พลาสติกใช้ง่าย แต่เหลือร้าย
เมื่อพูดถึงพลาสติก คุณคิดถึงอะไรบ้าง ?
ในปัจจุบัน สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ บรรจุภัณฑ์ ถุงใส่ของ ของเล่น ของใช้ หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์หลายชนิดก็ล้วนทำจากพลาสติก ดังภาพ 1 จนอาจกล่าวได้ว่า พลาสติกเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ไปแล้วก็ว่าได้
ภาพ 1 บรรจุภัณฑ์และของเล่นพลาสติก
ที่มา http://www.ph-house.net/blog/DesignKnow/blog_What_is_PET.html
เส้นทางพลาสติกสู่การใช้อย่างหลากหลาย
หากเราย้อนกลับไปศึกษาประวัติการสังเคราะห์พลาสติกชนิดแรกของโลกจะพบว่า พลาสติกที่เราคุ้นเคยและใช้กันอยู่ในปัจจุบันถูกสังเคราะห์มานานกว่า 149 ปีแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่า เราเริ่มรู้จักพลาสติกตั้งแต่ พ.ศ. 2412 โดย นายจอห์น เวสลีย์ ไฮเอตต์ (John Wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน โดยมีจุดเริ่มตันที่บริษัทผลิตลูกบิลเลียดในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการหาวัสดุทดแทนงาช้างซึ่งมีราคาแพงเพื่อใช้ในการทำลูกบิลเลียด ดังตัวอย่างในภาพ 2 และพบว่าวัสดุที่สามารถใช้แทนงาช้างได้คือ เซลลูโลส จึงกล่าวได้ว่าเซลลูโลส เป็นพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ชนิดแรกของโลก
ภาพ 2 ลูกบิลเลียด
หลังจากนั้น พลาสติกได้ถูกปรับปรุงพัฒนโครงสร้างและสมบัติ และนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย การที่พลาสติกเป็นวัสดุที่ผลิตได้จากแหล่งวัตถุดิบที่มีอยู่มาก และมีสมบัติที่สามารถออกแบบและขึ้นรูปได้อย่างหลากหลาย มีน้ำหนักเบาและราคาถูก ทำให้บรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์จากพลาสติกได้รับความนิยมสูง และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนคือ พลาสติกเป็นส่วนสำคัญในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เพื่อห่อหุ้มสินค้าอุปโภคบริโภคในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งนี้ในยุคที่มนุษย์ต้องทำงานแข่งกับเวลา วิวัฒนาการของบรรจุภัณฑ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่อาหาร อาหารจานด่วน อาหารแช่แข็ง ซึ่งเป็นที่นิยมของประชาชนที่ไม่มีเวลาปรุงอาหาร เพราะเพียงนำบรรจุภัณฑ์ที่มีอาหารเข้าไมโครเวฟ 1-2 นาที ก็สามารถนำออกมารับประทานได้ทันทีส่วนบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ก็ถูกทิ้งไปเป็นขยะพลาสติก ดังตัวอย่างในภาพ 3
ภาพ 3 ขยะพลาสติกปริมาณมหาศาล
ที่มา https://readthectoud.co/masala-plastic/
ปลายทางของขยะพลาสติกอยู่ที่ไหน
นักวิทยาศาสตร์พบว่าในบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก มีขยะพลาสติกอยู่ในปริมาณมาก มีบริเวณกว้างขวางใหญ่โตราวครึ่งหนึ่งของพื้นที่รัฐเท็กซัส หรือราว 1 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศไทย คิดเป็นน้ำหนักรวมประมาณ 300 ล้านตัน ในแต่ละปี จะมีขยะพลาสติกในทะเลเพิ่มขึ้น 8 ล้านตัน สหประชาชาติคาดว่าหากมนุษย์ยังทิ้งขยะกันต่อเนื่องในระดับนี้ทุกปีแล้ว ภายในปี พ.ศ. 2593 ในทะเลจะมีขยะพลาสติกจำนวนมากกว่าปลา ซึ่งจะมีผลต่อการประมง สัตว์น้ำ และการท่องเที่ยว ขยะจึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล นอกจากนั้นในกระแสน้ำของมหาสมุทรยังมีขยะจากบริเวณตอนเหนือของเอเชีย และตอนเหนือของทวีปอเมริกาด้วย
ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาขยะพลาสติกลันโลก และขยะพลาสติกบางส่วนได้เคลื่อนย้ายไปอยู่ในทะเล และกำลังเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชในแหล่งน้ำ ดังภาพ 4
ภาพ 4 ขยะพลาสติกบางส่วนในทะเล
ที่มา http://daily.bangkokbiznews.com/detal/342727
เนื่องจากพลาสติกเป็นสิ่งที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา และไม่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเอง จากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์และความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่ทิ้งขยะพลาสติกลงแหล่งน้ำ สารเคมีจากพลาสติกจึงรั่วไหลไปในแหล่งน้ำได้ ถ้าสัตว์ที่อาศัยในแหล่งน้ำกลืนกินสารเคมีเหล่านี้ แล้วมนุษย์กินสัตว์น้ำ สารพิษจะเคลื่อนย้ายตามโซ่อาหารกลับสู่มนุษย์ได้กรณีตัวอย่าง เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ชาวบ้านคลองนาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา ได้พบวาฬนำร่องครีบสั้นล่อยตัวเข้ามาในคลองด้วยอาการอ่อนแรง และไม่สามารถดำน้ำได้ จึงแจ้งศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง จังหวัดสงขลา เพื่อให้ช่วยรักษา แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตวาฬได้ หลังจากที่วาฬเสียชีวิต แพทย์ได้ผ่าขันสูตรซากวาฬ ดังภาพ 5 และพบความผิดปกติในอวัยวะต่าง เช่น ปอดอักสบ หัวใจขาดเลือด พยาธิในปอด ท่อน้ำดีและลำไส้ อีกทั้งพบขยะพลาสติกในส่วนต้นของกระเพาะอาหารหนักประมาณ 8 กิโลกรัม จำนวน 85 ขึ้น (BBC NEWS ประเทศไทย) ซึ่งเป็นเหตุกรณ์น่าสลดใจที่เกิดจากปัญหาขยะพลาสติก แสดงว่าขยะพลาสติกเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาอื่นอีกมากมายนอกจากจะทำลายสุขภาพและทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำลายชีวิตของสัตว์ป่า มีผลต่อพื้นที่เกษตรกรรม ทำลายแหล่งท่องเที่ยว และเป็นแหล่งเพะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะเชื้อมาเลเรียและเชื้อไข้เลือดออก
ภาพ 5 ทีมแพทย์ได้ผ่าชันสูตรซากวาฬ
ที่มา https://www.bbc.com/thai/thailand-44346034
ถึงเวลาจะหยุดใช้พลาสติกกันหรือยัง
จากปัญหาขยะพลาสติกดังกล่าว คงถึงเวลาที่เราทุกคนต้องตระหนักในภัยขยะพลาสติกล้นโลก และให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกด้านให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้มีการออกกฎหมายควบคุมการกระทำของมนุษย์ที่สร้างความเสียหายให้แก่ธรรมชาติ รวมทั้งสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมให้กับพลโลก ตลอดจนการพยายามปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก (Word Environment Day) และกำหนดให้วันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็นวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ซึ่งในปี พ.ศ. 2561 นี้ ทั้งวันคุ้มครองโลกและวันสิ่งแวดล้อมโลกใช้แนวคิดเดียวกัน คือ การลดปัญหาขยะพลาสติกโดยวันคุ้มครองโลกเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561 ใช้แนวคิด End Plastic Pollution และวันคุ้มครองโลก 5 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ได้มีการประชุมที่อินเดีย ในแนวคิด Beat Plastic Pollution
ภาพ 6 ประเทศที่มีมาตรการห้ามใช้หรือเก็บภาษีถุงพลาสติก
ที่มา http://www.abc.net.au/news/2017-08-28/countries-with-plastic-bag-bans/8850284
ปัจจุบันทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศในโลกที่สามได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขและลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งใช้มาตรการที่หลากหลาย ทั้งห้ามใช้ทุกรูปแบบ ห้ามเพียงบางส่วนหรือเก็บภาษีถุงพลาสติกประเภทที่ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งมีประมาณ 40 ประเทศ เช่น จีน อังกฤษ อิตาลี วันดา มอริเตเนีย โดยในปี พ.ศ. 2559 กาะแนนทักเก็ต หรือ Nantucket ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ ในสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกเป็นแห่งแรก ดังภาพ 6
แนวทางการนำขยะพลาสติกมาใช้ให้เป็นประยชน์ ได้รับการคิดคั้นขึ้นโดยบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศสกอตแลนด์ โดยมีวิศวกรที่รู้จักกันในชื่อ โทบี แมคคาร์ทนีย์ ได้ตั้งธุรกิจสตาร์ทอัที่ใช้ขยะพลาสติกในท้องถิ่นแปรรูปเป็นเม็ดพลาสติกสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างถนน โดยมีราคาย่อมเยาและทนทานกว่านนทั่วไป โทบี แมคคาร์ทนีย์เล่าว่า เขาได้แนวคิดเรื่องนี้หลังจากที่ได้เห็นข่าวเกี่ยวกับคนอินเดียนำพลาสติกมาเผาเพื่ออุดหลุม บ่อตามท้องถนน จากแนวคิดดังกล่าวจึงได้พัฒนากรรมวิธีทางอุตสาหกรรมขึ้นมา โดยปรกติส่วนประกอบของถนนทั่วไป เป็นหิน ทราย หินปูน 90% และอีก 10% คือยางมะตอยจากกรลั่นน้ำมันดิบ โดยยางมะตอยทำหน้าที่ยืดส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน แต่ แมคคาร์ทนีย์ บอกว่า บริษัทของเขาใช้เม็ดพลาสติกที่ทำจากขยะพลาสติกที่ได้จากครัวเรือน ภาคเกษตรกรรม และภาคธุรกิจมาทดแทนยางมะตอย
โครงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดให้มีการรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปมีจิตสำนึกในการลดการใช้พลาสติก โดยให้ส่ง Infographic หัวข้อ หมดมลพิษพลาสติก(End Plastic Pollution) ในวันคุ้มครองโลก (Earth Day 2018) ที่ผ่านมา และมีผู้ให้ความสนใจส่งผลงาน Infographic เข้าร่วมกิจกรรมมากมาย ดังตัวอย่างในภาพ 7 จึงเห็นได้ว่า ความร่วมมือในการลดการใช้พลาสติกของประชาชนสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราสร้างความตระหนักในปัญหาของพลาสติกกันอย่างจริงจังทั่วประเทศ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะให้ความสำคัญเรื่องปัญหาขยะพลาสติกอย่างจริงจัง
ภาพ 7 Infographic หัวข้อ หมดมลพิษพลาสติก( End Plastic Pollution )
ในวันคุ้มครองโลก (Earth Day 2018)
ปัจจุบันประชาชนทุกภาคส่วนกำลังเร่งหาวิธีจัดการและวิธีกำจัดขยะพลาสติกที่มีในปริมาณมหาศาล และมแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แท้จริงแล้วเรายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะพลาสติกได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นผู้เขียนคิดว่าแทนที่จะพยายามหาวิธีกำจัดขยะพลาสติกเราลองเปลี่ยนมุมมองใหม่มาเป็นการลดใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นจะดีกว่า เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะพลาสติกก่อน แล้วจึงหาวิธีกำจัดที่เหมาะสม
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
BBC NEWS ประเทศไทย. ถนนจากขยะพลาสติก. สืบคั่นเมื่อ 8 มิถุนายน 2561. จาก https://www.bbc.com/thaifeatures-39709111.
BEC NEWS ประเทศไทย. เปิดใจที่มสัตวแพทย์ ยื้ชีวิตวาฬนำร่อง กินถุงพลาสติก 85 ชิ้น. สืบคันเมื่อ 8 มิถุนายน 2561. จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-44346034.
BBC NEWS ประทศไทย. มลพิษพลาสติก: รวมภาพปัญหาขยะพลาสติกจากทั่วทุกมุมโลก. สึบคันเมื่อ 9 มิถุนายน 2561. จาก https:/www.bbc.com/thai/International-44266276
Nicholson. Joseph L. & Leighton. George R. (August 1942). Plastics Come of Age. Harper's Magazine. 306.
THAIPUBLICA. โลกจับมือเร่งแก้ขยะพลาสติก (ตอนที่1) : เคนยาใช้กฎหมายแรงสุด - ไต้หวันเดินหน้าสู่ Plastic-free Island. สืบคันเมื่อ 8 มิถุนายน2561, จาก https://thaipublica.org/2018/05/plasticbag-ban-waste-environment/
กลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. Plastic story พลาสติกแสนดีมีอยู่รอบตัว. สืบคันเมื่อ 10 มิถุนายน 2561.จาก http://www.ftiplastic.com.
เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม วันคุ้มครองใลก (Earth Day 2018). สืบคันเมื่อ 8 มิถุนายน 2561. จาก htp://globethailand.ipst.ac.thv2p=5706.
ปัญหาขยะพลาสติก ทำลายสิ่งแวดล้อมในเอเชีย. สืบคั้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2561. จาก https://www.voathai.com/a/a-47-2009-07-24-voa3-90653099/923148.html.
-
12430 พลาสติกใช้ง่าย แต่เหลือร้าย /article-science/item/12430-2021-08-23-06-09-42เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง