การประยุกต์ใช้กรวยรวมแสงอาทิตย์
ในปัจจุบันนี้ โลกได้ก้าวเข้าไปสู่ยุคของการพัฒนาทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว พลังงานจึงเป็นปัจจัยสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามพลังงานน้ำมันอันเป็นพลังงานหลักนั้นก็มีแนวโน้มที่จะหมดไปเรื่อยๆ จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งในการมองหาพลังงานทดแทนใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งได้รับการจับตามองเป็นอย่างมาก ในโครงงานนี้ เราจะมุ่งเป้าหมายไปยังการศึกษาเรื่องการนำความร้อนและแสงสว่างจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ ซึ่งมีขั้นตอนที่ง่ายและมีราคาถูกกว่าการใช้เซลล์สุริยะมาก ทั้งนี้จะศึกษาการรวมแสงอาทิตย์เพื่อให้ได้ความร้อนที่มากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เลนส์นูนหรือกระจกเว้าในการรวมแสง ซึ่งมีราคาสูงเมื่อเทียบกับปริมาพลังงานความร้อนที่ได้รับ ดังนั้น โครงงานนี้จึงได้นำเสนออีกทางเลือกหนึ่ง คือ กระจกราบ โดยใช้วัสดุสะท้อนแสงที่สะท้อนแสงที่สามารถดัดงอ ทำให้เป็นลักษณะแบบกรวย ทำการศึกษาถึงผลกระทบของตัวแปรต่างๆที่ศึกษาต่อค่าพลังงานที่จะสามารถส่งไปถึงปลายสุดของกรวย ซึ่งในโครงงานนี้ได้แบ่งขั้นตอนในการศึกษาเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของวัสดุที่ใช้ในการสะท้อนแสงกับความสามารถในการรวมแสงของกรวย 2) ศึกษาถึงผลของรัศมีที่ฐานกรวยและความยาวของกรวยต่อความสามารถในการรวมแสง และขั้นตอนที่3 ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นถึงขอบเขตของความสามารถในการรวมแสงของกรวยทั้ง และเป็นการศึกษาถึงขีดจำกัดของจำนวนครั้งที่สะท้อนซึ่งจะสามารถส่งผ่านพลังงานไปยังปลายสุดของกรวยได้ อันจะทำให้ทราบถึงขีดจำกัดความสามารถในการรวมแสงของกรวยรูปแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากผลการศึกษาในเบื้องต้นก็พบว่าเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในระดับหนึ่ง แต่ยังพบว่ามีข้อคลาดเคลื่อนบางส่วน ซึ่งได้สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมากจากการมีแสงภายนอกเข้ามาส่งผลต่อการทดลองทำให้ผลที่ได้มีความคลาดเคลื่อนไปเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาข้างต้น สามารถนำไปประยุกต์ในการสร้างกรวยที่มีความรวมแสงอาทิตย์ได้ดีจากวัสดุสะท้อนแสงราบได้ ซึ่งจะสามารถประหยัดงบประมาณและเป็นการนำเสนออีกทางเลือกหนึ่งที่จะนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้เป็นอย่างดี
-
5386 การประยุกต์ใช้กรวยรวมแสงอาทิตย์ /project-chemistry/item/5386-2016-09-09-03-36-53-5386เพิ่มในรายการโปรด