พลาสติกย่อยสลายได้
พลาสติกเป็นวัสดุที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถปรับปรุงสมบัติได้อย่างหลากหลายเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น บรรจุภัณฑ์ เส้นใยสังเคราะห์ ทำให้มีการผลิตพลาสติกออกมาเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติกตามมา
ขยะพลาสติกกลายเป็นสิ่งที่สังคมโลกให้ความสนใจ เนื่องจากพลาสติกบางชนิดไม่ย่อยสลายในธรรมชาติ หรือใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายยาวนาน ขยะพลาสติกบางชนิดใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่าร้อยปีในการย่อยสลาย จึงเกิดการตกค้างในธรรมชาติส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร โดยเฉพาะกับสัตว์ทะเล นอกจากนี้ ยังมีการตรวจพบ "อนุภาคพลาสดิกขนาดเล็กหรือไมโครพลาสติก (Microplastics)" ในท้องของสัตว์ทะเล โดยไมโครพลาสติกชิ้นเล็กระดับไมโครเมตรที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เกิดจากการแตกสลายของขยะพลาสติก หรือจากผลิตภัณฑ์พลาสติกบางชนิด เช่น ไมโครบีดส์ เม็ดสครับ ไมโครพลาสติกไม่เพียงแค่ตกค้างในธรรมชาติ แต่ยังสามารถดูดซับสารพิษ เช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง ซึ่งเมื่อสัตว์น้ำบริโภคไมใครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย ก็จะได้รับสารพิษที่สะสมอยู่ในไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย
ภาพ 1 ไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทู ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเล ที่ 3 จ.ตรัง ที่มา https://www.facebook.com/Re4Reef/photos/a.1948037152175182/2276785545967006/
นอกจากไมโครพลาสติกแล้ว ขยะจากผลิตภัณฑ์พลาสติกเองก็ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ ดังเช่นข่าววิกฤตเต่าทะเลที่ ตายเพราะการบริโภคถุงพลาสติก หรือบาดเจ็บจากการที่มีขยะพลาสติกติดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สังคมโลกจึงตระหนัก และให้ความสำคัญของปัญหาขยะพลาสติกมากขึ้น
ภาพ 2 ขยะพลาสติกที่พบในท้องเต่าทะเล
ที่มา ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ
การลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการรีไซเคิล เป็นวิธีที่สามารถนำมาใช้ในการลดปัญหาขยะพลาสติกได้ แต่ยังมีอีกทาง เลือกหนึ่งที่เป็นที่สนใจในแวดวงวิชาการคือ การใช้พลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติทดแทนพลาสติก แบบเดิม ซึ่ึ่งนอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์จากพลาสติกได้เหมือนเดิมแล้ว ยังช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกได้อีกด้วย
พลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ (Environmentally Degradable plastics: EDP) ยังสามารถ แบ่งได้เป็นอีก 2 ประเภท ตามกระบวนการย่อยสลาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการย่อยสลายของพลาสติก แต่ละประเภทจะช่วยให้การจัดการขยะพลาสติกมีประสิทธิภาพและลดมลภาวะให้กับสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น โดยพลาสติก ทั้ง 2 ประเภทนี้คือ
1. พลาสติกแตกสลายทางชีวภาพได้ (Biodegradable Plastic) หรือพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถผลิตได้ทั้งจากวัตถุดิบจากธรรมชาติและปิโตรเคมี พลาสติกชนิดนี้เมื่อทิ้งไว้ในสภาวะแวดล้อมทั่วไป จะไม่สามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ และอาจแตกสลายกลายเป็นไมโครพลาสติกได้ แต่หากมีการนำไป จัดการอย่างเหมาะสม มีการควบคุมสภาวะความร้อน ความชื้น และมีการให้จุลินทรีย์ พลาสติกชนิดนี้จะถูก จุลินทรีย์ย่อยสลายในลำาดับสุดท้ายกลายเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารชีวมวลได้อย่างสมบูรณ์
ภาพ 3 การย่อยสลายของพลาสติกแตกสลายได้ทางชีวภาพ
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าพลาสติกที่ใช้อยู่เป็นพลาสติกย่อยสลายได้แบบ EDP ?
ตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงว่าพลาสติกย่อยสลายได้แบบ EDP คือ การวัดปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมาตรฐาน มอก.17088-2555 และมาตรฐานพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ กำหนดให้ คาร์บอนต้องเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นตามทฤษฎีภายในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน และให้ดูการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ มี IS0 17088 ที่เป็นมาตรฐานสากล และมาตรฐานที่ใช้ในแต่ละประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐาน ASTM D6400 ยุโรปใช้มาตรฐาน EN 13432 ส่วนประเทศไทยใช้มาตรฐาน มอก.17088-2555
ภาพ 5 สัญลักษณ์มาตรฐานการรับรองพลาสติกย่อยสลายได้้แบบต่าง ๆ
ภาพ 6 ถุงขยะที่ทำาจากพลาสติกสลายตัวได้ทางชีวภาพ
ที่มา https://ngthai.com/environment/26637/thaibiodegradableplasticbag/
พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ มีอายุกรย่อยสลายสั้นกว่าพลาสติกทั่วไป อาจช่วยลดปัญหาเรื่องพื้นที่การฝังกลบได้บ้างหรือดูเหมือนจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่พลาสติกเหล่านี้อาจแตกสลายไม่สมบูรณ์เกิดเป็นไมโครพลาสติกซึ่งมีผลต่อสิ่งมีชีวิตตังที่มีรายงาน นอกจากนี้ พลาสติกแต่ละชนิดต้องการ การจัดการไม่เหมือนกันและมีค่าใช้จ่ายในการจัดการพลาสติก ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด ด ควรลดการใช้พลาสติก หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติก รวมทั้งลดการสร้างขยะเพื่อรักษาโลกของเรากันเถอะ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
โครงการ Chula Zero Waste. (2562. ข้อเท็จจริง "พลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ" (Environmentaly Degradable Plastics: EDP). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563. จาก http:/www.chulazerowaste.chula.ac.th/the-fact-of-environmentally-degra-dable-plastics-edp/.
โครงการ Chula Zero Waste. (2562). ข้อเท็จจริง "พลาสสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ" (Environmentaly Degradable Plastics: EDP). สืบคั้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2563. จาก http:/www.chulazerowaste.chula.ac.th/the-fact-of-environmentally-de-gradable-plastics-edp/.
โครงการ Chua Zero Waste. (2562) อย่าให้พลาสติก OXO เป็นแค่รักษ์ที่หลอกลวง. สืบคั้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จากhttp://www.chulazerowaste.chula.ac.th/oxo-degradable-plastics-is-deceptive-love/
ไทยรัฐออนไลน์. (2562). น่าตกใจ พบ "ไม่โครพลาสติก" ในท้อง "ปลาทูทย" เฉลี่ยตัวละ 78 ขึ้น. สืบคั้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก
https://www.thairath.co.th/news/society/1657491.
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2562. วิกฤต! ขยะฆ่เต่าทะเลหายาก 3 เดือนตาย 4 ตัว. สืบคั้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/281373.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. Compostable Plastics. สืบคั้นเมื่อ 1 มีนาคม 2503. จากhttp:/www.nsm.or.th/other-service/2076-online-science/knowledge-inventory/sci-vocabulary/sci-vocabulary-nsm/3950-compostable-plastics.html.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. ไมโครพลาสติก (Microplastic). สืบคั้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.nsm.or.th/other-service/669-online-science/knowledge-inventory/sci-vocabulary/sc-vocabulary-science-museum/3429-ไมใครพลาสติก-microplastic.html.
-
12178 พลาสติกย่อยสลายได้ /article-biology/item/12178-2021-07-01-07-28-18เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง