ฟิสิกส์รอบตัว ตอน แว่นตากันแดด
แว่นกันแดด
เป็นที่ทราบกันดีว่าแสงแดดอันร้อนแรงในปัจจุบัน สามารถทำลายผิวพรรณของเราให้หมองคล้ำ และอาจถึงขั้นก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ในแสงแดดมีรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (ultraviolet) หรือเรียกว่า รังสี UV เป็นตัวการสำคัญนั้นเอง ซึ่งนอกจากการดูแลผิวพรรณที่จำเป็นอย่างยิ่งแล้ว จะมีใครคาดคิดถึงอันตรายของรังสี UV ในแสงแดดที่มีต่อดวงตาของเราบ้าง รังสี UV สามารถทำลายกระจกตา (cornea) และเรตินา (retina) หากเราไม่ป้องกันดวงตาอันบอบบางโดยธรรมชาติม่านตาจะปิดเมื่อได้รับแสงที่เข้มมากเกินไป ดวงตาจึงหรี่เล็กลงเพื่อทำให้แสงเข้าสู่ตาน้อยลง แต่หากดวงตาได้รับแสงที่เข้มข้นอยู่ต่อไปจอตาอาจถูกทำลาย ทำให้ตาบอดได้ แว่นกันแดดจึงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันดวงตาจากรัวสี UV เพื่อลดความเข้มของแสงที่จ้ามากเกินไป และลดแสงสะท้อนที่ก่อความรำคาญแก่สายตาของเรา เช่น แสงสะท้อนจากพื้นทราย หรือพื้นน้ำ ซึ่งในบางครั้งแสงที่จ้าได้สะท้อนเข้าสู่ตาโดยตรงอาจบดบังการมองเห็นได้
ปัจจุบัน แว่นกันแดดมีความจำเป็นอย่างมาก นอกจากใส่แล้วสบายตา แว่นกันแดดยังสามารถรักษาสุขภาพตาได้ในระยะยาวอีกด้วยจากการวิจัย พบว่า การโดนแสงแดดจัดนานๆ ในระยะยาวมีโอกาสเกิดโรคตาตามมา เช่น ต้อลมและต้อเนื้อ ต้อกระจก ตลอดจนโรคจอประสาทตาเสื่อม เนื่องมาจากผลของรังสีอุตร้าไวโอเล็ต (UV) ในแสงแดด
มีหลักฐานพิสูจน์อย่างแน่ชัด คือในปี ค.ศ. 1988 จักษุแพทย์กลุ่มหนึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยชาวประมง 838 คน ขณะออกทะเลเพื่อประกอบอาชีพ พบว่า กลุ่มที่มิได้ป้องกันแสงแดด จะเป็นต้อกระจกมากเป็นสามเท่าของชาวประมงที่สวมแว่นกันแดด หรือสวมหมวกปีกกว้าง จักษุแพทย์ ในปัจจุบันจึงแนะนำให้สวมแว่นกันแดดทุกครั้ง หากต้องออกกลางแดดเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเราอยู่ในแนวใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งมีแดดจัดกว่าส่วนอื่นของโลกแว่นกันแดดในปัจจุบัน ตามท้องตลาดทั่วๆ ไป มีแว่นกันแดดวางจำหน่ายอยู่มากมาย มีวัสดุและเลนส์หลากหลายประเภท ดังนั้นหากจะเลือกซื้อควรให้ความสนใจ เพราะหากได้แว่นกันแดดที่ไม่มีคุณภาพก็จะไม่มีประโยชน์ในการป้องกันดวงตาได้เลย ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำเลนส์ที่นิยมมี 3 ชนิด คือ
- เลนส์พลาสติก(CR 39 Plastic)ทำจากวัสดุCR-39เป็นเลนส์พลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด เนื่องจากทนแรงขูดขีดได้ดี ทั้งยังช่วยกรองรังสียูวีและอินฟราเรดได้ดีอีกด้วย อาทิRay Ban Wayfarer Jackie OHH
- เลนส์แก้ว(Glass)จะมีความใสมากกว่าเลนส์พลาสติก และทนแรงขูดขีดได้ดีกว่า แต่ก็จะมีน้ำหนักมากกว่าเลนส์พลาสติก รวมทั้งยังแตกได้ด้วย อาทิWayfarer RB 3384 Aviator
- เลนส์พลาสติกชนิดโพลีคาร์บอเนต(Polycarbonate Plastic)จะมีน้ำหนักเบาที่สุด ทนทานต่อแรงกระแทกได้ดีมากจึงมักใช้ในการทำแว่นสำหรับกีฬาหรือกิจกรรมโลดโผน เพราะให้ความปลอดภัยจากอันตรายต่อดวงตาได้ดีที่สุด
วัสดุที่ใช้ทำเลนส์ทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือเป็นวัสดุที่มีคุณภาพสามารถเลือกสวมใส่ได้ตามความเหมาะสม และสามารถสวมใส่ในขณะที่ขับรถได้ทุกสภาพอากาศขึ้นอยู่กับความชอบและสไตล์ของผู้สวมใส่ข้อควรระวังแว่นกันแดดที่วางขายทั่วไปเลนส์มักทำจากพลาสติกธรรมดาแล้วนำไปเคลือบสีภาพที่มองเห็นอาจบิดเบี้ยวได้กลอบแว่นทำจากพลาสติกหรือลวดซึ่งไม่ทนทาน แตกต่างจากแว่นกันแดดราคาแพงที่เลนส์ทำจากวัสดุจำพวกแก้วถึงแม้ทีน้ำหนักมากแต่มีความทนทานต่อการขีดข่วนเลนส์ที่ทำจากวัสดุอย่างดี เช่น พลาสติกชนิด โพลิคาร์บอเนต ซึ่งแข็งแรงและน้ำหนักเบา หรือพลาสติก (Cr-39) ซึ่งเป็นวัสดุเรซิ่งแข็งที่มีสมบัติได้มาตรฐานทางแสงและสายตา หรือเรียกว่า “optical quality standard” ทำให้ผู้สวมใสมองเห็นวัตถุได้ชัดเจนภาพที่เห็นจะไม่บิดเบี้ยว
ผู้ผลิตแว่นกันแดดบางยี้ห้อคิดค้นเลนส์ชนิดพิเศษและเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะขึ้นมาสำหรับแว่นกันแดดบางรุ่นเลยทีเดียว เช่น แว่นกันแดดที่ทำจากเลนส์พลาสติก พลูโตไนท์ ของบริษัท โอ้คเลย์ (Oakley,Plutointe Plastic)เป็นต้นนอกจากวัสดุที่ควรคำนึงถึงแล้ว ประเภทของเลนส์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาในการพิจารณา ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 3 ลักษณะ ได้แก่1.เลนส์ที่สามารถกรองรังสีได้เป็นคุณสมบัติอย่างแรกที่ต้องพิจารณาเลือกซื้อแว่นกันแดด แม้ว่าเลนส์ธรรมดาทั้งพลาสติกและแก้วจะสามารถกรองรังสีUVได้บางส่วนแล้วก็ตาม แต่คุณสมบัติดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเติมสารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับรังสีไว้ในเนื้อเลนส์ขณะผลิตหรือฉาบไว้ที่ผิวเลนส์ภายหลัง เลนส์ของบางบริษัทอาจระบุไว้ว่า สามารถกรองรังสีUVได้ถึงขนาดความยาวคลื่น 400 นาโนเมตร หมายถึง สามารถกรองรังสีได้ 100%นั่นเอง
2.เลนส์โพลาไรซ์(POLARIZED LENS)มีคุณสมบัติสามารถตัดแสงสะท้อนจากผิวน้ำหรือถนนได้ ทำให้สบายตามากขึ้นเมื่อใช้ขณะเล่นกีฬาทางน้ำหรือขับรถ แต่ไม่มีคุณสมบัติในการกรองรังสีUVอย่างไรก็ตามปัจจุบันมีเลนส์โพลาไรซ์หลายยี่ห้อที่ฉาบสารเคมีเพื่อดูดซับรังสีUVไว้ด้วย ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่า เลนส์ที่เลือกซื้อนั้นมีคุณสมบัติดังกล่าวด้วยหรือไม่
3. เลนส์เปลี่ยนสี(PHOTOCHROMIC GLASSES)มีคุณสมบัติเปลี่ยนสีได้โดยอัตโนมัติตามระดับความเข้มของรังสีUVคือ เปลี่ยนเป็นสีชาเมื่ออยู่ในที่สว่าง และใสขึ้นเมื่ออยู่ในที่แสงน้อย การเปลี่ยนสีเข้มจะเกิดขึ้นเต็มที่โดยใช้เวลาประมาณครึ่งนาที ในขณะที่กว่าจะกลับใสเป็นปกติจะต้องใช้เวลาถึง 5 นาที แม้ว่าแว่นชนิดนี้จะกรองรังสีUVได้ดี แต่ปัญหาจากการใช้เวลานานเกินไปในการปรับสีเมื่อเข้าในที่สลัว และสีของเลนส์ก็ไม่ถึงกับใสเลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่เป็นที่แพร่หลาย
นอกจากวัสดุอย่างดีที่ให้สมบัติทางแสงและการมองเห็นที่ได้มาตรฐาน สำหรับแว่นกันแดดแล้ว เทคนิคการเคลือบเลนส์ยังช่วยให้แว่นกันแดดเป็นอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดที่สมบูรณ์ขึ้น เช่น การย้อมสีเลนส์ หรือเรียกว่า “tinting” ทำให้เลนส์มีสีเข้มขึ้น โดยทั่วไปนิยมย้อมสีให้เข้มไม่เกิน 60% แต่หากแว่นกันแดดสำหรับกลางแจ้ง ควรให้สีเข้มถึง 70-90% แว่นกันแดดอาจใช้เลนส์ที่เข้มได้ถึง 97% ซึ่งหมายถึงสามารถป้องกันแสงแดดที่เข้าสู่ตาเราได้มากถึง 97 % นั่นเอง
นอกจากความเข้มแล้วสีของเลนส์ยังช่วยให้เกิดความชัดเจนในการมองเห็นโดยอาศัยหลักการ ที่ว่าเลนส์สีต่างกันสามารถดูดกลืนแสง สี ที่มีความถี่ต่างๆในแสงแดดได้แตกต่างกัน เช่น แว่นสำหรับกันแสงสะท้อนทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนนิยมใช้เลนส์สีเหลือง หรือ สีน้ำตาล สามารถดูดกลืนแสงสีฟ้า แต่ยอมให้แสงสีอื่นเข้าสู่ตาเราได้ ทำให้ตาเรามองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เพราะลดแสงสะท้อนของแสงสีฟ้า แสงสีฟ้าสามารถสะท้อนจากวัตถุได้มากกว่าแสงสีอื่น จึงเกิดปรากฎการณ์แสงจ้าคล้ายกับปรากฏการณ์ เช่นที่เราเห็นท้องฟ้าเป็นสีฟ้า หรือเรียกว่า “Blue haze”
เลนส์สีฟ้านิยมใช้ทำแว่นสำหรับลดแสงจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เวลานานๆ เลนส์สีเขียวก็เช่นเดียวกันกับสีฟ้าจะช่วยให้ภาพที่มองเห็นชัดเจนมากที่สุดในยามที่อยู่กลางแสงแดดจ้า สีของเลนส์ที่นิยมอีกสีหนึ่งคือ สีเทา ซึ่งช่วยลดความสว่างได้เป็นอย่างดี นิยมใช้ทำเลนส์ของแว่นกันแดดสำหรับเล่นกอล์ฟ หรือผู้เล่นกีฬากลางแจ้ง ดังนั้น การใช้เลนส์ที่มีสีต่างกัน จึงเหมาะกับการใช้งานในบรรยากาศที่แตกต่างกันคุณสมบัติที่ดีของแว่นกันแดด
- มีความทึบเข้มของเลนส์เลนส์บางชนิดย้อมสีเข้มมาก แสงผ่านได้เพียง 2-3%ในขณะที่เลนส์บางชนิดให้แสงผ่านได้ถึง 50%ฉะนั้นการเลือกซื้อ จึงจำเป็นต้องให้เหมาะสมกับการใช้งาน เลนส์ที่ย้อมสีปานกลางจะเหมาะกับการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแสงแดดจัดบ่อยๆ ก็ควรเลือกเลนส์ที่เข้มและกรองแสงได้มากแต่ต้องระลึกเสมอว่า ชนิดและความเข้มของสีที่ใช้ย้อมเลนส์ไม่ได้มีผลในการป้องกันรังสีUVเลย เพียงแต่ลดความสว่างจ้า ทำให้สบายตาขึ้นเท่านั้น
- คุณภาพของการฝนเลนส์นอกจากคุณสมบัติที่ต้องป้องกันรังสีได้แล้ว การเลือกเลนส์ที่ผ่านการขัดฝนมาอย่างดี เป็นคุณสมบัติที่ควรคำนึงถึงอย่างยิ่ง ทดสอบได้โดยให้ถือแว่นห่างจากตัวระยะความยาวแขน หลับตาข้างหนึ่ง แล้วใช้ตาอีกข้างมองผ่านเลนส์ ดูอะไรที่เป็นเส้นตรงด้านหน้า เช่น ขอบโต๊ะ ขอบประตู เสา หรือมุมผนังห้อง แล้วค่อยๆ หมุนแว่นช้าๆ ตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา หรือขยับซ้าย-ขวา บน-ล่าง ก็ได้ หากเส้นตรงที่บิดคดเคี้ยวไป โดยเฉพาะตรงกลางเลนส์เลนส์คู่นั้นเป็นเลนส์คุณภาพต่ำ ไม่ควรนำมาใช้งาน
- ความทนต่อแรงกระแทกเลนส์แว่นกันแดดทุกชนิด ควรต้องมีความแข็งแรงกระแทกตามมาตรฐาน แว่นกันแดดส่วนใหญ่จะเป็นเลนส์พลาสติก ซึ่งแตกร้าวได้ยาก แว่นกันแดดสำหรับนักกีฬาจะเป็นพลาสติกโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีคุณสมบัติแข็งแรง และเหนียว แต่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย ดังนั้น หากจะซื้อแว่นประเภทนี้ควรเลือกที่มีสารฉาบผิวป้องกันรอยขีดข่วนด้วย
เลนส์ของแว่นกันแดด บางรุ่นเป็นเลนส์ตัดแสง อาศัยเทคนิคที่เรียกว่า โพราไรเซชัน (polarization) โดยการเคลือบฟิล์มที่ทำหน้าที่กรองแสงหรือที่เรียกว่า “polarized filters” เลนส์จะดูดกลืนแสงที่ผ่านเข้ามาในทิศทางเดียวกับการจัดเรียงตัวของโมเลกุลของสารเคมีที่ใช้ทำฟิล์ม แต่ยอมให้แสงในทิศทางอื่นผ่านเข้าสู่ตาเราได้ แว่นกันแดดที่ใช้เลนส์ตัดแสงจึงจำเป็นในยามที่เราอยู่กลางแสงแดดที่สะท้อนบนพื้นผิวน้ำซึ่งมักเป็นแสงแนวนอน กล่าวคือเมื่อแสงตกกระทบบนผิวน้ำจะมีการเบี่ยงเบนทิศทางไปในแนวเดียวกันกับผิวน้ำคือ แนวนอน เมื่อแสงแนวนอนผ่านเลนส์ตัดแสง เลนส์จะไม่ยอมให้แสงในแนวนอนผ่านเข้าสู่ตาเราได้ เราจึงไม่รู้สึกแสบตา เทคนิคที่เรียกว่าโฟโตโครมิก (photochromic) ก็เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับเลนส์ตัดแสง เลนส์ชนิดพิเศษนี้มีสารจำพวกซิลเวอร์คลอไรด์หรือซิลเวอร์เฮไลด์ ซึ่งมีความสามารถในการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลให้กลับไปกลับมาเมื่อเจอกับรังสี UV และการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลนี้มีผลทำให้สีของเลนส์เข้มขึ้น โดยความเข้มของสีขึ้นอยู่กับความเข้มของรังสี UV นอกจากนี้ยังมีเทคนิคการเคลือบสารสะท้อนแสงที่เรียกว่า “mirroring” การเคลือบสารที่ทำจากคาร์บอน (diamond-like carbon หรือ DLC) และเพชร เพื่อการทนทานต่อการขูดขีดและการเคลือบสารกันสะท้อนไว้ด้านในของเลนส์ที่เรียกว่า “anti-reflective coating” โดยใช้วัสดุที่มีค่าดัชนีกรหักเห (index of refraction) อยู่ระหว่างอากาศกับแก้วที่ใช้ทำเลนส์
“Eagle Eyes sunglasses” เป็นแว่นกันแดดรุ่นใหม่ล่าสุดที่ปฏิวัติวงการแว่นกันแดด ซึ่งใช้เทคโนโลยีเดียวกับองค์นาซ่า (NASA) เลนส์ถูกออกแบบให้เลียนแบบตาของนกอินทรีย์ที่ได้รับการยอมรับว่า สามารถมองเห็นวัตถุขนาดเล็กได้ชัดเจนจากที่ไกล ในเวลากลางวันท่ามกลางแสงและแสงสะท้อนจากวัตถุในธรรมชาติ เช่น บนผิวน้ำ ทะเลทราย เป็นต้น เลนส์ของแว่นชนิดนี้จึงช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ช่วยลดแสงสะท้อน และยังปกป้องรังสีได้ทั้ง UV-A UV-B และ UV-C สามารถสกัดกั้นแสงสีม่วงที่มีความเข้มข้นสูงและสีน้ำเงิน นับว่าเป็นแว่นกันแดดที่มีสมบัติครบถ้วนเลยทีเดียว
แว่นกันแดดที่ดีที่สุดต้องสามารถกรองรังสี UV ได้หมด 100%ให้การมองเห็นที่ชัดเจน ภาพไม่บิดเบี้ยว แข็งแรง และไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง การสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกกลางแจ้งจะให้ความสบายตาและป้องกันอันตรายจากรังสี UV ในระยะยาวได้แม้ว่าแว่นกันแดดจะมีคุณภาพดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าแสงมีความจ้าสว่างกว่าปกติมาก เช่น แสงจากการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า อาจทำให้มีอาการปวด เคืองตาอย่างรุนแรงเนื่องจากกระจกตาอักเสบจากรังสี ตาอาจบอดเนื่องจากประสาทตาเสื่อมได้ ต้องอาศัยเลนส์กรองแสงชนิดพิเศษจริงๆ เท่านั้นจึงจะปลอดภัย
นอกจากนี้แว่นกันแดดช่วยลดความรุนแรงของโรคที่รังสี UV มีส่วนทำให้อาการรุนแรงขึ้น ได้แก่ โรคจอประสาท ตาเสื่อม ต้อเนื้อและต้อลม ควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกกลางแจ้งผู้ป่วยที่รับประทานยาบางประเภทที่ไวต่อรังสี (PHOTO-SENSITIZING) จะทำให้ดวงตามีความไวต่ออันตรายจากรังสี UV มากกว่าปกติ ตัวอย่างเช่น เทตตร้าไซคลิน (TETRACYCLINE) ด๊อกซีไซคลิน (DOXYCYCLINE) ฉะนั้นควรสวมแว่นกันแดด หรือสวมหมวกทุกครั้งที่ออกกลางแจ้ง ขณะที่ยังรับประทานยาเหล่านั้นอยู่สีเลนส์แบบไหนเหมาะขับรถตามหลักมาตราฐานขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดไว้ว่า แว่นกันแดดที่ได้มาตราฐานในการป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) นั้นอย่างน้อยต้องสามารถป้องกัน 95% ของ UV-A และ 99% ของ UV-B ไม่ให้ผ่านเลนส์เข้าสู่ดวงตาได้มีเคล็ดลับการเลือกแว่นกันแดดเพื่อสวมใส่ในการขับรถ และการดูแลรักษาแว่นกันแดด ซึ่งแว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานนั้นจะต้องสามารถกรองรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งเป็นรังสีที่อยู่ในย่านความถี่ 280-315 นาโนเมตรได้ และป้องกันปริมาณรังสียูวีเอ (UVA) ที่อยู่ในย่านความถี่ 100-280 นาโนเมตร ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอากาศที่มีแดดจ้า หรือมีเมฆหมอกปกคลุม
ดังนั้นวิธีการเลือกสีเลนส์ให้เหมาะกับการขับรถ หากเป็นกิจกรรมการขับรถกลางแจ้ง ควรเลือกเลนส์สีเขียวและสีเทาเพราะจะช่วยในการมองเห็นที่เป็นธรรมชาติมากที่สุด นอกเหนือจากการลดความจ้าของแสงในขณะขับรถส่วนกิจกรรมขับรถในตอนแสงน้อย หรือตอนกลางคืน ควรเลือกเลนส์ สีฟ้าใส สีใส และสีเหลือง จะช่วยป้องกันแสงสะท้อนจากไฟส่องถนน โดยเฉพาะการขับรถในเวลาอากาศมัวท้องฟ้ามืดครึ้มเลนส์ที่เหมาะสมที่สุดคือเลนส์สีเหลืองเพราะจะช่วยลดความสว่างของแสงมากที่สุด ทำให้ทัศนวิสัยในการขับรถดีขึ้นสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลวิธีดูแลรักษาควรดูแลทำความสะอาดแว่นด้วยผ้าเช็ดแว่น หรือน้ำยาทำความสะอาดแว่น อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เนื่องจากกรอบแว่นและเลนส์อาจสกปรกจากฝุ่นละอองทั่วไป หรือครีมบำรุงผิวและเส้นผมของผู้สวมใส่ผ้าที่จะนำมาใช้เช็ดเลนส์และกรอบแว่นควรเป็นผ้าที่อ่อนนุ่ม หรือผ้าสำหรับเช็ดแว่นโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ผ้าลินินหรือผ้าที่ทำจากขนสัตว์เพราะจะทำให้เกิดรอยในระหว่างที่เช็ด
ส่วนการเก็บแว่นควรเก็บไว้ใส่กล่องใส่แว่นตาทุกครั้ง หลังจากการเลิกใช้งานแล้วไม่ควรเก็บแว่นใส่กระเป๋าโดยตรง หรือหนีบไว้ที่กระเป๋าเสื้อ เพราะอาจทำให้เกิดรอยขีดข่วนได้จากสิ่งของอื่นๆ ที่อยู่ในกระเป๋าการสวมและถอดแว่นทุกครั้งต้องใช้มือทั้งสองข้างจับที่ขาแว่นซ้ายและขวาพร้อมกันในขณะที่สวมหรือถอด ในขณะที่สวมให้สวมจากด้านบนศีรษะ แต่ให้ถอดออกในแนวตรงเพื่อการรักษาสมดุลไม่ให้กรอบแว่นเสียรูปทรงในกรณีที่แว่นทำจากวัสดุพลาสติก ไม่ควรถอดวางไว้บริเวณหน้ารถ ในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อนเพราะความร้อนอาจทำให้แว่นเปลี่ยนรูปทรงได้
-
7297 ฟิสิกส์รอบตัว ตอน แว่นตากันแดด /lesson-physics/item/7297-2017-06-14-14-56-32เพิ่มในรายการโปรด