แสงแดด VS ผิวหนัง VS สารกันแดด (Part II)
แสงแดด VS ผิวหนัง VS สารกันแดด (Part II)
สีผิวหนังขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น พันธุกรรม และ ปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด ยาบางชนิด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ก็มีผลเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อการสร้างเม็ดสีเมลานินที่อยู่ในเซลล์ชั้นหนังกำพร้า การที่มีการส้รางเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้นเรียกว่าการ tanning (หรือที่เราได้ยินคุ้นหูว่าคนผิวสีแทน) แต่หากผิวสีคล้าขึ้นโดยมีเหตุมาจากแสงแดดจะเรียกว่า suntan
เมื่อผิวหนังโดนแสงแดด ในคนที่ผิวคล้ำง่ายสามารถสามารถมีสีผิวคล้ำขึ้นทันทีเนื่องจากอิทธิพลจากแสง UVA ที่มีฤทธิ์ออกซิเดชั่น เพิ่มความเข้มข้นให้กับเม็ดเมลานินที่มีอยู่เดิม หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน ร่างกายจะกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดเมลานินใหม่ขึ้นโดยเป็นผลมาจากแสง UVA และ UVB เมลานินในผิวหนังมีคุณสมบัติในการดูดซับแสง UV และทำให้แสงกระจายตัวออกไป และยังสามารถขับกับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากแสง UV ทำให้ผิวหนังที่มีเมลานินสูงสามารถป้องกันผลเสียจาก UV ได้มากกว่า
ในบางคนที่มีผิวขาวหรือคนที่มีความผิดปรกติในการสร้างเมลานินในผิว เช่นคนผิวเผือก ก็จะเกิดผิวไหม้จากแสงแดดได้ง่าย บางครั้งเป็นมากจนผิวหนังไหม้พองเป็นตุ่มน้ำ บวม เหมือนโดนไฟลวก จะเกิดริ้วร้อยรอยย่นหรือผิวหนังแก่เร็ว ได้ตั้งแต่ยังเด็ก ซ้ำยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้มาก ในขณะที่คนผิวคล้ำหรือผิวสี ผิวจะไม่ค่อยไหม้จากแสงแดด แต่จะมีผิวคล้ำได้ง่ายเมื่อออกแดด ริ้วรอยย่นหรือลักษณะผิวถูกทำรายจากแสงแดดมีน้อย โอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังต่ำ เพราะเมลานินในผิวช่วยดูดซับแสง UV ไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีส่วนปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่เรื่องของสีผิวเฉพาะบุคคลที่เราควรจะพึ่งพิจารณาด้วย เช่นเสื้อผ้าที่ใส่ หมวก หรือการเดินในที่ร่ม และแน่นอนที่จะไม่กล่าวถึงคงมิได้ นั้นก็คือสารกันแดดนั้นเอง
ครีมกันแดด ทำงานอย่างไร?
ครีมกันแดดนั้นสามารถที่จะออกฤทธิ์ได้หลากหลายวิธี
- สามารถดูดซับหรือกรองแสง UV ไว้ในผิวหนังกำพร้าโดยเฉพาะชั้นขี้ไคลที่อยู่บนสุดของผิวหนัง ไม่ให้แสงผ่านเข้าไปในชั้นหนังกำพร้าหรือหนังแท้
- ทำให้แสงกระจัดกระจายตัวออก
- สารกันแดดบางชนิดที่เคลือบผิวสามารถสะท้อนแสงออกไป
- สามารถทำลายอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่เกิดขึ้นในผิวหนังเมื่อโดนแสงแดด
UVA VS UVB
แสง UVB มีพลังงานสูงกว่าแสง UVA ถึง 1000 เท่า ดังนั้นแสงที่ทำให้เกิดการไหม้ของผิวจึงเป็นแสงอันเนื่องมาจาก UVB แต่ในขณะเดียวกัน ถึงแม้ว่า UVA จะมีพลังงานต่ำกว่า แต่มีความสามารถในการทะลุชั้นผิวได้ดีกว่า ลึกกว่า ซึ่งเป็นสาเหตุของผิวตกกระ หรือรอยย่น เนื้องอก หรือมะเร็งผิวหนังในระยะยาวได้ ดังนั้นเมื่อเลือกใช้สารกันแดดจึงควรเป็นสารกันแดดที่มีคุณสมบัติป้องกันผิวจากแสงทั้ง 2 ชนิด สำหรับการพิจารณาประสิทธิภาพของสารกันแดดนอกจากขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและความคงตัวของสารเคมีนั้นแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสูตรผสมของผลิตภัณฑ์ บางผลิตภัณฑ์ป้องกันเหงื่อ ป้องกันน้ำ หรือทำให้ผิวหนังดูเนียนขึ้น จึงมักจะมีส่วนผสมของน้ำมันปนอยู่ด้วย (lipophilic emulsion) ยิ่งอยากให้มีคุณสมบัติป้องกันน้ำสูง ก็ต้องมีส่วนผสมของน้ำมันสูงขึ้นตามด้วยเช่นกัน โดยองค์การอาหารและยาของอเมริกาแนะนำให้ทาครีมปริมาณอย่างน้อย 2 มิลลิกรัม ต่อตารางเซนติเมตร
ครีมกันแดด VS UVB
มีค่าค่าหนึ่งที่เรามักจะเห็นในผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดอยู่บ่อยๆนั้นคือค่า SPF ย่อมาจาก Sun Protective Factor โดยสำหรับค่า SPF ที่มากกว่า 15 ถือว่าสามารถป้องกัน UVB ได้ในระดับสูง และถ้าสูงมากกว่า 30 จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มสูงที่สุด เช่น ค่า SPF 15 สามารถป้องกัน UVB ได้ 93% , SPF 30 สามารถป้องกัน UVB ได้ 96.7% หรือ SPF 40 สามารถป้องกัน UVB ได้ 97.5% เป็นต้น
ครีมกันแดด VS UVA
อีกสัญลักษณ์หนึ่งที่เราจะเห็นในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสารกันแดด นั้นคือเครื่องหมาย +,++ หรือ +++ เครื่องหมายนี้เป็นการบอกถึงความสามารถในหารป้องกัน UVA
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ป้องกันแสงแดดคุณภาพสูง แต่การพกหมวก ล่ม หรือการเดินลบแดด และระวังตัวเองต่อแสงแดดที่มากเกินไป ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรพึงปฏิบัติอยู่ดี
เนื้อหาจาก
http://www.webmd.com/beauty/sun/sun-exposure-skin-cancer
http://gizmodo.com/how-sunscreen-works-and-why-youre-wrong-about-it-508910004
http://www.brecosmeticlab.com/newslet/51/04_apr/007_uv_effect.html
https://www.doctor.or.th/article/detail/1632
http://www.inderm.go.th/Health/health_21.htm
http://www.skincancer.org/prevention/sun-protection/sunscreen
ภาพจาก
http://www.dollshecraft.com/skin-color/
http://gizmodo.com/how-sunscreen-works-and-why-youre-wrong-about-it-508910004
-
4826 แสงแดด VS ผิวหนัง VS สารกันแดด (Part II) /article-biology/item/4826-vs-vs-part-iiเพิ่มในรายการโปรด