ว่าด้วยเรื่องของ “แสงสีฟ้า” ...รู้จักดีแค่ไหน?
ว่าด้วยเรื่องของ “แสงสีฟ้า” … รู้จักดีแค่ไหน?
หลายคนคงเคยได้ยินข่าวเตือนต่างๆเกี่ยวกับ “แสงสีฟ้า” จากอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายกับจอประสาทตาได้ ในปัจจุบันนี้ก็มีตัวช่วยมากมายทั้งฟิล์มกลองแสง ติดฟิล์มกลองรังศี หรือกระทั่งคอนแทคเลนส์ป้องกันแสงสีฟ้า
แต่เคยสงสัยไหมว่า แล้วไอ้ “แสงสีฟ้า” ที่พูดถึงกันอยู่ มันคืออะไรกันแน่??
ในบทความนี้ ก็จะขอกล่าวถึงส่วนนี้นั้นเอง พูดง่ายๆก็คือ มาทำความรู้จักเจ้า “แสงสีฟ้า” นี่กันเถอะ
แสงสีฟ้า หรือ BLUE Light เป็นคลื่นแม่เหล็กชนิดหนึ่ง อย่างที่เรารู้กันดีว่าในแสงได้มีการแบ่งช่องความยาวคลื่นแม่เหล็กออกเป็นช่วงๆ เช่น ช่วง รังสีคอสมิก , รังสีแกมมา , รังสีเอกซเรย์ , รังสีอัลตราไวโอเลต , ช่วงความยาวคลื่นที่ตามองเห็น , รังสีอินฟราเรด , เรดาห์ , ช่วงคลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น โดยแต่ละช่วงคลื่นก็จะมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน
โดยเจ้า “แสงสีฟ้า” นี้ ก็อยู่ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ (visible light) โดยแสงชนิดนี้อยู่ในช่วงความยาวคลื่นประมาณ 400 – 700 นาโนเมตร โดยเมื่อผ่านสเปคตรัมก็จะถูกจำแนกออกมาเป็นสี ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ที่เราเห็นกันนี่เอง โดยช่วงของ “แสงสีฟ้า” จะอยู่ในช่วง 400 – 500 นาโนเมตร และโดยปรกติแล้วหากเราเปรียบเทียบพลังงานในหน่วย อิเล็กตรอนโวลต์ (eV) จะพบว่าในช่วงคลื่นความยาวสั้น มีปริมาณพลังงานต่อ 1 หน่วยโฟตอน มากกว่าช่วงความยาวคลื่นที่ยาวกว่า จึงทำให้มีการจำแนกว่าแสงที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 400 – 500 นาโนเมตร เป็นแสงชนิด HEV (High Energy Visible light) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แสงสีฟ้าเป็นแสงที่มีพลังงานสูง เมื่อเปรียบเทียบกับแสงสีอื่นๆในช่วง visible light แต่กระนั้นในแสงสีฟ้าเองก็ยังถูกจำแนกตามช่วงได้แก่ blue-turquoise light และ blue-violet light
แล้วแสงสีฟ้าตัวไหนกันที่เราต้องระวัง???
blue-turquoise light : คือแสงสีฟ้าที่อยู่ในช่วง 465-495 นาโนเมตร แสงตัวนี้มีคุณสมบัติเป็นนาฬิกาปลุกในร่างกายของมนุษย์ โดยทำให้เราตื่นตัวในตอนเช้า หรือมีการตื่นตัวในช่วงกลางวัน เช่น ทำไมเราถึงตื่นในเวลาใกล้เคียงเดิมทุกๆวันในตอนเช้า นั้นก็เพราะร่างกายของเรามีปฏิกิริยาต่อแสงสีฟ้าจากดวงอาทิตย์ในช่วงความยาวคลื่นนี้นี่เอง
blue-violet light : เป็นแสงสีฟ้าที่อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 415 – 455 นาโนเมตร ในแสงกลุ่มนี้มีงานวิจัยออกมาว่ามีพลังงานสูง และมีความสามารถในการทะลุทะลวงจอประสาทตา จึงส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อมได้ (Macular Degeneration) แม้จะไม่ในทันที แต่หากสะสมเป็นเวลานาน จอประสาทตาก็จะเสื่อมค่อยเป็นค่อยไป
อันที่จริงแล้ว แหล่งกำเนิดแสงในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะหลอดไฟ ดวงอาทิตย์ หรือจาก smart phone ไม่ได้มีความเข้มมากเพียงพอที่จะทำลายสายตาเราในทันที แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น smart phone หรือ แท็บเล็ต ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ในยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว ทำให้ปริมาณการสะสมผลกระทบของคลื่นแสงสีฟ้าชนิด blue-violet light ต่อจอประสาทตามีมากขึ้น
โดยเมื่อทำการทดสอบปริมาณช่วงความยาวคลื่นที่ถูกปลดปล่อยออกมาจาก smart phone และ แท็บเล็ต พบว่าช่วง 400 – 500 นาโนเมตรถูกปล่อยออกมาในปริมาณมากที่สุด นั้นจึงทำให้เกิดการระวังเกี่ยวกับอันตรายจากแสงตัวนี้มากขึ้น นำไปสู่การผลิตฟิล์มตัดแสง หรืออุปกรณ์เสริมต่างๆที่เราเห็นกันในปัจจุบันนั่นเอง
เนื้อหาจาก
http://www.bluelightexposed.com/#where-is-the-increased-exposure-to-blue-light-coming-from
http://www.eyekit.co/information/eyecare/smartphone-tablet-computer-worried-about-led-what-damage-blue-light-causes.html
http://droidsans.com/focus-blue-light-cut-film
ภาพจาก
http://www.eyekit.co/information/eyecare/smartphone-tablet-computer-worried-about-led-what-damage-blue-light-causes.html
http://droidsans.com/focus-blue-light-cut-film
-
4835 ว่าด้วยเรื่องของ “แสงสีฟ้า” ...รู้จักดีแค่ไหน? /article-physics/item/4835-2016-09-06-11-50-00เพิ่มในรายการโปรด