เคมีกับงานพิสูจน์หลักฐาน
หากกล่าวถึงวิทยาการด้านนิติวิทยาศาสตร์ (forensic science) หลายท่านคงนึกถึงภาพของแพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมนิติแพทย์และนักนิติวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนช่วยในการคลี่คลายคดีของตำรวจให้สำร็จล่วงไปด้วยดี แต่คงมีผู้อ่านเพียงไม่กี่คนที่ทราบรายละเอียดชิงลึกของการทำงานทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่าแค่การชันสูตรศพ แต่ยังรวมถึงการทำงานทั่วไป เช่น การตรวจสถานที่เกิดเหตุ การตรวจลายนิ้วมือ การตรวจเอกสาร การตรวจอาวุธปืน การตรวจทางเคมี การตรวจทางฟิสิกส์ และการตรวจทางนิติเวช
เมื่อกล่าวถึง "นักพิสูจน์หลักฐาน" อาชีพนี้คงเป็นที่รู้จักไม่แพร่หลายมากนักโดยสมาคมนักพิสูจน์หลักฐานแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (California Association of Criminalities) ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของนักพิสูจน์หลักฐานไว้ดังนี้ "Criminalities is that profession and scientific discipline to the recognition, identification and evaluation of physical evidence by application of the natural sciences to law-science matter" ดังนั้น จะเห็นได้ว่านักพิสูจน์หลักฐานต้องทำงานโดยอาศัยความรู้ ทฤษฎี ตลอดจนทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อพิสูจน์การกระทำผิดหรือช่วยให้ผู้บริสุทธิ์หลุดพันจากข้อกล่าวหา ซึ่งหนึ่งต้านของการทำงานที่สำคัญของนักพิสูจน์หลักฐาน คือ การตรวจทางเคมีเพื่อใช้ในศาล (Forensic chemistry) อันเป็นการวิเคราะห์ที่อาศัยความรู้ทางเคมีและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจพิสูจน์องค์ประกอบทางเคมีของสารต่าง ๆ รวมถึงการหาปริมาณของสารเคมีโดยการเก็บพยานวัตถุจากที่เกิดเหตุ (Questioned samples) ที่จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์คุณลักษณะโดยทั่วไป และคุณลักษณะเฉพาะของพยานวัตถุ เพื่อชี้เฉพาะ และเปรียบเทียบกับวัตถุตัวอย่างที่ทราบแหล่งที่มา (Known samples) โดยดำเนินการตามแผนผัง ดังนี้
จากการทำงานของนักพิสูจน์หลักฐานตามแผนผังข้างต้น สามารถสรุปได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เมื่อพยานวัตถุเช่น ผงสีขาว ถูกส่งมาที่ห้องปฏิบัติการเพื่อให้ตรวจวิเคราะห์และระบุว่าสารดังกล่าวคืออะไร ในขั้นแรกจะต้องพยายามวิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์และสมบัติทางเคมีของสารตัวอย่างหากการวิเคราะห์ขั้นต้นยังไม่สามารถชี้ซัดได้ แต่สามารถจำกัดข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับสารตัวอย่างได้ เช่น หากสงสัยว่าสารตัวอย่างมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นเมทแอมเฟตามีน (methamphetamine) หรือสารอนุพันธ์ของแอมเฟตามีน(amphetamine) ซึ่งเป็นสารเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษปี พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ที่มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่นมีรสขมเล็กน้อย นักพิสูจน์หลักฐานจะทำการตรวจทางเคมีโดยให้ทำปฏิกิริยากับโซเดียมไนโตรปรัสไชด์ (Sodium nitroprusside) ในสภาวะที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium bicarbonate) ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีน้ำเงินเข้ม อย่างไรก็ตามสารเคมีที่สามารถทำปฏิกิริยาแล้วให้ผลการทดสอบดังกล่าวสามารถมีด้หลายชนิด ดังนั้นหากการทดสอบให้ผลการทตสอบที่ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีน้ำเงิน คือมีความเป็นไปได้ที่สารต้องสงสัยจะเป็น เมทแอมเฟตามีน ขั้นตอนต่อไปจะทำการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคและเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงซึ่งมีความซับซ้อนและจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เพื่อความแม่นยำในการระบุชนิดของพยานวัตถุ โดยเครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงที่ใช้ในทางนิติวิทยาศาสตร์มีหลายชนิด เช่น
เครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ (Fourier Transform Infrared Spectrometer : FTIR) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ใช้สำหรับสารที่สามารถดูดกลืนรังสีที่อยู่ในช่วงอินฟราเรด โดยสารตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์สามารถเป็นได้ทั้งสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือ แก็ส เทคนิคนี้นิยมใช้วิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ เนื่องจากให้ผลการวิเคราะห์ที่รวดเร็ว มีความเที่ยงตรงและแม่นยำ อีกทั้งมีสภาพไว (sensitivity) สูงด้วย
ภาพ เครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์
ที่มา http://www.inct.sat.psu.ac.th/index.php/2010-07-21-06-18-57
เครื่องอะตอมมิกแอพซอปขันสเปกโตรมิเตอร์ (Atomic Absorption Spectrometer : AAS) เป็นเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ธาตุ นิยมใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยเป็นเทคนิคหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีความเที่ยงตรงแม่นยำ และมีสภาพไว (sensitivity) สูง อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก
ภาพ เครื่องอะตอมมิกแอพซอปชันสเปกโตรมิเตอร์
ที่มา http://www.inct.sat.psu.ac.th/index.php/2010-07-21-06-18-57
เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปกโดรมิเตอร์ (Gas Chromatography - Mass Spectrometer : GC - MS) เป็นเครื่องมือที่แยกสารที่สามารถกลายเป็นไอได้โดยกระบวนการแยกจะเกิดขึ้นเนื่องจากสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านในคอลัมน์ได้ดีต่างกันและในส่วนของการตรวจวัดจะใช้ mass spectrometerซึ่งเป็นเครื่องมือที่วัดอัตราส่วนระหว่างมวลต่อประจุของอนุภาค ดังนั้นการตรวจวัดสามารถทำการวิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ภาพ เครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟี-แมสสเปกโตรมิเตอร์
ที่มา http://www.ubu.ac.th/web/content.php?content=4800002000
เครื่องโครมาโตกราฟฟีของเหลวสมรรถนะสูง (High Performance Liquid Chromatography : HPLC) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแยกสารละลายที่อยู่ในสถานะของเหลวโดยกระบวนการแยกจะเกิดขึ้นเนื่องจากสารแต่ละชนิดมีความสามารถในการเคลื่อนที่ผ่านในคอลัมน์ได้ดีต่างกันเครื่องมือนี้สามารถทำการวิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ
ภาพ เครื่องใครมาตกราฟพีของเหลวสมรรถนะสูง
ที่มา https://ag2.kku.ac.th/einstru/Instruments.cfm?code=0
เครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (UV-VIS spectrophotometer) เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ที่ใช้สำหรับสารที่สามารถดูดกลืนแสงหรือรังสีที่อยู่ในช่วงอัลตราไวโอเลตและวิสิเบิล โดยสารตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์อาจเป็นสารที่มีหรือไม่มีสีก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ สารประกอบอนินทรีย์ หรือสารประกอบเชิงซ้อน เทคนิคนี้นิยมใช้วิเคราะห์ในเชิงปริมาณ เนื่องจากมีความเที่ยงตรงและแม่นยำอีกทั้งมีสภาพไวสูง
ภาพ เครื่องสเปกโตรโฟใตมิเตอร์
ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/color-light/page4_5.html
เครื่องนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์ (Nuclear Magnetic Resonance Spectrometer : NMR) เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับพลังงานที่แตกต่างกันของนิวเคลียสภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็ก โดยสารตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์อาจเป็นสารที่อยู่ในสถานะของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สก็ได้ แต่ที่นิยมมากคือการวิเคราะห์สารตัวอย่างที่อยู่ในรูปของสารละลาย ซึ่งเทคนิคนี้มีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับสูตรโครงสร้างของสารทั้งที่เป็นสารประกอบอินทรีย์และสารประกอบอนินทรีย์ จึงนิยมใช้ในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ปัจจุบันหลักการของเทคนิคนี้ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ประยุกติช้ทางการแพทย์อย่างกว้างขวาง เช่น การตรวจโดยใช้เทคนิค Magnetic Resonance Imaging หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า เทคนิค MRI
ภาพ เครื่องนิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์
ที่มา http://science.buu.ac.th/part/nmr/index.php
เครื่องแคปิลลารีอิเล็กโตรโฟรีซีส (Capillary Electrophoresis : CE) เป็นเทคนิคสำหรับการแยกและวิเคราะห์สารที่มีประจุไฟฟ้า โดยสารตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์จะเป็นสารที่อยู่ในรูปสารละลาย วิธีการนี้สามารถใช้วิเคราะห์ได้ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ภาพ เครื่องแคปีลลารีอิเล็กโตรโฟรีซีส
ที่มา http://stdb.most.go.thvequipment_detail.aspx?id-98
จากตัวอย่างการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ต่าง ๆ ของนักนิติวิทยาศาสตร์ข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีประโยชน์และจำเป็นสำหรับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ในคดีความ จึงอาจกล่าวได้ว่าการทำงานของนักพิสูจน์หลักฐานเปรียบได้กับผู้ที่ปิดทองหลังพระที่ช่วยให้การคลี่คลายคดีและการสืบหาผู้กระทำผิด ประสบความสำเร็จ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานกรม
Dan M. Sullivan. Forensic Chemistry. สืบคั้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก http:/www.chemistryexplained.com/Fe-Ge/Forensic-Chemistry.html.
David Collins. Forensic Chemistry. สืบคั้นเมื่อ 30 กันยายน 2560, จาก http:/www.remondini.net/newsite/?q=systerm/fles/forensic%20chemistry.pdf.
พัชรา สินลอยมา. (2551. 7 มิถุนายน). เอกสารประกอบการสอนวิซาหลักการทางนิติวิทยาศาสตร์ (ครั้งที่ 1 หัวข้อ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์.สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2560, จาก http://www.ajarpat.com/data/document_study_Pat.pdf.
แม้น อมรสิทธิ์ และคณะ. (2552). หลักการและเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเครื่องมือ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ชวนพิมพ์ 50 จำกัด.
-
12483 เคมีกับงานพิสูจน์หลักฐาน /article-chemistry/item/12483-2021-10-19-04-37-09เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง