ระบบประสาท (nervous system)
เซลล์ประสาท (Neuron)
เซลล์ประสาท (neuron) ประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน คือ
1) ตัวเซลล์ประสาท (cell body) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-25 ไมโครเมตร ประกอบด้วย
- นิวเคลียส (nucleus)
- ไซโทพลาสซึม (cytoplasm) มีโครงสร้างสำคัญได้แก่ ไมโทคอนเดรีย และ นิสซึลบอดี (nissl body) เป็นจุดสีน้ำเงินถ้าดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะเห็นเป็น RER ซึ่งมีไรโบโซมเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีไรโบโซมอิสระกระจายอยู่รอบๆ ทำหน้าที่สั้งเคราะห์โปรตีนออกไปใช้ตามแอกซอน (axon)
2) ใยประสาท (nerve fiber)
- เดนไดรต์ (dendrite) คือ ใยประสาทที่นำกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์
- แอกซอน (axon) คือ ใยประสาทที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์
ข้อเปรียบเทียบระหว่างเดนไดรต์กับแอกซอน
1) เดนไดรต์มักจะมีจำนวนใยประสาทมากกว่าแอกซฮน
2) เดนไดรต์มักจะมีความยาวของใยประสาทสันกว่าแอกซอน
3) เดนไดรต์มักจะไม่มีเยื่อไมอีลินมาห่อหุ้มเหมือนแอกซฮน ยกเว้นเดนไดรต์ที่ยาว
4) เดนไดรต์มี nissl body ส่วนแอกซอนไม่มี
5) เดนไดรต์ไม่มีสารสื่อประสาท ส่วนแอกซอนมีสารสื่อประสาท
6) เดนไดรต์ส่งกระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนนำกระแสประสาทออกจากเซลล์
กลับไปที่เนื้อหา
การจำแนกเซลล์ประสาท
1) จำแนกตามจำนวนขั้ว มี 3 แบบ คือ
- เซลล์ประสาท 1 ขั้ว (unipolar neuron) ได้แก่ เซลล์รับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ที่ปมรากบนของไขสันหลัง
- เซลล์ประสาท 2 ขั้ว (bipolar neuron) ได้แก่ เซลล์รับกลิ่นในจมูก เซลล์ที่เรตินาของนัยน์ตา เซลล์รับเสียงของหูตอนใน
- เซลล์ประสาทหลายขั้ว (multipolar neuron) ได้แก่ เซลล์ประสาทประสานงาน เซลล์สั่งการ (พบในสมองและไขสันหลัง) เซลล์เหล่านี้มีมากที่สุด
2) จำแนกตามหน้าที่การทำงานมี 3 แบบ คือ
- เซลล์รับความรู้สึก (sensory neuron) เป็นเซลล์ที่นำกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกเข้าไขสันหลังและสมอง เซลล์นี้อาจเป็นเซลล์ประสาท 1 ขั้ว หรือ 2 ขั้วก็ได้
- เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) เป็นเซลล์ที่นำกระแสประสาทจากสองหรือไขสันหลังไปยังหน่วยปฎิบัติการ เซลล์นี้เป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว
- เซลล์ประสาทประสานงาน (association neuron) เป็นเซลล์ที่รับกระแสประสาทจากเซลล์รับความรู้สึกแล้วส่งกระแสประสาทไปยังเซลล์สั่งการ เซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์ประสาทหลายขั้ว
กลับไปที่เนื้อหา
การทำงานร่วมกันของเซลล์ประสาท
เซลล์ประสาทที่ทำงานร่วมกันจะผ่านทางไซแนปส์ (synaps) ซึ่งเป็นช่องว่างเล็กๆที่อยู่ระหว่างเซลล์ประสาทกับเซลล์ประสาท และเซลล์ประสาทกับหน่วยปฎิบัติการ (effectors)
เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาที่ปลายแอกซอน ถุงเล็กๆที่บรรจุสารสื่อประสาท (neurotransmitter) จะเคลื่อนที่ไปรวมกับเยื่อหุ้มเซลล์แล้วปล่อยสารสื่อประสาทแพร่กระจายออกมาข้ามไซแนปส์ไปยังปลายเดนไดรต์ของอีกเซลล์หนึ่ง จากนั้นสารสื่อประสาทก็จะไปเร้าให้มีกระแสประสาทเคลื่อนไปยังเซลล์ประสาทตัวต่อไป
สารสื่อประสาทจำพวกอะซิทิลโคลีน (Acetyl choline) เมื่อไซแนปส์แล้วจะสลายตัวไปโดยการทำงานของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส (cholinesterase) และสารสื่อประสาทเหล่านี้จะไม่พบที่ปลายของเดนไดรต์
กลับไปที่เนื้อหา
ศูนย์กลางของระบบประสาท
โปรติสต์
- ไม่มีระบบประสาท
- พารามีเซียมใช้เส้นใยประสานงาน (co-ordinating fiber) ควบคุมการโบกพัดของซีเลีย
สัตว์
- ร่างแหประสาท (nerve net) ยังไม่พัฒนามากเพราะ
- ยังไม่มีศูนย์กลางของระบบประสาท
- กระแสประสาทเคลื่อนที่ช้า
- เมื่อถูกกระตุ้นเพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะตอบสนองทั้งอวัยวะหรือร่างกาย
- ทิศทางของกระแสประสาทไม่แน่นอน
ร่างแหประสาทพบในสัตว์กลุ่มไนดาเรีย ดาวทะเล และผนังลำไส้ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (ช่วยควบคุม peritalsis)
- ปมประสาท (nerve ganglion) และเส้นประสาท (nerve cord)
- พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น พลานาเรีย แมลง ไส้เดือน กุ้ง หอย
- สมอง (brain) และไขสันหลัง (spinal cord)
- สมองและไขสันหลังเจริญมาจากหลอดประสาท (neural tube) ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวไปตามแนวสันหลังตอนเป็นเอ็มบริโอ
กลับไปที่เนื้อหา
สมอง (brain)
- สมองอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ
- มีเยื่อหุ้มสมอง (meninges) ปกคลุมเนื้อสมอง แบ่งเป็น 3 ชั้นได้แก่
1. ดูรามาเตอร์ (dura mater) ชั้นนอก
2. อะแรคนอยด์ (arachnoid) ชั้นกลาง
3. เพียมาเตอร์ (pia mater) ชั้นใน
มีของเหลวเรียกว่า cerebrospinal fluid อยู่ภายในโพรงสมอง (ventricle) ทั้งหมด 4 แห่งดังภาพด้านล้าง และแทรกอยู่ระหว่างเยื่อชั้นกลางกับชั้นใน ของเหลวเหล่านี้ช่วยนำออกซิเจนและอาหารมาเลี้ยงเซลล์ประสาท ระบายของสียออกจากเซลล์ และเป็นเสมือนเกราะป้องกันการกระเทือนแก่สมองและไขสันหลัง
- เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงอยู่
กลับไปที่เนื้อหา
โครงสร้างสมอง
- สมองเปลือกนอก (cerebral cortex) เป็นเนื้อสีเทา ประกอบด้วยตัวเซลล์และแอกซอนที่ไม่มีเยื่อไมอีลิน
- สมองด้านในหลายแห่งมีสีขาว ประกอบด้วยใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลิน
ส่วนประกอบสมองแบ่งเป็น 3 ส่วน คือสมองส่วนหน้า (forebrain) สมองส่วนกลาง (midbrain) และ สมองส่วนท้าย (hindbrain) ดังภาพ
ตำเเหน่งสมองคน
สมองส่วนหน้า
1. ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด
หน้าที่ เกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นโดยปลาและสุนัขจะมีสมองส่วนนี้ขนาดใหญ่ สมองส่วนนี้ในคนจะไม่เจริญเหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น
2. ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นสมองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักมาก ทำหน้าที่
1) เกี่ยวกับความคิด ความจำ และสติปัญญา
2) ศูนย์กลางควบคุมการรับสัมผัสต่างๆ
3) ศูนย์กลางควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
4) ศูนย์กลางควบคุมการพูดและการรับรู้ภาษา
5) ศูนย์กลางการมองเห็น การรับรส การได้ยิน และการดมกลิ่น
3. ทาลามัส (thalamus) อยู่เหนือไอโพทาลามัส
หน้าที่ เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้ามาและแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้น
4. ไฮโพทาลามัส มีหน้าที่
1) มีเซลล์ประสาทที่สร้างฮอร์โมน (neurosecretory cell) มาควบคุมต่อมใต้สมอง
2) เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ อารมณ์ ความรู้สึกทางเพศ
3) ควบคุมการนอนหลับ การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว ความอิ่ม
สมองส่วนกลาง
ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สมองส่วนกลางจะลดทั้งบทบาทและหน้าที่ลงเหลือเพียงถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างสมองส่วนหน้ากับสมองส่วนท้ายและระหว่างสมองส่วนหน้ากับนัยน์ตา
หน้าที่
1) ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกตากลิ้งกลอกได้
2) ควบคุมการเปิดปิดของม่านตา
สมองส่วนท้าย
1. ซีรีเบลลัม (cerebellum) มีคลื่นสมองเช่นเดียวกับซีรีบลัม สมองส่วนนี้เจริญดีที่สุดในพวกนก
หน้าที่ – ควบคุมการทรงตัว
- ควบคุมและประสานงานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างราบรื่นสละสลวยและเที่ยงตรง สามารถทำงานที่ละเอียดอ่อนได้
2. เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata)
หน้าที่ เป็นศูนย์ควบคุมระบบประสารทอัตโนมัติต่างๆ
3. พอนส์ (pons)
หน้าที่ – เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างซีรีบรัมกับซีรีเบลลัม และระหว่างซีรีเบลลัมกับไขสันหลัง
- ควบคุมการทำงานบางอย่างเช่น การหลั่งน้ำย่อย การเคี้ยว การเคลื่อนไหวของใบหน้า
เส้นประสาทสมอง (cranial nerves)
เส้นประสาทสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงคนมี 12 คู่ (ปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมี 10 คู่)
- เส้นประสาทรับความรู้สึกคือคู่ที่ 1, 2, 8
- เส้นประสาทสั่งการคือคู่ที่ 3, 4, 6, 11, 12
- เส้นประสาทผสมคือคู่ที่ 5, 7, 9, 10
กลับไปที่เนื้อหา
ไขสันหลัง (spinal cord)
- ไขสันหลังอยู่ภายในกระดูกสันหลังที่แบ่งออกเป็นข้อๆ ทั้งหมด 31 ข้อ
- มีเยื่อหุ้มไขสันหลัง 3 ชั้น เช่นเดียวกับเยื่อหุ้มสมอง
- มีน้ำไขสันหลังเรียกว่า cerebrospinal fluid หล่อเลี้ยงอยู่ในช่องกลางไขสันหลัง แทรกระหว่างเยื่อชั้นกลางกับเยื่อชั้นใน
โครงสร้างของไขสันหลัง (ภาคตัดขวาง)
เนื้อสีเทา (ด้านใน)
- มีรูปคล้ายผีเสื้อ
- ปีกบนเรียกว่าดอร์ซัลฮอร์น (dorsal horn)
- ปีกล่างเรียกว่าเวนทรัลฮอร์น (ventral horn)
- มีตัวเซลล์และใยประสาททีทไม่มีเยื่อไมอีลิน
เนื้อสีขาว (ด้านนอก)
- มัดใยประสาทที่ส่งประแสประสาทไปสมอง
- มัดใยประสาทที่นำคำสั่งจากสมองมายังไขสันหลังข้อต่างๆ
- มีใยประสาทที่มีเยื่อไมอีลิน
- ไม่มีตัวเซลล์ประสาท
เส้นประสาทไขสันหลังของคนมี 31 คู่ ทุกคู่เป็นเส้นประสาทผสม
กลับไปที่เนื้อหา
การทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงแบ่งได้เป็น
1. แบ่งตามโครงสร้าง แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1.1 ระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system) ได้แก่สมองและไขสันหลัง
1.2 ระบบประสาทรอบนอก (peripheral nervous system) ได้แก่เส้นประสาทสมองและไขสันหลัง
2. แบ่งตามหน้าที่การทำงาน แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ระบบประสาทใต้อำนาจจิตใจ (voluntary nervous system) เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย โดยอาศัยคำสั่งจากสมองส่วนซีรีบรัม (การทำงานของกล้ามเนื้อลายบางชนิดอาจอยู่นอกอำนาจจิตใจเช่น การกระตุกของขาเมื่อถูกเคาะเอ็นที่หัวเข่า)
2.2 ระบบประสาทที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจ (involuntary nervous system) หรือระบบประสาทอัติโนวัติ (autonomic nervous system) เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อเรียบ และต่อมต่างๆ ประกอบด้วย
- ระบบประสาทซิมพาเทติก (syspathetic system)
- เส้นประสาทที่ควบคุมหน่วยปฏิบัติการมาจากไขสันหลัง
- สารสื่อประสาทที่หลั่งมาควบคุมหน่วยปฎิบัติการได้แก่ อะดรีนาลิน
- ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (parasympathetics system)
- เส้นประสาทที่ควบคุมหน่วยปฏิบัตการมาจากสมองส่วนกลาง เมดัลลาออบลองกาตา และไขสันหลัง
- สารสื่อประสาทที่หลังมาควบคุมหน่วยปฎิบัติการคือ อะซิทิลโคลีน
ข้อสังเกต
1. ทั้งระบบซิมพาเทติกกับพาราซิมพาเทติกเป็นระบบสั่งการประกอบด้วยเซลล์สั่งการ 2 เซลล์ ยกเว้น ยกเว้นอะดรีนัลเมดัลลาจะมีเพียงเซลล์สัง่การชนิดเดียว
2. หน่วยปฏิบัติการที่ถูกควบคุมโดยระบบประสารทซฺมพาเทติกอย่างเดียวไม่มีระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมาควบคุมได้แก่ อะดรีนัลเมดัลลา และต่อมเหงื่อ
วงจรการทำงานของเซลล์ประสาท
รีเฟลกซ์อาร์ก (reflex arc) คือวงจรการทำงานของเซลล์ประสาทที่อาศัยอย่างน้อย 2 เซลล์ (เซลล์รับความรู้สึกกับเซลล์สั่งการ) ขี้นไปในการควบคุมหน่วยปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.โมโนไซแนปติกรีเฟลกซ์อาร์ก (monocynaptic reflex arc) คือวงจรที่เซลล์รับความรู้สึก 1 เซลล์มาไซเนปส์กับเซลล์สั่งการ 1 เซลล์เท่านั้น เช่น รีเฟลกซ์ของการกระตุกขาเมื่อเคาะเอ็นใต้หัวเข่า (knee jerk reflex)
2.โพลีไซแนปติกรีเฟลกซ์อาร์ค (polysynaptic reflex arc) คือวงจรที่มีเซลล์ประสานงาน (อาจมี 1 เซลล์หรือหลายเซลล์) มาเชื่อมระหว่างเซลล์รับความรู้สึกกับเซลล์สั่งการ เช่น รีเฟลกซ์ของการกระตุกขาหนีเมื่อเหยียบก้นบุหรี่
กลับไปที่เนื้อหา
-
7048 ระบบประสาท (nervous system) /lesson-biology/item/7048-nervous-systemเพิ่มในรายการโปรด