การอ่านชื่อสารเคมี
การเรียกชื่อแอนไอออน และออกซีแอนไอออน
สรุปการเรียกชื่อของแอนไอออนและออกซีแอนไอออน
1. แอนไอออนลงท้ายด้วย -ide เช่น simple anion ____ide (Chloride,Cl-)
2. ถ้าแอนไอออนของธาตุนั้น เกิดได้ 2 ออกซีแอนไอออน ลงท้ายด้วย -ite และ -ate เช่น form with less oxygen _____ite ion (nitrite ion, NO2-) ,form with more oxygen _____ate ion(nitrate ion,NO3-)
3. ถ้าแอนไอออนของธาตุนั้น เกิดได้มากกว่า 2 ออกซีแอนไอออน เช่น hypo___ite,hypochlorite,ClO-___ite,Chlorite,ClO2-_____ate,Chlorate,ClO3-per____ate,perchlorate,ClO4-
การเรียกชื่อสามัญ
การตั้งชื่อสามัญ (Common name) ตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของการพบสารนั้น เช่น
Na2SO4เรียกว่า Glauber's salt ให้เกียรติแก่ J.F.Glauber ซึ่งเป็นผู้ค้นพบ
NH4Cl เรียกว่า sal ammoniac มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน
C6H4(HO)COOCH3(methyl salicylate) เรียกว่า oil of wintergreen
SbCl3เรียกว่า butter of antimony ตามลักษณะทางกายภาพที่พบ
การเรียกชื่อสารอินทรีย์
ในสมัยแรก ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เนื่องจากมีสารที่พบไม่มากนักจึงมักจะเรียกชื่อตามที่นักเคมีคิดว่าเหมาะสม ซึ่งอาจจะเรียกชื่อตามสิ่งที่พบหรือตามสถานที่พบ ชื่อที่เรียกโดยไม่มีกฎเกณฑ์เหล่านี้ เรียกว่าชื่อสามัญ (common name) ต่อ มาเมื่อมีการค้นพบสารอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น การเรียกชื่อสามัญจึงเริ่มมีปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากชื่อสามัญส่วนมากจะไม่มี ส่วนสัมพันธ์กับชนิดของสารหรือไม่มีส่วนสัมพันธ์กับสูตรโครงสร้าง ทำให้ยากแก่การจดจำว่าสารดังกล่าวนั้นเป็นสารประเภทใด มีสูตรโครงสร้างเป็นอย่างไร โดยเฉพาะสารที่มีสูตรโครงสร้างคล้าย ๆ กันหรือที่มีสูตรโครงสร้างซับซ้อนจะเรียกชื่อสามัญไม่ได้
นักเคมีจึงได้กำหนดกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อขึ้นใหม่ให้เป็นระบบเดียวกันว่า ระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) การเรียกชื่อในระบบ IUPAC นี้มีส่วนสัมพันธ์กับชนิดและสูตรโครงสร้างของสารจึงทำให้ง่ายแก่การจดจำ ซึ่งยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
IUPAC
การเรียกชื่อระบบ IUPAC
เป็นการเรียกชื่อตามระบบสากล มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนจึงทำให้เรียกชื่อสารอินทรีย์ได้ทุกชนิด ทั้งที่เป็นโมเลกุลเล็กและโมเลกุลใหญ่ หรือที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบง่าย และที่ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้จะทำให้ทราบชนิดและลักษณะโครงสร้างของสาร เพราะหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างสาร
การเรียกชื่อระบบ IUPAC เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1892 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยการประชุมร่วมกันของนักเคมีเพื่อวางกฎเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ ในครั้งแรกเรียกระบบการเรียกชื่อนี้ว่าระบบเจนีวา ต่อมาสหพันธ์นักเคมีระหว่างประเทศ (International Union of Chemistry) ได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมขึ้น ในปี ค.ศ. 1931 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUC และเมื่อมีการค้นพบสารใหม่เพิ่มมากขึ้นจึงได้ปรับปรุงการเรียกชื่อใหม่อีก ครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1957 และเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ IUPAC ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อสารอินทรีย์ตามระบบ IUPAC โดยทั่ว ๆ ไปมีหลักดังนี้
1. ชื่อโครงสร้างหลัก เป็นส่วนที่แสดงลักษณะโครงสร้างหลักของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสายตรงยาวที่สุด การเรียกชื่อโครงสร้างหลักจึงเรียกตามจำนวนอะตอมของคาร์บอนที่ต่อกันเป็นสาย ยาวที่สุด
2.คำลงท้าย เป็นส่วนที่เต็มท้ายชื่อโครงสร้างหลัก เพื่อแสดงว่าสารอินทรีย์นั้นเป็นสารประกอบประเภทใด เป็นสารประกอบประเภทอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว คำลงท้ายจะบอกให้ทราบถึงชนิดของหมู่ฟังก์ชันในโมเลกุล
3.คำนำหน้า เป็นส่วนที่เติมหน้าชื่อของโครงสร้างหลัก เพื่อจะบอกให้ทราบว่าในโครงสร้างหลักมีหมู่ฟังก์ชัน อะตอมหรือกลุ่มอะตอมใดบ้างมาต่ออย่างละกี่หมู่และอยู่ที่ C ตำแหน่งใดในโครงสร้างหลัก การบอกตำแหน่งของส่วนที่มาต่อให้ใช้ตัวเลขน้อยที่สุด (ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของ C ในโครงสร้างหลัก)
ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมซ้ำ ๆ กันมาเกาะให้บอกจำนวนโดยใช้ภาษากรีก เช่น di = 2 กลุ่ม, tri = 3 กลุ่ม, tetra = 4 กลุ่ม, penta = 5 กลุ่ม
ถ้าในโครงสร้างหลักมีกลุ่มอะตอมหลายชนิดมาเกาะ ให้เรียกชื่อเรียงลำดับตามอักษรภาษาอังกฤษ
ตัวอย่าง
2-methyl- หมายถึง มี methyl group มาต่อที่ C ตำแหน่ง 2 ในโครงสร้างหลัก
3-hydroxy- หมายถึง มี OH มาต่อที่ C ตำแหน่ง 3 ในโครงสร้างหลัก
3-ethyl-2-methyl หมายถึง มี ethyl มาต่อที่ C ตำแหน่ง 3 และ methyl group มาต่อที่ C
ตำแหน่ง 2 ในโครงสร้างหลัก
การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
สารประกอบโคเวเลนต์เป็นโมเลกุลของสารที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาสร้างพันธะโคเวเลนต์ต่อกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทำให้เป็นการยากในการเรียกชื่อสาร จึงได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างของสารประกอบโคเวเลนต์ได้ ตรงกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ไว้ดังนี้
1. ให้เรียกชื่อของธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้วตามด้วยชื่อของธาตุที่อยู่ด้านหลังโดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายของธาตุเป็น-ไอด์(-ide) ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
ไฮโดรเจน (H) ออกเสียงเป็น ไฮไดรต์
คาร์บอน (C) ออกเสียงเป็น คาร์ไบด์
ไนโตรเจน (N) ออกเสียงเป็น ไนไตรด์
ฟลูออรีน (F) ออกเสียงเป็น ฟลูออไรด์
คลอรีน (CI) ออกเสียงเป็น คลอไรต์
ออกซิเจน (O)ออกเสียงเป็น ออกไซต์
2. ระบุจำนวนอะตอมของธาตุไว้หน้าชื่อธาตุโดยวิธีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุจะระบุโดยใช้ชื่อตัวเลขในภาษากรีก ดังนี้
1 = มอนอ (mono)
2 = ได (di)
3 = ไตร (tri)
4 = เตตระ (tetra)
5 = เพนตะ (penta)
6 = เฮกซะ (hexa)
7 = เฮปตะ (hepta)
8 = ออกตะ (octa)
9 = โนนะ (nona)
10 = เดคะ (deca)
แต่มีข้อยกเว้น คือ ไม่ต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่อยู่ด้านหน้าในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้าน หน้ามีอยู่เพียงอะตอมเดียว และไม่จำเป็นต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้านหน้า เป็นธาตุไฮโดรเจน ไม่ว่าจะมีกี่อะตอมก็ตาม
ตัวอย่างการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
N2O5Nเรียกว่า ไดโนโตรเจนเพนตะออกไซด์
N2Oเรียกว่า ไดโนโตรเจนมอนอกไซด์
CCI4เรียกว่าคาร์บอนเตตระคลอไรด์
SO2เรียกว่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์
COเรียกว่า คาร์บอนมอนนอกไซด์
CO2เรียกว่า คาร์บอนไดออกไซด์
H2Sเรียกว่า ไฮโดรเจนซัลไฟด์
การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก
สูตรและการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
เนื่องจากสารประกอบไอออนิกมีลักษณะการสร้างพันธะต่อเนื่องกันเป็นผลึก ไม่ได้อยู่ในลักษณะของโมเลกุลเหมือนในสารประกอบโคเวเลนต์ ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจึงไม่มีสูตรโมเลกุลที่แท้จริง แต่จะมีการเขียนสูตรเพื่อแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนธาตุต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบ เช่น โซเดียมคลอไรด์ เกิดจากอะตอมของธาตุโซเดียม (Na) อย่างน้อยที่สุด 1 อะตอม และอะตอมของธาตุคลอรีน (Cl) อย่างน้อยที่สุด 1 อะตอม จึงสามารถเขียนสูตรได้เป็น NaCl โดยการเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกจะเขียนนำด้วยธาตุที่เกิดเป็นไอออนบวก ก่อน จากนั้นจึงเขียนตามด้วยธาตุที่เกิดเป็นไอออนลบตามลำดับ
วิธีการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกให้อ่านตามลำดับของธาตุที่เขียนในสูตร คือ เริ่มจากธาตุแรกซึ่งเกิดเป็นไอออนบวก (ธาตุโลหะ) แล้วตามด้วยธาตุหลังซึ่งเป็นไอออนลบ (ธาตุอโลหะ) ดังนี้
1. เริ่มจากอ่านชื่อไอออนบวก (ธาตุโลหะ) ก่อน
2. อ่านชื่อธาตุไอออนลบ (ธาตุอโลหะ) โดยเปลี่ยนเสียงสุดท้ายเป็น -ไอด์ (-ide) ดังตัวอย่างเช่น
NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์
MgO อ่านว่า แมกนีเซียมออกไซด์
Al2O3อ่านว่า อะลูมิเนียมออกไซด์
3. หากไอออนลบมีลักษณะเป็นกลุ่มธาตุ จะมีชื่อเรียกเฉพาะที่แตกต่างกัน เช่น No3-เรียกว่า ไนเดรต, CO32-เรียกว่า คาร์บอเนต, SO42-เรียกว่า ซัลเฟต OH-เรียกว่า ไฮดรอกไซด์ เป็นต้น ดังตัวอย่างเช่น
CaCO3อ่านว่า แคลเซียมคาร์บอเนต
Na2SO4อ่านว่า โซเดียมซัลเฟต
การอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
1. สารประกอบธาตุคู่ ถ้าสารประกอบเกิดจาก ธาตุโลหะที่มีไอออนได้ชนิดเดียวรวมกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวก แล้วตามด้วยชื่อธาตุอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่น
อออซิเจน เปลี่ยนเป็น ออกไซด์ (oxide) |
ไฮโดรเจน เปลี่ยนเป็น ไฮไดรด์ (hydride) |
คลอรีน เปลี่ยนเป็น คลอไรด์ (chloride) | ไอโอดีน เปลี่ยนเป็น ไอโอไดด์ (iodide) |
ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกธาตุคู่
NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloridr) | CaI2อ่านว่า แคลเซียมไอโอไดด์ (Calcium iodide) |
KBr อ่านว่า โพแทสเซียมโบรไมด์ (Potascium bromide) | CaCl2อ่านว่า แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride) |
ถ้าสารประกอบที่เกิดจากธาตุโลหะเดีนวกันที่มีไอออนได้หลายชนิด รวมตัวกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวกแล้วตามด้วยค่าประจุของไอออนของโลหะโดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน แล้วตามด้วยอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่นFe เกิดไอออนได้ 2 ชนิดคือ Fe 2+ และ Fe 3+และCu เกิดอิออนได้ 2 ชนิดคือ Cu + และ Cu 2+สารประกอบที่เกิดขึ้นและการอ่านชื่อ ดังนี้
FeCl2อ่านว่า ไอร์ออน (II) คลอไรด์ ( Iron (II) chloride ) | CuS อ่านว่า คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์ ( Cupper (I) sunfide ) |
FeCl3อ่านว่า ไอร์ออน(III) คลอไรด์ ( Iron (III) chloride ) | Cu2S อ่านว่า คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์ ( Copper (II) sunfide ) |
2. สารประกอบธาตุสามหรือมากกว่าถ้าสารประกอบเกิดจากไอออนบวกของโลหะ หรือกลุ่มไอออนบวกรวมตัวกับกลุ่มไอออนลบ ให้อ่านชื่อไอออนบวกของโลหะหรือชื่อกลุ่มไอออนบวก แล้วตามด้วยกลุ่มไอออนลบ เช่น
CaCO3อ่านว่า แคลเซียมคาร์บอนเนต (Calcium carbonatX | KNO3อ่านว่า โพแทสเซียมไนเตรต (Potascium nitrae) |
Ba(OH)2อ่านว่า แบเรียมไฮดรอกไซด์ (Barium hydroxide) | (NH4)3PO4อ่านว่า แอมโมเนียมฟอสเฟต (Ammomium pospate) |
การเรียกชื่อสารประกอบเชิงซ้อน
หลักการเรียกชื่อสารเชิงซ้อนและไอออนเชิงซ้อน
RULES FOR NAMING COORDINATION COMPLEXES
- เรียกชื่อของไอออนบวกก่อนไอออนลบ
- เรียกชื่อลิแกนด์ก่อนชื่อของโลหะในไอออนเชิงซ้อนที่เกิดพันธะโคออร์ดิเนต
- ใช้ตัวเลขภาษากรีกระบุจำนวน mono-, di-, tri-, tetra-, penta-, hexa-, ในการใช้ระบุจำนวนลิแกนด์เมื่อลิแกนด์โดยมีความสัมพันธ์อย่างง่าย และใช้คำอุปสรรคในภาษากรีก bis-, tris-, and tetrakis- กับลิแกนด์ที่มีความซับซ้อน
- ชื่อของลิแกนด์ในไอออนลบจะลงท้ายด้วย o, เช่น fluoro (F-), chloro (Cl-), bromo (Br-), iodo (I-), oxo (O2-), hydroxo (OH-), และ cyano (CN-)
- มีลิแกนดด์เป็นกลางจำนวนเล็กน้อยใช้ชื่อสามัญ เช่น น้ำ ใช้ aquo (H2O), แอมโมเนีย ใช้ ammine (NH3), และคาร์บอนิล ใช้ carbonyl (CO)
- การเรียงลำดับของลิแกนด์ให้เรียงลำดับดังนี้: ไอออนลบ โมเลกุลที่เป็นกลาง ไอออนบวก สำหรับลิแกนด์ที่มีประจุเหมือนกันให้เรียงลำดับตามตัวอักษรในภาษาอังกฤษ
- ระบุเลขออกซิเดชันของอะตอมโลหะแทรนซิชันเป็นตัวเลขโรมันอักษรตัวใหญ่ตามหลังอะตอมโลหะ
- ชื่อของไอออนเชิงซ้อนลบจะลงท้ายด้วย -ateเช่น Co(SCN)42-, อ่านว่า tetrathiocyanatocobaltate(II) ion เมื่อสัญลักษณ์ของโลหะแทรนซิชันมาจากภาษาละติน ให้ลงท้ายชื่อโลหะ ให้ลงท้ายชื่อด้วย-ateเช่นFeในไออนเชิงซ้อนลบคำในภาษาละตินคือferrumชื่อของFeจึงเป็นferrateและของทองแดงCuจึงเป็นcuprate
- ชื่อของโลหะแทรนซิซันในไอออนเชิงซ้อนบวก ให้อ่านเป็นภาษาอังกฤษตากปกติ และต้องระบุเลขออกซิเดชันด้วย
-
7100 การอ่านชื่อสารเคมี /lesson-chemistry/item/7100-2017-06-04-03-30-01เพิ่มในรายการโปรด