Fluids
ของไหลคืออะไร
ของไหลโดยทั่วไปจะหมายถึงสสารที่ไม่สามารถคงรูปอย่างถาวรด้วยตัวของมันเอง แต่จะมีรูปร่างได้ภายในภาชนะหรือสิ่งที่บรรจุอยู่ เช่นสสารในสถานะของเหลวและก๊าซ
ระบบของหน่วยที่ใช้ในกลศาสตร์ของไหล
ระบบของหน่วย
ระบบของหน่วยที่ใช้ในกลศาสตร์ของไหล :
มิติ |
หน่วยเอสไอ |
สัญลักษณ์ |
ความยาว ( L ) |
เมตร (meter) |
m K |
สมบัติของของเหลวและลักษณะของความดันของของเหลว
สมบัติของของเหลว
1. ของเหลวเป็นสสารที่สามารถไหลไปมาได้ เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวสามารถเคลื่อนที่ได้อิสระภายในขอบเขตของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
2. ของเหลวเป็นสิ่งที่ทนต่อการอัด คือ ปริมาตรของเหลวจะเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อได้รับแรงดัน
3. ทุกๆ จุดในของเหลวจะได้รับแรงดันจากทุกทิศทาง
4. ถ้าออกแรงดันต่อของเหลวที่อยู่ในภาชนะปิด แรงดันที่ของเหลวได้รับจะถูกส่งต่อไปยังทุกๆจุดในของเหลว
5. ที่ผิวของของเหลวจะมีแรงๆ หนึ่งที่จะช่วยยึดผิวของของเหลวไว้ไม่ให้ขาดจากกัน แรงนี้มีชื่อว่า แรงตึงผิว
6. จะมีแรงต้านภายในเนื้อของของเหลวต่อวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่าน แรงนี้มีชื่อเรียกว่า แรงหนืด
ลักษณะของความดันของของเหลว
1. ทุกๆ จุดในของเหลวจะมีแรงดันจากทุกทิศทาง เช่นขณะที่เราดำน้ำอยู่จะรู้สึกว่ามีแรงที่น้ำกระทำต่อตัวเรา และไม่ว่าเราจะเอียงศรีษะไปด้านไหนก็ตาม เราจะมีความรู้สึกว่าที่หูได้รับเเรงดันตลอดเวลาซึ่งเเสดงให้เห็นว่าเราได้รับเเรงดันของน้ำจากทุกทิศทาง
2. ความดันของของเหลวขึ้นอยู่กับความลึกเเละความหนาเเน่นของของเหลว โดยไม่ขึ้นกับปริมาตรของของเหลว ที่ระดับความลึกเดียวกันจะได้รับเเรงดันจากของเหลวเท่ากันในทุกทิศทาง
3. ภาชนะที่มีของเหลวบรรจุออยู่จะได้รับแรงดันจากของเหลวกระทำต่อผนังภาชนะในแนวตั้งฉากกับผนังภาชนะ เช่น สังเกตน้ำที่พุ่งออกมาจากรอยรั่วของถังน้ำ แสดงถึงว่าจะต้องมีแรงดันของน้ำกระทำต่อพื้นที่ด้านข้างถัง และแรงดันนี้จะดันให้น้ำพุ่งออกมาตามรอยรั่วได้
ความดันของของเหลวที่เกิดจากน้ำหนักของของเหลว
พิจารณาแรงกระทำของของเหลวที่กระทำต่อก้นภาชนะในรูป (a) หรือที่กระทำต่อพื้นที่สมมติ A ในรูป (b) แรงกระทำที่เห็นได้ชัดคือ แรงเนื่องจากน้ำหนักของลำของเหลวที่อยู่เหนือพื้นที่ A นั้น ถ้ากำหนดให้น้ำหนักของลำของเหลวเหนือพื้นที่ A เท่ากับ W ความดันอันเนื่องจากน้ำหนักลำของเหลวจะเขียนได้ดังนี้
รูปความดันเนื่องจากความสูงของของไหล
จากรูป แรงขึ้น = แรงลง
แทนค่า PA = W …………………… (1)
ถ้าให้ของเหลวมีความหนาแน่น = r
ลำของเหลวมีปริมาตร V = Ah
มวลของของเหลว (m) = rAh
น้ำหนักของลำของ (W) = mg
= rAhg
แทนค่า (W) ใน (1) PA = rAhg
P = rgh
นั้นคือ ความดันของของเหลว ณ จุดใดๆ จะแปรผันตามความลึกของของเหลว
ความดันเกจและความดันสมบูรณ์ของของเหลว
1. ความดันสมบูรณ์ของของเหลว ณ จุดใดๆ ย่อมมีค่าเท่ากับผลรวมของความดันอากาศกับความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลวที่จุดนั้น
ถ้ากำหนดให้ PW = ความดันเนื่องจากน้ำหนักของของเหลว
Pa = ความดันบรรยากาศที่ผิวหน้าของของเหลว
P = ความดันสมบูรณ์ของของเหลว
จะได้ว่า P = Pa + PW
หรือ P = Pa + ρgh
2. ความดันเกจ ( PG ) หมายถึง ความดันที่เกิดจากน้ำหนักของของเหลว หรือหมายถึงความดันที่เป็นผลต่างของความดันสมบูรณ์ของของเหลวที่ตำแหน่งนั้นกับความดันอากาศปกติ
ถ้ากำหนดให้ PG = ความดันเกจ
P = ความดันสมบูรณ์
Pa = ความดันบรรยากาศ
จะได้ว่า PG = ρgh = P - Pa
ข้อสังเกต ! 1. ความดันเกจ (PG) ณ จุดใดๆ คือ ความดันที่ไม่คิดความดันบรรยากาศ ส่วนใหญ่คือค่าที่อ่านได้จากมาตรวัดความดัน
2. ความดันสมบูรณ์ (P) ณ จุดใดๆ คือ ความดันที่คิดความดันบรรยากาศด้วย
3. ค่าความดันที่คำนวณในสมการของก๊าซทุกสมการเป็นความดันสมบูรณ์ทั้งนั้น
หลักการคำนวณหาความดันหาจากมาโนมิเตอร์หรือหลอดตัวยู
1. ให้หาผิวรอยต่อของของเหลว 2 ชนิดในหลอดตัวยูที่มีระดับต่ำที่สุด แล้วกำหนดจุดในขาแต่ละข้างของหลอดที่อยู่ในแนวเดียวกันที่ระดับต่ำที่สุด
2.ใช้หลักที่ว่าความดันของเหลวที่ระดับเดียวกันมีค่าเท่ากันคำนวณหาค่าที่ต้องการได้
แรงตึงผิว (Surface tension)
คือคุณสมบัติของพื้นผิวของของเหลว เป็นสิ่งทำให้เกิดบางส่วนของพื้นผิวของเหลวถูกดึงดูด (ยึดเข้าไว้ด้วยกัน) สู่พื้นผิวอื่น เช่น พื้นผิวของเหลวส่วนอื่น (การรวมตัวของหยดน้ำหรือหยดปรอทที่แกะกันเป็นลูกกลม) แรงตึงผิวถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการดึงดูด (การดึงดูดของโมเลกุลกับโมเลกุลที่เหมือนกัน) เมื่อโมเลกุลบนพื้นผิวของของเหลวไม่ได้ล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลที่เหมือนกันในทุกๆด้านแล้ว โมเลกุลจะมีแรงดึงดูดกับโมเลกุลใกล้เคียงบนพื้นผิวมากขึ้น แรงตึงผิวมีมิติของแรงต่อความยาวหนึ่งหน่วย หรือของพลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วย ซึ่งทั้งสองมีค่าเท่ากัน แต่พลังงานต่อพื้นที่หนึ่งหน่วยอยู่ในพจน์พลังงานพื้นผิว ซึ่งเป็นพจน์ทั่วไปในนัยที่ใช้กับของแข็งไม่ค่อยใช้ในของเหลว ในวัสดุศาสตร์ แรงตึงผิวใช้อยู่ในความเค้นพื้นผิว (surface stress) หรือ พลังงานอิสระพื้นผิว (surface free energy)
ความตึงผิว คือ แรงต่อความยาวของผิวสัมผัส (ความพยายามในการยึดผิวของของเหลว)
แรงดึงผิวของของเหลว คือ แรงที่เกิดขึ้นบริเวณที่ผิวของของเหลวสัมผัสกับของเหลวอื่นหรือกับผิวของแข็งโดยมีพลังงานเพียงพอต่อการยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ซึ่งมีขนาดสัมพันธ์กับแรงยึดติดและแรงเชื่อมแน่นทำให้เกิดเป็นลักษณะคล้ายๆ กับแผ่นบางๆ ที่สามารถต้านแรงดึงได้เล็กน้อย มีทิศขนานกับผิวของเหลวและตั้งฉากกับเส้นขอบที่ของเหลวสัมผัส เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นความตึงผิวของเหลวจะมีค่าลดลง
ในของไหลทุกชนิดจะมีคุณสมบัติของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 2 ชนิด คือ
1. แรงเชื่อมแน่น (Cohesive force) คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลวชนิดเดียวกันแรงนี้สามารถรับความเค้นดึง (tensile stress) ได้เล็กน้อย
2. แรงยึดติด (Adhesive force) คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลวกับสารชนิดอื่น เช่น น้ำกับแก้ว ปรอทกับแก้ว เป็นต้น
ปรากฏการณ์ของความตึงผิว
1. การเกิดหยดของเหลว (droplet) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับของเหลวที่มีขนาดเล็กและอยู่อย่างอิสระ เช่น เม็ดของของเหลวในบรรยากาศ หรือเม็ดของของเหลวที่เกิดจากหัวฉีดที่ฉีดของเหลวออกมาเป็นฝอยหรือละอองเล็กๆ หรือเม็ดของของเหลวที่เกาะตามใบไม้ ซึ่งอิทธิพลของแรงตึงผิวจะพยายามปรับรูปร่างให้เม็ดของของเหลวมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ทำให้แรงดันในหยดของเหลวมากขึ้น เพื่อให้เกิดแรงต้านแรงตึงผิว เป็นผลให้หยดของเหลวคงสภาพอยู่ได้อย่างสมดุล
2. คาพิลลาริตี้ (capillarity) คือปรากฏการณ์ที่ของไหลที่สัมผัสกับวัตถุแล้วมีลักษณะสูงขึ้นหรือต่ำลง เนื่องมาจากอิทธิพลของแรงยึดติดและแรงเชื่อมแน่น เช่น บริเวณที่น้ำสัมผัสกับผิวแก้ว จะมีระดับน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโมเลกุลของแก้วมีมากกว่าแรงเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของน้ำ แต่ถ้าเป็นบริเวณที่ปรอทสัมผัสกับผิวแก้ว ระดับปรอทจะต่ำลงเล็กน้อย เนื่องจากเชื่อมแน่นระหว่างโมเลกุลของปรอทมีมากกว่าแรงยึดติดระหว่างโมเลกุลของปรอทกับโมเลกุลของแก้ว
สูตรการคำนวณ เรื่อง แรงตึงผิว
แรงลอยตัว (Buoyant force)
ตัวอย่างการคำนวณ เรื่อง แรงลอยตัว
-
7139 Fluids /lesson-physics/item/7139-fluidsเพิ่มในรายการโปรด