่น กล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ
3. กล้ามเนื้อหัวใจ ( cardiac muscle ) เป็นกล้ามเนื้อของหัวใจโดยเฉพาะรูปร่างเซลล์ จะมีลายตามขวางและมีนิวเคลียสหลายอันเหมือนกล้ามเนื้อลายแต่แยกเป็นแขนงและเชื่อมโยงติดต่อกันกับเซลล์ข้างเคียงการทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ
กล้ามเนื้อไบเซพ (biceps) และกล้ามเนื้อไตรเซพ (triceps)ปลายข้างหนึ่งของกล้ามเนื้อทั้งสองยึดติดกับกระดูกแขนท่อนบน ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งยึดติดอยู่กับกระดูกแขนท่อนล่าง เมื่อกล้ามเนื้อ ไบเซพหดตัว ทำให้แขนงอตรง บริเวณข้อศอก ขณะที่แขนงอ กล้ามเนื้อไตรเซพจะคลายตัว แต่ถ้ากล้ามเนื้อไบเซพคลายตัวจะทำให้แขนเหยียดตรงได้ ซึ่งขณะนั้นกล้ามเนื้อไตรเซพจะหดตัว ดังนั้นกล้ามเนื้อไบเซพจึงเป็นกล้ามเนื้อเฟล็กเซอร์ ส่วนกล้ามเนื้อไตรเซพ จะเป็นกล้ามเนื้อเอ็กซ์เทนเซอร์
กลับไปที่เนื้อหา
-
7025 การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต /lesson-biology/item/7025-2017-05-21-08-09-47เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง