การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ซีโอไลต์บำบัดไนเตรทในน้ำทิ้งร่วมกับแบคทีเรียดีไนตริไฟอิง
ปัจจุบันปัญหาภาวะมลพิษทางน้ำนับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ อันเนื่องมาจากการขยายตัวของกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะการปนเปื้อนของไนเตรทในแหล่งน้ำซึ่งก่อให้เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชันและยังทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้อีกด้วย การศึกษาครั้งนี้ให้ความสนใจกับปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณไนเตรทในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระบบปิด โดยทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ซีโอไลต์ธรรมชาติ ซึ่งมีคุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุและเป็นตัวดูดซับร่วมกับหัวเชื้อแบคทีเรียดีไนตริไฟอิงในการบำบัดไนเตรทในน้ำทิ้ง โดยมีการเติมสารเมทานอลเป็นแหล่งคาร์บอน ผลการศึกษาพบว่าการใช้ซีโอไลต์ 150 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 2 ชั่วโมงมีประสิทธิภาพในการบำบัดไนเตรตได้สูงสุด (42%)และแบคทีเรียดีไนตริไฟอิงสามารถเจริญเติบโตภายใต้ของผสมระหว่างน้ำทิ้งสังเคราะห์กับซีโอไลต์ได้โดยมีประสิทธิภาพในการบำบัดไนเตรทได้ร้อยละ 97
-
5800 การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ซีโอไลต์บำบัดไนเตรทในน้ำทิ้งร่วมกับแบคทีเรียดีไนตริไฟอิง /project-chemistry/item/5800-2016-09-09-03-41-36-5800เพิ่มในรายการโปรด