โรคลมแดด (Heat Stroke) อาการที่มาพร้อมกับอากาศร้อน
โรคลมแดด (Heat Stroke) อาการที่มาพร้อมกับอากาศร้อน
อาการไข้หรือตัวร้อนเป็นอาการที่อุณหภูมิภายในร่างกายเพิ่มสูงกว่าปกติ หากเป็นอุณหภูมิที่วัดทางปากต้องสูงเกิน 37.2 องศาเซลเซียส เวลาที่มีไข้ไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด อาจร้อนที่ศีรษะ ลำตัว และแขนขา แต่ฝ่ามือฝ่าเท้าเย็น ในสังคมไทยมีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณว่า การที่ศีรษะร้อนแต่เย็นที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หมายถึงว่า ผู้ป่วยมีอาการหนักเราเรียกว่ามือเย็นเท้าเย็น ถ้าในเด็กๆ อาจจะมีอาการชักเกร็งได้ ซึ่งในการแพทย์ถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด
ภาพ ภาพอาการไข้
ที่มา https://pixabay.com /OpenClipart-Vectors
อาการไข้ หรือ อาการตัวร้อน (Fever หรือ Pyrexia) เป็นอาการไม่ใช่โรค โดยเป็นอาการที่อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองเมื่อมีการติดเชื้อโรคหรือมีการเจ็บป่วยจากสาเหตุบางอย่าง โดยไข้จะเกิดอยู่เพียงชั่วคราวเฉพาะในช่วงที่เกิดโรค หรือมีการเจ็บป่วย เวลาที่มีไข้ไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด อาจจะร้อนที่ศีรษะ ลำตัว และแขนขา แต่ฝ่ามือฝ่าเท้าเย็นก็ได้
แต่ในสภาพอากาศที่ร้อนอุณหภูมิมากกว่า 37 องศาเซลเซียสเกือบทุกวันนี้อาจทำให้เราเกิดอาการตัวร้อนขึ้นมาก็ได้ อาการตัวร้อน ที่เราเรียกว่า โรคลมแดด
โรคลมแดด (Heat Stroke) ในประเทศไทยมีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้เป็นเพราะภาวะโลกร้อน (Global Thermal Warming) ทำให้อากาศร้อนจัดขึ้น ทำให้ผู้คนเกิดการเจ็บป่วยได้หลายโรค และโรคหนึ่งที่พบได้ในช่วงหน้าร้อนคือ “โรคลมแดด” หรือทางการแพทย์เรียกว่า “ฮีทสโตรค” (Heat Stroke) ปี 2558 ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดด 56 ราย 40% เสียชีวิตในบ้านพัก เพราะอากาศร้อนและไม่ถ่ายเท
สาเหตุของโรคลมแดด เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนที่เกิดขึ้น จนเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายจะมีระบบการปรับสมดุลความร้อน แต่เมื่อความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในการกำจัดความร้อนออกจากร่างกายซึ่งเป็นหน้าที่ของต่อมใต้สมองไฮโปทาลามัสส่วนหน้า หากสมดุลนี้เสีย จะทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น ทั้งนี้โรคลมแดดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1) โรคลมแดดจาการออกกำลังกาย (Exertional Heat Stroke : EHS) การออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไปในหน้าร้อนทำให้เกิดอาการนี้ได้ และเห็นได้ชัดเจนคือจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ
2) โรคลมแดดทั่วไป (Non-exertional Heat Stroke: NEHS) มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง ผู้ที่ต้องรับประทานยา เบาหวาน ความดัน มีโอกาสเป็นโรคได้สูง อาการจะไม่ค่อยเห็นเพราะไม่มีเหงื่อออก แต่จะมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ อาจจะถึง 41 องศาเซลเซียส ส่งผลให้หัวใจล้มเหลวได้
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายเมื่ออากาศร้อนขึ้นเป็นไปตามกฎของ เทอร์โมไดนามิกส์ (Laws of Thermodynamics) โดยทั่วไปแล้วเราจะรู้กันโดยทั่วไปว่ากฎของเทอร์โมไดนามิกส์นั้นมีอยู่ 3 ข้อ ซึ่งความสำคัญของกฎแต่ละข้อมีดังต่อไปนี้ แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกฎข้อที่ศูนย์ของเทอร์โมไดนามิกส์ก่อน เพราะว่าแนวคิดนี้จริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกฎข้อที่ 1
กฎข้อที่ ศูนย์กล่าวว่า “หากเรามีระบบ (หรือวัตถุ) อยู่ 2 ระบบ เช่น ระบบ ก, ข แล้วระบบนี้สัมผัสกันอยู่และสามารถถ่ายเทความร้อนไปมาระหว่างกันได้ ถ้าหากว่า ระบบ ก กับ ระบบ ข อยู่ในสภาวะสมดุลกันทางความร้อน (มีความร้อนเท่ากัน) นั่นเอง” นั้นหมายความว่า หากให้อากาศเป็นระบบๆหนึ่งมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก็จะถ่ายเทความร้อนให้กับร่างกายเราที่สัมผัสกับอากาศ ร่างกายเราก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนกว่าจะเท่ากับอากาศนั้น จึงจะสมดุลความร้อน และเมื่อสมดุลความร้อนก็จะสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายเราซะแล้ว คราวนี้อาการของโรคลมแดดก็จะเกิดขึ้นมานั่นเอง
วิธีการลดอุณหภูมิมีหลายวิธี เช่น ดื่มน้ำเย็น การดื่มน้ำเย็น สูงสุดครั้งละ 2-3 ลิตร เป็นแนวทางที่ดีในการลดอุณหภูมิภายในร่างกายลงอย่างรวดเร็วและปลอดภัย การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอสามารถป้องกันภาวะขาดน้ำได้
การดื่มน้ำหวานหรือทานไอศกรีมไม่ให้ผลดีเท่าน้ำบริสุทธิ์ เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ไม่เพียงพอและอาจทำให้เกิดการสูญเสียน้ำมากยิ่งขึ้น แต่ในการกินน้ำแข็งป่น อาจเป็นแนวทางที่ให้ผลดีในการทำให้ร่างกายเย็นลงอย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้ น้ำแข็งป่นยังช่วยทำให้ร่างกายไม่ขาดน้ำอีกด้วย
การอาบน้ำเย็นหรือแช่ตัวในน้ำแข็ง แพทย์ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การระบายความร้อนให้กับผิวหนังเป็นวิธีการที่ให้ผลดีที่สุดในการลดอุณหภูมิของร่างกายลง โดยเฉพาะเมื่อบุคคลนั้นเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลมแดด การอาบน้ำเย็นหรือแช่ตัวลงในน้ำแข็งอาจเป็นแนวทางที่ได้ผลในการระบายความร้อนให้กับผิวหนังอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง ซึ่งร่างกายจะไม่สามารถขับเหงื่อได้เท่าที่ควร นอกจากนี้การปล่อยให้น้ำเย็นๆไหลผ่านหนังศีรษะ สามารถทำให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายเย็นตัวลงได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ที่หลอดเลือดมารวมตัวกัน
การรับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงจะทำให้มีการกักเก็บความร้อนไว้ในร่างกายมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของระดับไขมันที่เก็บอยู่ในเซลล์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าไขมันนั้นมีหน้าที่ในการเก็บความร้อนไว้ในร่างกายและทำให้ร่างกายอบอุ่น แต่ไม่ดีในหน้าร้อนนี้ เพราะอาจจะทำให้เรารู้สึกว่าเราร้อนกว่าปกติและเป็นโรคลมแดดได้ง่ายกว่าคนปกติ
ดูแลสุขภาพตามหลักฟิสิกส์ตามกฏเทอร์โมไดนามิกส์จะช่วยให้เราไม่เป็นโรคลมแดดในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ได้อย่างดีเลยทีเดียว
แหล่งที่มา
Chris M. Matsko, MD. วิธีลดอุณหภูมิในร่างกาย . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562. จาก https://th.wikihow.com/ลดอุณหภูมิภายในร่างกาย
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ. โรคลมแดด (Heat Stroke) วายร้ายในหน้าร้อน .สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562. จาก https://ww2.bangkokhospital.com/huahin/index.php/th/diseases-treatment/heat-stroke
-
10127 โรคลมแดด (Heat Stroke) อาการที่มาพร้อมกับอากาศร้อน /article-physics/item/10127-2019-04-19-07-30-29เพิ่มในรายการโปรด