LASER Part I : แสง LASER คืออะไร , มีคุณสมบัติอย่างไร
โดย :
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
เมื่อ :
วันอังคาร, 06 กันยายน 2559
Hits
109069
LASER Part I : แสง LASER คืออะไร , มีคุณสมบัติอย่างไร
เลเซอร์ ศัพท์ที่หลายๆคนคงคุ้นหูกันดีทั้งจากการ์ตูน , ภาพยนตร์ , เกม หรือกระทั่งในชีวิตจริง เช่นวิทยาศาสตร์การแพทย์ การใช้เลเซอร์เพื่อการผ่าตัด การใช้เลเซอร์ในการดูแลรักษาผิว , วิทยาศาสตร์เพื่อทางทหาร ลำแสงเลเซอร์ เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าความเป็นจริงแล้ว เลเซอร์ คือ อะไร? หรือปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดลำแสงเลเซอร์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? วันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน
LASER หรือที่ย่อมาจาก Light Amplification By Stimulated Emission of Radiation มีความหมายตามตัวอักษรว่า “การเพิ่มปริมาณคลื่นแสงโดยการกระตุ้นให้ปล่อยคลื่นแสงออกมา” เลเซอร์ จะหมายรวมไปถึงการให้พลังงานผ่านทางสื่อนำแสง ซึ่งสื่อนำแสงอาจเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว ก๊าซ หรืออิเล็กตรอนอิสระที่มีคุณสมบัติสามารถนำแสงได้ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด ออบติคอล คาวิตี้ (Optical cavity) จะประกอบไปด้วยกระจก 2 อัน ที่จะจัดเรียงแสงเข้าด้วยกันครั้งแล้วครั้งเล่า โดยที่แต่ละครั้งจะผ่านสื่อนำแสง โดนหนึ่งในกระจกนั้น (Output coupler) จะส่งลำแสงออกมา แสงเลเซอร์ คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่แคบๆ (คลื่นแสงที่มีความถี่ค่าเดียว) หรืออาจกล่าวได้ว่า “แสงเลเซอร์เป็นแสงบริสุทธิ์ที่สุด เท่าที่นักวิทยาศาสตร์จะผลิตขึ้นมาได้” โดยแสงเลเซอร์มีคุณสมบัติพิเศษที่ทำให้แสงเลเซอร์แตกต่างจากแสงทั่วๆไป ดังนี้
1. เป็นแสงสีเดียว (monochromaticity) แสงเลเซอร์มีความยาวคลื่นเพียงค่าเดียว แสงกำเนิดแสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น หลอดไฟฟ้า และ ดวงอาทิตย์จะเป็นแสงสีขาว ถ้าให้แสงสีขาวนี้ผ่านปริซึม จะเห็นแถบสีต่างๆเรียงกันอย่างต่อเนื่องจากสีม่วงถึงสีแดง เรียกว่า แถบสเปกตรัมของแสงเลเซอร์ เช่น เลเซอร์ฮีเลียม- นีออน เมื่อให้แสงสีแดงของเลเซอร์ฮีเลียม-นีออนผ่านปริซึม จะไม่มีการแยกเป็นหลายเส้นแต่ยังคงมีเพียง 1 เส้นที่มีความยาวคลื่น 632.8 นาโนเมตร
2. มีความพร้อมเพรียง (coherence) หลอดไฟฟ้าที่เปล่งแสงประกอบด้วยอะตอมที่เล็กจำนวนมาก โดยแต่ละอะตอมจะทำหน้าที่เป็นต้นกำเนิดแสง ดังนั้นแต่ละอะตอมก็ปล่อยแสงออกมาอย่างอิสระซึ่งกันและกัน แสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟจึงมีเฟส และความยาวคลื่นต่างๆกัน ยิ่งกว่านั้นแต่ละคลื่นที่ถูกปล่อยออกมามีทิศทางไม่แน่นอน หรือเป็น random แสงจากแหล่งต้นกำเนิดแสงธรรมดาโดยทั่วไปจะเรียกว่า แสงอินโคฮีเรนต์ (incoherence light)ต้นกำเนิดของแสงเลเซอร์นอกจากจะให้แสงสีเดียวทุกๆ คลื่นของแสงเลเซอร์จะมีเฟสเดียวกันหมด ดังนั้นแสงเลเซอร์จึงเรียกว่า แสงโคฮีเรนต์ (coherence light)
3. มีทิศทางที่แน่นอน (directionality) ลำแสงเลเซอร์จะขนานกันไปตลอดระยะทางไกลๆไม่มีการบานปลายออก ดังนั้นความเข้มของแสงเลเซอร์จะลดลงน้อยมากในระยะทางไกลๆ
4. มีความเข้ม (Intensity หรือ Brightness) สูงมากแสงเลเซอร์มีลักษณะโดดเด่นไม่ซ้ำแหล่งกำเนิดแสงชนิดอื่นในเชิงความเข้มสูง และเมื่อลำแสงตกกระทบวัตถุ ก็เกิดความระยิบระยับของลำแสงขึ้น(Laser Speackle) โดยเฉพาะเมื่อวัตถุนั้นมีความหยาบหรือแม้แต่ในบรรยากาศที่มีฝุ่นละอองหรือควันซึ่งเป็นอนุภาคแขวนลอยอยู่อย่างrandom ทั้งนี้เนื่องจากแสงเลเซอร์เกิดการสะท้อนแบบไม่มีทิศทางกับอนุภาค หรือผิวของวัตถุ และเกิดการแทรกสอดของลำแสง ทำให้เกิดความระยิบระยับขึ้นจึงเป็นมิติของการมองเห็นโดยใช้ Laser displays แสงเลเซอร์กำลังต่ำๆ เช่น เลเซอร์ฮีเลียม-นีออน ขนาด 1 mW ก็มีความเข้มสูงกว่าแสงพระอาทิตย์ ฉะนั้นถ้าฉายเข้าตามนุษย์โดยตรงแล้ว จะเป็นอันตรายต่อนัยน์ตาถึงตาบอดได้
เนื้อหาจาก
Gould, R. Gordon (1959). "The LASER, Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation". in Franken, P.A. and Sands, R.H. (Eds.). The Ann Arbor Conference on Optical Pumping, the University of Michigan,
นพพร รัตนช่วง.ม.ป.ป.คู่มือปฏิบัติการฟิสิกส์ยุคใหม่ (01420222). คณะศิปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน,นครปฐม.(อัดสำเนา).
http://www.rmutphysics.com/charud/oldnews/181/Laser-Introduction.htm
http://www.sc.mahidol.ac.th/scpy/Optics/basic_laser2.htm
ภาพจาก
http://www.beamq.com/
คำสำคัญ
laser,แสง
ประเภท
Text
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ธัชชัย ตระกูลเลิศยศ
วิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1, ม.2, ม.3, ม.4, ม.5, ม.6
กลุ่มเป้าหมาย
ครู, นักเรียน, บุคคลทั่วไป
-
4827 LASER Part I : แสง LASER คืออะไร , มีคุณสมบัติอย่างไร /article-physics/item/4827-laser-part-i-laserเพิ่มในรายการโปรด
คุณอาจจะสนใจ
Hits (26999)
ให้คะแนน
แสงแดด คือ อนุภาคโฟตอนที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนกลางดวงอาทิตย์ ...
Hits (29393)
ให้คะแนน
แสงแดด VS ผิวหนัง VS สารกันแดด (Part I) อย่างที่รู้กันว่าประเทศไทยนับเป็นหนึ่งในประเทศเขตร้อน ...
Hits (30256)
ให้คะแนน
แสงแดด VS ผิวหนัง VS สารกันแดด (Part II) สีผิวหนังขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ ...