สารละลาย
บทเรียนที่ 1 ชนิดของสารละลาย
1. ชนิดของสารละลาย (type of solutions)
ในขั้นตอนการจำแนกชนิดของสารละลาย โดยทั่วไปจะจำแนกสารละลายตามสถานะ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส ซึ่งตัวทำละลายจะต้องมีสถานะเช่นเดียวกับสถานะของสารละลาย กล่าวคือ สารละลายของแข็ง ตัวทำละลายจะต้องเป็นของแข็ง สารละลายของเหลว ตัวทำละลายจะต้องเป็นของเหลว และสารละลายแก๊ส ตัวทำละลายจะต้องเป็นแก๊ส ส่วนตัวถูกละลายในสารละลายทั้ง 3 ชนิด เป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
เมื่อพิจารณาสถานะของตัวทำถูกละลาย ซึ่งมีอยู่ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ดังนั้น เราสามารถยกตัวอย่างสารละลายที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันได้ ดังต่อไปนี้
ชนิดของสารละลาย |
ชนิดของตัวถูกละลาย |
ตัวอย่าง |
สารละลายของแก๊ส |
แก๊สในแก๊ส |
แก๊ส O2, CO2, Ar และแก๊สอื่น ๆ ที่อยู่ในอากาศ |
ของเหลวในแก๊ส |
|
|
สารละลายของเหลว |
แก๊สในของเหลว |
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในน้ำ* |
ของเหลวในของเหลว |
เอทานอล (CH3CH2OH) ที่ละลายอยู่ในน้ำเช่น เครื่องดื่มพวกแอลกอฮอล์บนฉลาก จะบอกปริมาณเอทานอลที่ละลายอยู่ |
|
ของแข็งในของเหลว |
เกลือ (โซเดียมคลอไรด์, NaCl) ในน้ำ |
|
สารละลายของแข็ง |
ของแข็งในของแข็ง |
ทองเหลือง*(ทองแดงผสมกับสังกะสี, Cu+Zn) |
หมายเหตุ
*แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในน้ำ ในที่นี้ เราพิจารณาเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเท่านั้น เราจะไม่พิจารณาคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วให้ H2CO3ซึ่งถือว่าไม่เป็นการละลาย แต่เป็นการทำปฏิกิริยาของน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์
*ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองซึ่งได้จากการผสมทองแดงกับสังกะสี (Cu+Zn) เข้าด้วยกันนั้น นักเรียนจะต้องทราบด้วยว่า ทองแดงกับสังกะสีไม่ทำปฏิกิริยากันแต่อย่างใด
คำถามชวนให้คิด
นายแสนดีเดินทางไปตลาดเพื่อไปซื้อปุ๋ยยูเรียที่ขายอยู่ตามท้องตลาด 1 ถุง (100 กรัม) (มีสูตรทางการค้าเป็น 46-0-0) ซึ่งปกติแล้วเนื้อปุ๋ยยูเรียเป็นของแข็ง (มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาว) หลังจากนายแสนดีซึ้อปุ๋ยมาแล้ว วันต่อมา เขาและลูกๆ อีก 2 คน ได้นำปุ๋ยไปที่สวนหลังบ้าน เพื่อจะนำไปใส่ผัก ในขณะที่นายแสนดีให้ปุ๋ยยูเรียแก่ผัก ลูกๆ ของเขา ได้เผลอทำน้ำประมาณ 1 แก้ว หกลงไปในถุง ปรากฏว่าในวันต่อมา ปุ๋ยยูเรียที่เป็นเม็ดกลายเป็นของเหลวหมดทั้งถุง เกิดอะไรขึ้นกับปุ๋ยยูเรีย?
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 2 ร้อยละความเข้มข้น
2.1 ร้อยละความเข้มข้น
2.1.1 ร้อยละโดยมวล (percent mass by mass)
เป็นอัตราส่วนร้อยละของมวลของตัวถูกละลายต่อมวลของสารละลาย มีสูตรดังนี้
เช่น x% โดยมวล คือสารละลาย 100 กรัม มีตัวถูกละลายxกรัม
2.1.2 ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร (percent mass by volume)
เป็นอัตราส่วนร้อยละของมวลของตัวถูกละลายต่อปริมาตรของสารละลาย มีสูตรดังนี้
เช่น x% โดยมวล/ปริมาตร คือสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวถูกละลายxกรัม
2.1.3 ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร (percent volume by volume)
เป็นอัตราส่วนร้อยละของปริมาตรของตัวถูกละลายต่อปริมาตรของสารละลาย มีสูตรดังนี้
เช่น x% โดยปริมาตร คือสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวถูกละลายxลูกบาศก์เซนติเมตร
ตัวอย่างเมื่อนำโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) 0.892 g ละลายในน้ำ 54.6 g จงคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ในหน่วยร้อยละโดยมวล
วิธีทำ
เพราะฉะนั้น เมื่อละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ 0.892 g ในน้ำ 54.6 g สารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ จะมีความเข้มข้น 1.61 % โดยมวล
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 3 เศษส่วนโมล
2.2 เศษส่วนโมล (mole fraction : X)
เป็นอัตราส่วนของจำนวนโมลขององค์ประกอบแต่ละชนิดที่อยู่ในสารละลาย จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ X เพราะฉะนั้น ถ้าจะคำนวณหาเศษส่วนโมลของสาร A ในสารละลาย สามารถเขียนได้ดังนี้
ตัวอย่างที่อุณภูมิ 25oC เมื่อนำเอทานอล (CH3CH2OH) 10.0 g ละลายในน้ำ 200 mL จงคำนวณหาเศษส่วนโมลของเอทานอลในสารละลาย
วิธีทำความหนาแน่นของน้ำที่อุณภูมิ 25oC เท่ากับ 1 g/mL
เพราะฉะนั้น เมื่อละลายเอทานอล จำนวน 10.0 g ละลายในน้ำ 200 mL สารละลายจะมีเศษส่วนโมลของเอทานอล
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 4 โมลาริตี้
2.3 โมลาริตี (molarity : M)
โมลาริตี หรือ โมลาร์ เป็นหน่วยความเข้มข้น ที่เป็นอัตราส่วนของจำนวนโมลของตัวถูกละลายที่อยู่ในสารละลาย ปริมาตร 1 ลิตร (L) จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ M สามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
โมลาร์ มีหน่วยเป็นmol / L
ปริมาตรของสารละลาย โดยทั่วไปจะบอกเป็นหน่วยมิลลิลิตร (mL) ดังนั้น ความสัมพันธ์หน่วยของปริมาตร ระหว่าง มิลลิลิตร กับ ลิตร
เป็นดังนี้
1 L มีค่าเท่ากับ 1000 mL
ตัวอย่างจงคำนวณหาโมลาร์ของกรดซัลฟิวริก (H2SO4) จำนวน 24.4 g ที่ละลายในน้ำ 250 mL
วิธีทำ
จำนวนโมลของกรดซัลฟิวริก |
ในน้ำปริมาตร 250 mL มีกรดซัลฟิวริกอยู่ 0.249 mol
ดังนั้น ในน้ำปริมาตร 1000 mLจะมีกรดซัลฟิวริกอยู่ = |
เมื่อนำกรดซัลฟิวริก (H2SO4) จำนวน 24.4 g ที่ละลายน้ำ 250 mL
จะมีความเข้มข้น เท่ากับ 0.996 mol/L หรือ 0.996 M
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 5 โมแลลลิตี้
2.4 โมแลลิตี (molality : m)
โมแลลิตี หรือ โมแลล เป็นหน่วยความเข้มข้น ที่เป็นอัตราส่วนของจำนวนโมลของตัวถูกละลายต่อมวลของตัวทำละลายใน 1 กิโลกรัม (kg) จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ m สามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้
ตัวอย่างจงคำนวณหาโมแลลของกรดซัลฟิวริก (H2SO4) จำนวน 12.52 g ที่ละลายในน้ำ 220 กรัม
วิธีทำ
จำนวนโมลของกรดซัลฟิวริก เท่ากับ |
ดังนั้น สามารถคำนวณหาโมแลลของกรดซัลฟิวริกได้ ดังนี้
= 0.582 m |
เพราะฉนั้น เมื่อนำกรดซัลฟิวริก (H2SO4) จำนวน 12.52 g ที่ละลายน้ำ 220 กรัม
จะมีความเข้มข้น เท่ากับ 0.582 m
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 6 กระบวนการเกิดสารละลาย
3. กระบวนการเกิดสารละลาย
ในกระบวนการเกิดสารละลายได้นั้น อนุภาคของตัวถูกละลายจะต้องสามารถกระจายตัวเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายได้อย่างทั่วถึง
การที่อนุภาคของตัวถูกละลายจะเข้าไปแทรกตัวอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายได้หรือไม่ จะขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวทำละลายกับตัวทำละลาย แรงดึงดูดโมเลกุลระหว่างตัวทำละลายกับตัวถูกละลาย และแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลตัวถูกละลายกับตัวถูกละลาย
ปกติแล้ว การที่ตัวถูกละลายจะละลายในตัวทำละลายหนึ่ง ๆ ได้นั้น สารทั้งสองชนิดจะต้องมีสมบัติเหมือนกัน ตามกฎ like dissolves like ก็คือ ตัวถูกละลายที่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีขั้วเป็นแรงไดโพล-ไดโพล (dipole-dipole) แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เช่น เอทานอล (CH3CH2OH) ละลายในน้ำ (H2O) แต่ไม่ละลายในเฮกเซน (C6H14) ในทางตรงข้าม ตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้วจะละลายในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว เพราะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วเป็นแรงแวนเดอร์วาลล์ (Van der Waals force) เหมือนกัน แต่จะไม่ละลายในตัวทำละลายที่มีขั้ว เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) ละลายในเบนซีน (C6H6) ไม่ละลายในน้ำ แต่ถ้าในกรณีที่สารหนึ่งมีขั้วน้อยกว่าอีกสารตัวหนึ่ง ความสามารถในการละลายก็ลดลง หรืออาจจะกล่าวอีกนัยคือละลายได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
จากที่กล่าวมาจะเป็นการละลายของของเหลวในของเหลวด้วยกัน ในกรณีที่เป็นการละลายของของแข็งในของเหลว ก็สามารถอธิบายโดยใช้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลเช่นเดียวกัน ถ้าตัวถูกละลายเป็นสารประกอบไอออนิก ซึ่งมีแรงดึงดูดระหว่างไอออนสูงมาก ก็จะละลายในตัวทำละลายที่มีขั้วแรงได้ดีกว่าตัวทำละลายที่มีขั้วน้อยกว่า เพราะฉะนั้น สารประกอบไอออนิกจึงละลายได้ดีในตัวทำละลายที่มีขั้วแรงมากๆ เช่น เกลือ (โซเดียมคลอไรด์ : NaCl) ละลายได้ดีในน้ำ มากกว่าในตัวทำละลายที่เป็นสารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbon compounds)
จากรูปข้างต้น เมื่อโมเลกุลของ NaCl อยู่ในน้ำ การที่ NaCl สามารถละลายในน้ำได้ แสดงว่า แรงดึงดูดระหว่างขั้วของน้ำกับไอออนบวก (Na+) และไอออนลบ (Cl-) จะต้องสูงกว่าแรงดึงดูดระหว่างไอออนในโครงผลึกของ NaCl จึงจะทำให้ไอออนบวก (Na+) และไอออนลบ (Cl-) หลุดออกมาจากโครงผลึก จากนั้นโมเลกุลของน้ำก็จะเข้าไปล้อมรอบไอออนทั้งสองชนิด พบว่า ไออนของ Na+1ไอออน จะถูกห้อมล้อมด้วยโมเลกุลของน้ำ 4 โมเลกุล หรือบางครั้งโมเลกุลของน้ำอาจจะล้อมรอบไอออน Na+ถึง 6โมเลกุล และเมื่อพิจารณา Cl-1ไอออน พบว่า จะถูกห้อมล้อมด้วยโมเลกุลของน้ำเพียง 4 โมเลกุล และเรียกไอออนที่ถูกห้อมล้อมด้วยโมเลกุลของน้ำว่า "hydrated ion"
กลับไปที่เนื้อหา
บทเรียนที่ 7 สภาพการละลายได้
4. การละลายได้ (solubility)
ในสารละลายของเหลว ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ ปริมาณของตัวถูกละลายที่สามารถละลายในตัวทำละลายได้ จะมีปริมาณจำกัด โดยเรียกสารละลายที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายเพิ่มได้อีกว่าสารละลายอิ่มตัว (saturated solution)โดยปริมาณของตัวถูกละลายที่ละลายได้ในสารละลายอิ่มตัว ณ ที่อุณหภูมิหนึ่ง ๆ เรียกว่าการละลายได้ ( solubility)เช่น เกลือแกง (NaCl) ละลายในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 100oC สามารถละลายได้ 39.1 กรัม แต่ถ้าใส่เกลือไปมากกว่านี้ ส่วนที่เหลือก็จะไม่ละลาย
ในสารละลายที่อิ่มตัว ตัวถูกละลายจะมีอัตราการละลายจะเท่ากับอัตราการกลับคืนมาเป็นของแข็ง เพราะฉะนั้นความเข้มข้นของสารละลายของสารละลายที่อิ่มตัวจะคงที่ ตัวถูกละลายที่ไม่สามารถละลายจะไม่ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ถ้าตัวทำละลายเป็นน้ำ โดยทั่วไปนิยมบอกหน่วยหรือปริมาณของการละลายได้ของตัวถูกละลายเป็นกรัม (g) ในตัวทำละลายน้ำ 100 กรัม
นอกจากนั้น การละลายได้ของตัวถูกละลายจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ธรรมชาติของตัวทำละลายและตัวถูกละลาย อุณหภูมิ และความดัน เป็นต้น
4.1 อิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อการละลายได้
ถ้าการละลายของสารเป็นการดูดความร้อนดังปฏิกิริยา
ตัวถูกละลาย (s) + ตัวทำละลาย (l) + ความร้อน |
สารละลาย (l) |
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยทั่วไป การละลายได้ของสารจะเพิ่มขึ้น
จากกราฟ จะเห็นได้ว่า เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น แนวโน้มของการละลายของสารในน้ำ 100 กรัม จะเพิ่มสูงขึ้น เราสามารถบอกความสามารถในการละลายได้จากความชันของกราฟ โดย สารที่มีความชันมาก เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ แนวโน้มการดูดความร้อนสูง ดังนั้น การละลายจะสูง เช่น KNO3, NaClO3, Cs2SO4เป็นต้น ในทางกลับกัน สารที่มีความชันน้อย เมื่อเพิ่มอุณหภูมิ แนวโน้มการดูดความร้อนจะน้อย ดังนั้น การละลายจะน้อย เช่น K2CrO4, KClO3เป็นต้น |
ในทางตรงกันข้าม ถ้าการละลายของตัวถูกละลายในตัวทำละลายเป็นการคายความร้อนการให้ความร้อนแก่ระบบ จะยิ่งทำให้ตัวถูกละลายละลายได้น้อยลง
4.2 อิทธิพลของความดันที่มีต่อการละลายได้
การเพิ่มความดันมีผลอย่างมากต่อการละลายของแก๊สในของเหลว มากกว่าการละลายของของแข็งในของเหลว
ตัวถูกละลาย (g) + ตัวทำละลาย (l) + ความดัน |
สารละลาย (l) |
เมื่อเพิ่มความดันต่อแก๊ส พบว่า แก๊สสามารถละลายในของเหลวได้มากขึ้น จำนวนโมเลกุลของแก๊สที่อยู่เหนือของเหลวจะลดลง และความเข้มข้นของแก๊สในสารละลายจะเพิ่มขี้น
จากกราฟ จะเห็นได้ว่า แนวโน้มการละลายได้ของแก๊สในน้ำ 100 กรัม เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเพิ่มความดันให้แก๊ส |
กลับไปที่เนื้อหา
-
7195 สารละลาย /lesson-chemistry/item/7195-2017-06-09-12-29-31เพิ่มในรายการโปรด