อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ (Free radical and Antioxidant)
สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไรแน่??
ในยุคปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์สำหรับอุปโภค บริหารโภคหลายชนิด หลายชนิด ได้นำคำว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ , มีส่วนช่วยในการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระ และอื่นๆ มาเป็นจุดขายของผลิตภัณฑ์ หลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น นม อาหารเสริม น้ำผลไม้ เป็นต้น จนทำให้เป็นที่ทราบกันของคนส่วนใหญ่ว่าสารต้านอนุมูลอิสระนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่บางคนแม้จะรู้ว่าดี แต่อาจยังจะไม่ทราบว่าเหตุใดถึงดี หรือตกลงแล้วสารต้านอนุมูลอิสระมีประโยชน์อะไรกันแน่ บทความนี้จะขอนำประเด็นนี้มาอธิบายให้ทุกท่านได้ทราบกัน
อนุมูลอิสระ คืออะไร?
อนุมูลอิสระ เป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกันและเซลล์ต่างๆ ทำให้เกิดการเสื่อมถอยของร่างกาย ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปแบบของ ริ้วรอย แก่ก่อนวัย และโรคความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ที่หนักสุด คือ การก่อตัวเป็นเนื้อร้าย หรือ เซลล์มะเร็งนั้นเอง
ร่างกายเรามีสารอนุมูลอิสระมาตั้งแต่เกิด แต่ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ร่างกายเรายังสามารถกำจัดตัวอนุมูลอิสระได้ดี แต่ที่เราต้องใส่ใจมากขึ้นเริ่มจากวัยทำงาน ถ้าอายุมากขึ้นหรือร่างกายอ่อนแอ มีความเครียด ภูมิคุ้มกันจะไม่สามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระได้ อนุมูลอิสระจะโจมตีเยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ
อนุมูลอิสระมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ในกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร ร่างกายจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วย ในกระบวนการนี้ทำให้ได้ออกซิเจนที่มีประจุลบ ซึ่งก็คือ อนุมูลอิสระ สารตัวนี้นอกจากจะรวมตัวกับไขมันไม่ดีแล้ว ยังสามารถรวมตัวกับสารบางชนิดในร่างกายเรา แล้วก่อให้เกิดเป็นสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อ หรืออาจไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ปกติแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
สาเหตุ ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นในร่างกาย
- ร่างกายขาดวิตามิน และเกลือแร่บางชนิด
- รังสียูวี จะเป็นตัวทำให้เกิดสารอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
- มลพิษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ควันรถ ควันบุหรี่ สารเคมีปนเปื้อน ยาฆ่าแมลง
- การรับประทานอาหารที่ผ่านการทอดด้วยอุณหภูมิสูง อาหารปิ้ง ย่าง และสารปรุ่งแต่งอาหาร
- การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีต่างๆ
- ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย
สารต้านอนุมูลอิสระคืออะไร
ในทางเคมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือ สารประกอบที่สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่น กระบวนการออกซิเดชั่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น กระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้เหล็กกลายเป็นสนิม ทำให้แอปเปิลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือทำให้น้ำมันพืชเหม็นหืน หรือกระบวนการออกซิเดชั่นที่เกิดในร่างกาย เช่น การย่อยสลายโปรตีนและไขมันจากอาหารที่กินเข้าไป มลพิษทางอากาศ การหายใจ ควันบุหรี่ รังสียูวี ล้วนทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นในร่างกายของเราซึ่งสร้างความเสียหายต่อร่างกายได้ ในความเป็นจริงไม่มีสารประกอบสารใดสารหนึ่งสามารถป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นได้ทั้งหมด แต่ละกลไกอาจต้องใช้สารต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในการหยุดกระบวนการออกซิเดชั่น ในอีกทางหนึ่ง กระบวนการออกซิเดชั่นเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เราใช้ออกซิเจนจากอากาศที่หายใจเข้าไปไปเผาผลาญอาหารที่ร่างกายได้รับให้เป็นพลังงานสำหรับการทำงานของเซลล์ต่างๆ แต่ก็ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเป็นผลพลอยได้ อนุมูลอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่สำคัญในร่างกาย เช่น ไขมัน โปรตีน ดีเอ็นเอ ทำให้เกิดความเสียหายต่อโมเลกุลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เมื่ออนุมูลอิสระทำปฏิกิริยากับแอลดีแอล (LDL : low-density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลตัวเลวทำให้เกิดออกซิไดซ์แอลดีแอล (oxidized LDL) ซึ่งมีหลักฐานยืนยันว่า ออกซิไดซ์แอลดีแอลเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดและเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจ
อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายเนื่องจากมีมูลเหตุจากออกซิเจน จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า reactive oxygen species (ROS) อนุมูลอิสระที่สำคัญ ได้แก่
- ซูเปอร์ออกไซด์ แอนไอออน (superoxide anion) O2-l
- ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide); H2O2
- ไฮดรอกซิลแรดดิเคิล (hydroxyl radical); lOH
บทบาทของสารต้านอนุมูลอิสระ
ทำไมการที่สารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันหรือกำจัดอนุมูลอิสระได้จึงมีความสำคัญ มีงานวิจัยมากมายบ่งชี้ว่า สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลายโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง (เช่น อัลไซเมอร์) เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตราย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระเร็วหรือมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดทัน อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
สารต้านอนุมูลอิสระลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ ๒ ทาง คือ
๑. ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย
๒. ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
แม้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระไม่สามารถแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว แต่สามารถชะลอให้ความเสียหาย เกิดช้าลงได้โดยเฉพาะโรคเรื้อรังซึ่งเป็นผลลัพธ์สะสมที่เกิดจากเซลล์และเนื้อเยื่อในร่างกายถูกทำอันตรายและเสียหายเป็นปีๆ (โดยมากเป็นเวลาหลายสิบปี) เห็นได้จากการรวบรวมความชุกของโรคว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นมากในผู้ใหญ่วัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ ดังนั้นบุคคลทุกเพศทุกวัยจึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระให้พอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในร่างกายระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระ และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น
เนื้อหาจาก
http://www.biotek.com/resources/articles/reactive-oxygen-species.html
https://www.doctor.or.th/article/detail/1346
http://www.healthlabclinic.com/
http://www.medicthai.com/
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0188/
ภาพจาก
https://www.consumerhealthdigest.com/ingredients/antioxidants.html
https://manishakoirala.me/tag/antioxidant/
http://www.biotek.com/resources/articles/reactive-oxygen-species.html
-
6903 อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ (Free radical and Antioxidant) /article-biology/item/6903-2017-05-14-06-44-33เพิ่มในรายการโปรด