ธรรมชาติและการพัฒนาทางฟิสิกส์
การวัด
การวัดคือ กระบวนการเปรียบเทียบปริมาณที่ต้องการวัด กับปริมาณที่เป็นมาตรฐานโดยอาศัยเครื่องวัดที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น เมื่อเราพูดว่าวัตถุก้อนหนึ่งมีน้ำหนัก 5 นิวตัน หมายความว่าวัตถุก้อนนั้นมีน้ำหนักเป็น 5 เท่าของน้ำหนัก 1 นิวตันมาตรฐาน
เครื่องมือวัด คือ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นตัวกลางในการเปรียบเทียบค่าของปริมาณที่ต้องการวัดกับค่ามาตรฐาน
เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์
การวัดเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะพูดถึงปริมาณใดที่มีอยู่รอบตัวเราเมื่อเราบอกค่าหรือจำนวนของปริมาณนั้นแสดงว่าเรามีการวัดค่าของสิ่งนั้น ดังนั้นชีวิตประจำของเราทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องกับการวัดอยู่เสมอ เช่น การวัดความกว้าง ความยาวหรือความสูงของวัตถุ การวัดเวลา การวัดระดับความร้อนอุณหภูมิของอากาศ
สิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการวัดคือเครื่องมือวัด และวิธีการวัด เครื่องมือวัด ต้องมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เข้าใจและรับรู้ตรงกัน ดังนั้นได้มีการกำหนดมาตรการวัดขึ้นเพื่อยอมรับใช้ให้เหมือนกันและตรงกัน งานทางด้านฟิสิกส์เครื่องมือวัดเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เพราะการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ ทางฟิสิกส์จะต้องทำความรู้จักและความเข้าใจกับเครื่องมือวัดสำหรับเรื่องนั้น ๆ
การรู้จักวิธีการวัด การรู้จักเลือกเครื่องวัดที่เหมาะสมกับผลดีคือ เกิดความปลอดภัย ประหยัดเวลาได้ผลละเอียดถูกต้องตามข้อเท็จจริง
การแสดงผลของการวัด
เครื่องมือวัดจะต้องมีสเกลหรือตัวเลขเพื่อไว้อ่านและบันทึกผลการวัดเพื่อนำไปวิเคราะห์ใช้งานต่อไป เครื่องมือวัดมี 2 แบบ คือแบบขีดสเกล และแบบตัวเลข เครื่องมืองัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกล เช่น ไม้เมตร เครื่องชั่งน้ำหนัก เทอร์โมมิเตอร์แบบของเหลว เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้า เช่น แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ ผู้วัดจะต้องมีความชำนาญจึงจะอ่านค่าได้ รวดเร็วและถูกต้อง
เครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยตัวเลขปัจจุบัน สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแสดงผลด้วยตัวเลขมีมากโดยเครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยตัวเลขเข้ามาแทนที่เครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกล ทั้งนี้เป็นเพราะราคาถูกกว่า วัดค่าได้สะดวกรวดเร็วกว่าเครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยตัวเลข เช่น นาฬิกาข้อมือ เทอร์โมมิเตอร์เครื่องชั่งน้ำหนักและมวล
ภาพการวัด
ที่มา https://pixabay.com , Robert-Owen-Wahl
การอ่านจากเครื่องมือวัด
ค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดจะเป็นแบบแสดงผลด้วยขีดสเกลหรือแสดงผลด้วยตัวเลข ค่าที่อ่านได้จะเห็นตัวเลขพร้อมด้วยหน่วยของการวัดปริมาณนั้น ๆ เช่น หน่วยของความยาววัดเป็นเซนตเมตร หน่วยของเวลาวัดเป็นวินาที หน่วยของมวลวัดหน่วยเป็นกิโลกรัมแต่อย่างไรก็ตามหน่วยเหล่านี้ยังมีหน่วยย่อยและหน่วยโดยเฉพาะของแต่ละระบบมาตราการวัด การวัดหรือการอ่านค่าของเครื่องวัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกลผู้วัดต้องมองในแนวตั้งฉากกับระนาบสเกล โดยให้ระดับสายตาอยู่ในแนวเดียวกับระดับขีดสเกลที่จะอ่าน เช่น การอ่านเวลาจากนาฬิกาที่แสดงผลด้วยขีดสเกล ถ้าระนาบของหน้าปัดนาฬิกาอยู่ในแนวดิ่งระดับสายตาของผู้วัดต้องอยู่ในแนวระดับตั้งฉากกับระนาบของหน้าปัด และอยู่ในแนวเดียวกับระดับขีดสเกลที่จะอ่าน ถ้าเครื่องวัดมีสเกลที่ไม่ละเอียดพอที่อ่านได้จากเครื่องมือวัดที่แสดงผลด้วยขีดสเกลจะประกอบด้วยส่วนที่อ่านได้โดยตรงกับส่วนที่ประมาณด้วยสายตา เช่น การวัดความยาวของเส้นยาวของเส้นตรงเส้นหนึ่ง ด้วยไม้เมตรที่มีสเกลละเอียดเป็นเซนติเมตรได้ 12.54 เซนติเมตร
การแปลความหมายและข้อมูล
การสังเกต และการวัด เป็นแนวทางหนึ่งของการได้มาซึ่งหลักการและความรู้ทางฟิสิกส์ โดยเริ่มต้นอาศัยการสังเกตและการวัดแล้วบันทึกข้อมูลลงในตารางหรือเขียนกราฟจะช่วยในการวิเคราะห์และแปลความหมายได้ง่ายขึ้น
การบันทึกข้อมูลลงในตาราง
เมื่อมีการสังเกตหรือการวัดหลาย ๆ ครั้งจำเป็นต้องบันทึกข้อมูลที่สังเกตได้ลงในตารางเพราะจะทำให้อ่านค่าต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
การนำเสนอข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการวัดหลาย ๆ ครั้ง ถ้านำมาเขียนแผนภูมิทางสถิติจะช่วยทำให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นแผนภูมิที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลมีหลายแบบ เช่น แผนภูมิแท่ง แผนภูมิวงกลม แผนภูมิเส้นตรง
การเขียนกราฟระบบพิกัดฉาก
การนำเสนอข้อมูลของงานทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปวิเคราะห์ และสรุปผลมีได้หลายวิธี นอกจากจะแสดงในรูปตารางหรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ แล้ว การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่เกี่ยวข้อง หรือสัมพันธ์แปรค่าต่อกันได้อีกวิธีหนึ่ง คือ การนำปริมาณทั้งสองที่แปรค่าต่อกันมาเขียนกราฟในระบบ พิกัดฉาก ซึ่งเป็นกราฟที่เกิดจากแกนสองแกนตัดตั้งฉากกันโดยมีแกนหนึ่งเป็นแกนนอนอีกแกนหนึ่งเป็นแกนยืนตั้งฉากต่อกันโดยให้ x เป็นแกนนอนและ y เป็นแกนยืน โดยให้ปริมาณบนแกน x เป็นค่าของตัวแปรที่สามารถกำหนดไว้ได้ล่วงหน้า ปริมาณบนแกน x โดยทั่วไปจึงเป็นตัวแปรอิสระปริมาณที่เป็นตัวแปรอิสระมากมีเวลา ดังนั้น การเขียนกราฟปริมาณอื่นใดที่สัมพันธ์กับเวลาต้องให้ตัวแปรอิสระคือเวลาอยู่บนแกน x ทุกครั้ง ค่าของตัวแปรที่สัมพันธ์และแปรตามอิสระคือตัวแปรบนแกน y จึงเรียกว่าตัวแปรตามเพราะค่าเปลี่ยนแปลงตามค่าของตัวแปรอิสระบนแกน x
กราฟพิกัดฉากนอกจากประกอบด้วยแกนนอน (แกน x) แกนยืน (แกน y) เส้นกราฟและจุดตัดของแกน x และแกน y โดยปริมาณบนแกน x ที่อยู่ทางขวามือของจดตัดมีค่าเป็นบวกปริมาณที่อยู่ทางซ้ายมือของจุดตัดมีค่าเป็นลบและในแกน y ปริมาณที่อยู่บนจุดตัดมีค่าเป็นบวก ปริมาณที่อยู่ล่างจุดตัดมีค่าเป็นลบ
แหล่งที่มา
ชูเชิด ฟูเฟื่อง และคณะ. (2539). ฟิสิกส์ ม.4 เล่ม 1-2. กรุงเทพฯ:พัฒนาศึกษา.
พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
ตุลยวัด แสงวิเชียรกิจ และคณะ. (มมป). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฟิสิกส์. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,
จาก http://119.46.166.126/self_all/selfaccess10/m4/physics4_1_1/lesson1/index1.php
กลับไปที่เนื้อหา
ปริมาณทางฟิสิกส์ หมายถึง สิ่งที่เราสามารถวัดค่า บอกค่าได้แน่นอน และใช้แสดงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ซึ่งความหมายในทางฟิสิกส์อาจจะแตกต่างไปจากความหมายที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันปริมาณในทางฟิสิกส์แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ ปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน (Fundamental Quantities) และปริมาณอนุพัทธ์ (Derived Quantities)
ภาพที่ 1 ตลับเมตร เครื่องมือที่ใช้ในการวัด
ที่มา: https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors
-
ปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน หมายถึง ปริมาณเบื้องต้นที่จำเป็นต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน มีทั้งหมด 7 ปริมาณ คือ
-
ความยาว (Length)
-
มวลสาร (Mass)
-
เวลา (Time)
-
กระแสไฟฟ้า (Electric Current)
-
อุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิกส์ (Thermodynamic Temperature)
-
ความเข้มของการส่องสว่าง (Luminous intensity)
-
ปริมาณของสสาร (Amount of Substance)
-
ปริมาณอนุพัทธ์ หมายถึง ปริมาณที่เกิดจากปริมาณหลักมูลหลาย ๆ ปริมาณมาประกอบกัน ทั้งนี้แล้วแต่ความสัมพันธ์ตามความหมายของปริมาณนั้น ๆ เช่น แรงเป็นปริมาณอนุพัทธ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของปริมาณหลักมูล แต่ มวล ความยาว และเวลา หรือความเร็วเป็นปริมาณอนุพันธ์ที่เกิดจากความสัมพัทธ์ของปริมาณหลักมูล คือ ความยาว และเวลา ปริมาณอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากปริมาณหลักมูลทั้ง 7 ปริมาณ ถือว่าเป็น ปริมาณอนุพันธ์ทั้งสิ้น
ตัวอย่างที่ 1 ข้อใดเป็นปริมาณหลักมูล
- ความยาว 2. เวลา 3. มวล 4. ถูกทั้งข้อ 1 2 และ 3
เฉลย ข้อ 4 เพราะ ความยาว เวลา และมวลเป็นปริมาณหลักมูลหรือปริมาณมูลฐาน
ตัวอย่างที่ 2 เครื่องมือที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าคือข้อใด
- โวลต์มิเตอร์ 2. วัตต์มิเตอร์ 3. แอมมิเตอร์ 4. โอห์มมิเตอร์
เฉลย ข้อ 3 เพราะแอมมิเตอร์คือมือวัดปริมาณกระแสไฟฟ้า
ตัวอย่างที่ 3 ปริมาณใดที่มีหน่วยเป็นหน่วยอนุพัทธ์
- ความถี่ 2. แรง 3. พลังงาน 4. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ 4 เพราะทุกปริมาณเป็นปริมาณอนุพัทธ์
หน่วย (Unit) แต่เดิมหน่วยที่ใช้ในการวัดปริมาณต่าง ๆ ใช้อยู่ด้วยกันหลายระบบที่ใช้กันแพร่หลาย คือ ระบบอังกฤษและเมตริกของฝรั่งเศส แต่เนื่องจากระบบอังกฤษไม่สะดวกมีความยุ่งยากในการตัดทอนหรือการกระจายหน่วย ปัจจุบันจึงนิยมใช้หน่วยตามข้อเสนอขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยหน่วยมาตรฐานเรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ (International System of Units) หรือเรียกโดยย่อว่า หน่วยในระบบ SI
หน่วยมาตรฐานในระบบ SI ที่ใช้วัดปริมาณต่าง ๆ
- ความยาว หน่วยมาตรฐานที่ใช้ เมตร (metre) สัญลักษณ์ m
- มวล หน่วยมาตรฐานที่ใช้ กิโลกรัม (kilogram) สัญลักษณ์ Km
- เวลา หน่วยมาตรฐานที่ใช้ วินาที second) สัญลักษณ์ S
- กระแสไฟฟ้า หน่วยมาตรฐานที่ใช้ แอมแปร์(Ampere) สัญลักษณ์ A
- อุณหภูมิ หน่วยมาตรฐานที่ใช้ เคลวิน (Kelvin) สัญลักษณ์ K
- ความเข้มของการส่องสว่าง หน่วยมาตรฐานที่ใช้ แคนเดลา (Candela) สัญลักษณ์ cd
- ปริมาณของสสาร หน่วยมาตรฐานที่ใช้ โมล (mole) สัญลักษณ์ mol
หน่วยมาตรฐานในระบบ SI ของปริมาณอนุพัทธ์ที่ควรทราบ
- พื้นที่ หน่วยมาตรฐานที่ใช้ ตารางเมตร
- ปริมาตร หน่วยมาตรฐานที่ใช้ ลูกบาศก์เมตร
- ความเร็ว หน่วยมาตรฐานที่ใช้ เมตรต่อวินาที
- อัตราเร็ว หน่วยมาตรฐานที่ใช้ เมตรต่อวินาที
- ความเร่ง หน่วยมาตรฐานที่ใช้ เมตรต่อวินาที2
- แรง หน่วยมาตรฐานที่ใช้ นิวตัน
- โมเมนต์ หน่วยมาตรฐานที่ใช้ นิวตัน เมตร
- โมเมนต์ตัม หน่วยมาตรฐานที่ใช้ กิโลกรัม.เมตรต่อวินาที
- งาน หน่วยมาตรฐานที่ใช้ จูล
- กำลัง หน่วยมาตรฐานที่ใช้ วัตต์
- ประจุไฟฟ้า หน่วยมาตรฐานที่ใช้ คูลอมบ์
- ความหนาแน่น หน่วยมาตรฐานที่ใช้ กิโลกรัมต่อลกบาศก์เมตร
- ความดัน หน่วยมาตรฐานที่ใช้ นิวตันต่อตารางเมตร
ตารางที่ 1 มาตราการเทียบหน่วยในระบบ SI
หลักการเปลี่ยนหน่วยระบบ SI
- เปลี่ยนจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยเล็กคูณด้วย 10x (10 กำลังเต็มบวก)
- เปลี่ยนจากหน่วยเล็กเป็นหน่วยใหญ่คูณด้วย 10-x (10 กำลังเป็นลบ)
- x คือระยะห่างของเลขยกกำลังของหน่วยนั้น ๆ เช่น ถ้าต้องการเปลี่ยนหน่วยระหว่างหน่วย
กิโล กับ ไมโคร x =6-(-3) = 9
(กำลังของหน่วยใหญ่ลบด้วยกำลังของหน่วยเล็ก) ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนหน่วยกิโลให้เป็นไมโคร (ใหญ่ไปเป็นเล็ก) คูณด้วย 109 ถ้าจะเปลี่ยนหน่วยไมโครให้เป็นหน่วยกิโล (เล็กไปเป็นใหญ่) คูณด้วย 10-9
ตัวอย่างที่ 1 จงเปลี่ยน 1.5 กิโลเมตร ให้เป็น ไมโครเมตร
750 นาโนเมตร ให้เป็น เมกะเมตร
25 เซนติเมตร ให้เป็น กิโลเมตร
หลักการคิด
เปลี่ยน 1.5 กิโลเมตร ให้เป็น ไมโครเมตร เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยใหญ่ไปหน่วยเล็ก คูณด้วย 10x
X = 3 – (-6) = 9
ดังนั้น 1.5 กิโลเมตร เท่ากับ 1.5 x 109 นาโนเมตร
เปลี่ยน 750 นาโนเมตร ให้เป็น เมกะเมตร เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยเล็กไปหน่วยใหญ่ คูณด้วย 10-x
X = 6- (-9) = 15
(ค่าระยะห่าง x เท่ากับกำลังหน่วยใหญ่ลบด้วยกำลังหน่วยเล็กเสมอ)
ดังนั้น 750 นาโนเมตร เท่ากับ 750 x 10-15 เมกะเมตร
เปลี่ยน 25 เซนติเมตร ให้เป็น กิโลเมตร เป็นการเปลี่ยนจากหน่วยเล็กไปหน่วยใหญ่ คูณด้วย 10-x
X = 3 – (-2) = 5
ดังนั้น 25 เซนติเมตร เท่ากับ 25 x 105 กิโลเมตร
ตัวอย่างที่ 2 จงเปลี่ยนความเร็วแสง 3 x 1011 ไมโครเมตรต่อมิลลิวินาที ให้เป็น เมตรต่อวินาที
วิธีทำ 3 x 1011 ไมโครเมตร/มิลลิวินาที = (3 x 1011 x 10-6)/10-3 เมตรต่อวินาที
= 3 x 108 เมตรต่อวินาที
ตัวอย่างที่ 3 จงเปลี่ยน 2.5 ไมโครวัตต์ต่อตารางกิโลเมตร ให้เป็น เมกะวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร
วิธีทำ 2.5 ไมโครวัตต์/ตารางกิโลเมตร = (2.5 x 1012)/(105 x 105) เมกะวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร
= 2.5 x 102 เมกะวัตต์ต่อตารางเซนติเมตร
ตัวอย่างที่ 4 จงเปลี่ยนค่าความหนาแน่น 500 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ให้เป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
วิธีทำ 500 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร = (500 x 103)/(102 x 102 x 102) กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
= 0.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
แหล่งที่มา
จรัญ บุระตะ. (2555). ฟิสิกส์ เล่ม 1 ม. 4-6. กรุงเทพฯ:นิพนธ์.
พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
Panuwat songpray . (มมป). เครื่องมือวัด . สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,
จาก https://sites.google.com/site/measuringtoolssci/tap-rule
กลับไปที่เนื้อหา
ในการทดลองครั้งหนึ่งวัดมวลของวัตถุได้ 5.3 กิโลกรัม และวัดปริมาตรได้ 1.67 ลูกบาศก์เมตร เมื่อต้องการทราบความหนาแน่นของวัตถุจะคำนวณได้ดังนี้
ความหนาแน่น = มวล/ปริมาตร
= 5.3 กิโลกรัม /1.67 ลูกบาศก์เมตร
= 3.173652695 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ภาพที่ 1 การอ่านค่าเลข
ที่มา: https://pixabay.com , qimono
จะเห็นได้ว่าผลหารที่ได้จากการคำนวณด้วยเครื่องคิดเลข ค่าความคลาดเคลื่อนในจำนวนวัดของมวลและปริมาตรของวัตถุได้ถูกส่งต่อและขยายตัวผ่านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ไปยังผลการคำนวณความหนาแน่น คำถามที่สำคัญคือ ควรบันทึกผลการคำนวณความหนาแน่นด้วยตัวเลขหรือจำนวนที่มีทศนิยมกี่ตำแหน่ง
ความคลาดเคลื่อนของผลการคำนวณจากกระบวนการทางคณิตศาสตร์สามารถหาได้ด้วยวิธีทางสถิติ แต่วิธีที่ง่ายกว่าและใช้กันอย่างแพร่หลายในการประมาณความคลาดเคลื่อนนี้ คือ การพิจารณาจากเลขนัยสำคัญ (significant figures หรือย่อเป็น sf) ซึ่งต่อไปนี้จะกล่าวถึงเลขนัยสำคัญก่อนแล้วจึงจะใช้เลขนัยสำคัญในการพิจารณาผลการคำนวณ
เลขนัยสำคัญ คือ ตัวเลขที่ได้จากการวัดหรือจำนวนวัดนั่นเอง เช่น การวัดความยาวแท่งวัตถุด้วยไม้บรรทัดที่มีความละเอียดแตกต่างกัน โดยสามารถวัดได้ค่าดังนี้ 85 เซนติเมตร, 85.2 เซนติเมตร, และ 85.23 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ายิ่งตัวเลขในเลขนัยสำคัญมีจำนวนมากขึ้น ผลการวัดย่อมมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องการทราบเมื่อพิจารณาเลขนัยสำคัญคือจำนวนตัวเลขที่มีนัยสำคัญ ในส่วนต่อไปนี้เป็นเกณฑ์ในการนับจำนวนตัวเลขที่มีนัยสำคัญ
- เลข 1 ถึง 9 เป็นตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์เครื่องมือวัด ดังนั้น ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญทุกตัว เช่น 2345 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ เลข 2, 3, 4 และ 5
13.3 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ เลข 1, 3, 3
- เลข 0 มีเกณฑ์ในการนับเป็นเลขนัยสำคัญ คือ
2.1 เลข 0 ที่อยู่ด้านหน้าเลขอื่น ๆ เช่น 0.00154 ไม่นับเป็นเลขที่มีนัยสำคัญ เนื่องจากเลขศูนย์เหล่านี้เป็นเพียงการกำหนดตำแหน่งของทศนิยม ไม่เกี่ยวข้องใด ๆกับความถูกต้อง
ของ จำนวนวัด ดังนั้น 0.00154 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ เลข 1, 5 และ 4
2.2 เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่น ๆ ให้นับเป็นเลขที่มีนัยสำคัญทุกตัว เนื่องจากเป็นตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์วัด เช่น 1044 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ เลข 1, 0, 4 และ 4
2.3 เลข 0 ที่อยู่ด้านหลังเลขอื่น ๆ และอยู่หลังจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขที่มีนัยสำคัญทุกตัว เนื่องจากเป็นตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์วัด เช่น 0.4500 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ
เลข 4,5,0 และ 0 โดยเลข 0 ตัวแรกไม่ใช่เลขนัยสำคัญ 0.000320 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว คือ เลข 3, 2 และ 0 โดยเลข 0 จำนวนสามตัวที่อยู่ด้านหน้าไม่ใช่เลขนัยสำคัญ 150.0
มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว คือ เลข 1, 5, 0 และ 0
-
เลข 0 ที่อยู่หลังเลขอื่น ๆ ในรูปของจำนวนเต็ม เช่น 1500 อาจจะเป็นเลขที่มีนัยสำคัญหรือไม่มีก็ได้ สาเหตุเนื่องจากในกรณีนี้เลข 0 จำนวน 2 ตัว อาจจะเป็นตัวเลขที่อ่านได้จากปกรณ์วัด หรือเป็นเพียงตัวเลขที่เติมเข้าไปเพื่อให้จำนวนวัดมีหลัก 10 กับหลักหน่วยครบเท่านั้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความคลุมเครือ จึงนิยมเขียนในรูปของ A x 10n โดย 1 ≤ A< 10 และ n เป็นจำนวนเต็ม เรียกรูปแบบการเขียนตัวเลขเช่นนี้ว่าสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (scientific notation) ยกตัวอย่างเช่น หากมีเพียงเลข 1 กับ 5 เท่านั้นที่เป็นเลขนัยสำคัญตัวเลข 1500 ควรเขียนเป็น 1.5 x 103 ซึ่งแสดงเลขนัยสำคัญเพียง 2 ตัว หากเลข 0 ตัวแรกเป็นเลขที่มีนัยสำคัญด้วย ซึ่งหมายถึง 1500 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว จะเขียนได้เป็น 1.50 x 103 และหากเลข 0 ทั้ง 2 ตัวเป็นเลขที่มีนัยสำคัญ จะเขียนได้เป็น 1.500 x 104 ซึ่งมีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว ข้อสังเกตคือเลข 1 กับ 5 เป็นเลขที่มีนัยสำคัญอย่างแน่นอน และไม่ต้องพิจารณาเลขนัยสำคัญจากเลขฐาน 10 ใน 10n ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ดังนี้ ตัวเลขทุกตัวยกเว้น 0 เป็นเลขนัยสำคัญอย่างแน่นอน ส่วนเลข 0 ต้องพิจารณาตามเกณฑ์ที่ผ่านมา
การคูณและการหารเลขนัยสำคัญ
การคูณจำนวน 12.3 x 3.1416 ด้วยเครื่องคิดเลขซึ่งเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์ จะได้ผลการคำนวณเท่ากับ 38.6418 หารคูณเช่นนี้มีการรวมตัวเลขที่ไม่มีนัยสำคัญไว้ในผลการคำนวณด้วย ซึ่งผลการคำนวณจากการคูณจะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของ 12.3 ซึ่งเป็นจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุดของจำนวนที่นำมาคูณกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า
ผลลัพธ์ที่ได้จากการคูณและการหารจะเท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญที่น้อยที่สุด
การบวกและการลบเลขนัยสำคัญ
การบวกจำนวน 3.17:785 + 2.32 + 4.8 ด้วยเครื่องคิดเลขจะได้ผลการคำนวณเท่ากับ10.2985 ซึ่งเป็นการบวกที่มีการรวมตัวเลขที่ไม่มีเลขนัยสำคัญไว้ในผลการคำนวณ โดยผลการคำนวณจากการบวกจะมีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว เท่ากับจำนวนเลขนัยสำคัญของ 10.3 ซึ่งเป็นผลการคำนวณที่มีจำนวนทศนิยม 1 ตำแหน่งเท่ากับจำนวนทศนิยมใน 4.8 ซึ่งเป็นจำนวนที่มีตำแหน่งทศนิยมน้อยที่สุดในจำนวนที่นำมาบวกกัน ดังนั้นเงื่อนไขในการพิจารณาผลการคำนวณจากการบวกและการลบจึงอยู่ที่จำนวนตำแหน่งทศนิยม ไม่ใช่จำนวนเลขนัยสำคัญ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า
ผลลัพธ์ที่ได้จะมีจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมที่น้อยที่สุดของปริมาณที่นำมาบวก ลบ กัน
แหล่งที่มา
คณาจารย์แม็ค. (2551). ฟิสิกส์ ม.4. กรุงเทพฯ:แม็ค.
พงษ์ศักดิ์ ชินนาบุญ. (2554). ฟิสิกส์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์.
มณิศา ชื่นจิต. (2558). เลขนัยสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562,จาก http://thn238299physics.blogspot.com/2015/08/16.html
กลับไปที่เนื้อหา
-
10554 ธรรมชาติและการพัฒนาทางฟิสิกส์ /lesson-physics/item/10554-2019-08-28-02-06-08เพิ่มในรายการโปรด