นักวิทยาศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(Renaissance) ใคร ๆ ก็รู้จักนักวิทยาศาสตร์เซ่น Galileo Galilei, Nicolaus Copemnicus, Tycho Brahe, Johannes Kepler ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นผู้ชาย แต่แทบไม่มีใครรู้ความสามารถด้านวิชาการของสตรีในยุคนั้นเลย เมื่อปี ค.ศ. 2014 Meredith K. Ray ได้เรียบเรียงหนังสือชื่อ Daughters of Alchemy: Women and Scientific Culture in Early Modern Italy ซึ่งจัดพิมพ์โดย Harvard University Press ผู้เขียนได้กล่าวถึงความสามารถทางวิทยาศาสตร์
ภาพ ปกหนังสือ Daughters of Alchemy: Women and Scientific Culture in Early Modern Italy
ที่มา https://books.google.co.th/books/about/Daughters_of_Alchemy.html?id=YZ6JBwAAQBAJ&source=kp_cover&redir_esc=y
ของสตรีชาวอิตาเลียนหลายคนในสมัยนั้น เซ่น Margherita Sarrocchi ซึ่งเป็นกวีที่สนใจดาราศาสตร์ กับคณิตศาสตร์มาก เธอได้เคยเขียนจดหมายถึง Galileo 7 ฉบับ (หลักฐานเหล่านี้มีเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุแห่งมหาวิทยาลัย Bologna) และ Galileo ได้ตอบจดหมายของเธอ 1 ฉบับ ในจดหมายนั้นเธอได้ขอความเห็นของGalileo ที่มีต่อบทประพันธ์ของเธอและในเวลาเดียวกันเธอได้ตั้งข้อสังเกตของเธอที่มีต่อผลงานดาราศาสตร์ของเขาด้วย ดังนั้นการที่ Galileo ได้ตอบจดหมายคงเป็นเพราะเขารู้สึกชื่นชมในข้อสังเกตของเธอมาก
ภาพ Margherita Sarrocchi และ Galileo
ที่มา http://www.gregorybufithis.com/2016/08/04/among-my-summer-readings-margherita-sarrocchis-letters-to-galileo/
แม้หนังสือที่เธอเรียบเรียงจะไม่หลงเหลือให้คนปัจจุบันรู้ว่า ผู้หญิงในสมัยนั้นรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้าง แต่ Ray ก็ได้แสดงให้ทุกคนเห็นว่า การได้อ่านบทกวี และจดหมายที่ Sarocchi เขียนตอบโต้กับ Galileo เรื่องบทความที่เธอเขียนเกี่ยวกับวิทยาการเล่นแร่ แปรธาตุก็ได้ทำให้โลกรู้ว่า สตรีสูงศักดิ์ในอิตาลีนิยมใช้การเล่นแร่ แปรธาตุ เพื่อรักษาคนไข้ ปรุงน้ำหอม และประดิษฐ์ยาอายุวัฒนะ ซึ่งเทคนิคเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สตรีสูงศักดิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ต้องรู้และถนัด
Caterina Sforza แห่งเมืองForli เป็นสตรีอีกท่านหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเล่นแร่แปรธาตุมากดังที่ Niccolo Machiavelli ได้เคยเขียนบันทึกเกี่ยวกับผลงานของเธอในหนังสือ The Prince ซึ่งตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1532ว่าเธอได้ออกมาต่อสู้ป้องกันเมือง Forli ให้รอดพ้นจากการโจมตีของ Cesare Borgia และได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการเล่นแร่แปรธาตุให้ลูกชายเป็นมรดกดกทอด
ภาพ Caterina Sforza
ที่มา http://biografieonline.it/biografia-caterina-sforza
ส่วนที่ Venice มี Camilla Erculiani ซึ่งได้เขียนบทความลงในวารสาร Letters on Natural Philosophy ที่ได้กล่าวถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลก โดยใช้เหตุผลและหลักการทางวิทยาศาสตร์ วารสารเล่มนี้ได้รวบรวมบทความของเธอที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในปีค.ศ. 1584 ที่ Poland ด้วยเพราะเธอต้องการจะถวายหนังสือเล่มนั้นแด่สมเด็จพระราชินี Anna Jagiellion ด้วยตนเอง และเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสอบสวนโดยศาลศาสนาแห่งกรุงรม แม้กระนั้นสันตะปาปาแห่งวาติกันก็ทรงบัญชาให้มีการไต่สวนเธอ แต่เธอก็รอดพันจากการถูกไฟเผาทั้งเป็น เพราะเพื่อน ๆ ได้อ้างว่าเธอเป็นผู้หญิงโง่ที่ไม่รู้อะไรเลย จึงเพ้อเจ้อ และฟุ้งซ่านไม่เข้าท่า
เมื่อเวลาผ่านไปสตรีได้ออกมาแสดงบทบาทในวงการวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้นักวิทยาศาสตร์ชายเช่น Giuseppe Passi ได้ออกมาโจมตีผู้หญิงว่าไม่สามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์ได้ โดยได้เขียนหนังสือชื่อ The Defects of Women ที่ถูกนำออกเผยแพร่ในปี ค.ศ.1599 และทำให้สตรีชื่อ Lucrezia Marinella ออกมาตอบโต้ในหนังสือ The Nobility and Excellence of Women and the Defects and Vice of Men เมื่อ ค.ศ.1600 ว่า ผู้ชายเองก็มีข้อบกพร่องมากมายและบางคนก็ไร้ความสามารถ การตอบโต้ในลักษณะนี้ทำให้หนังสือทั้งสองเล่มขายดี แต่ Marinella ก็ได้กล่าวว่า แม้ผู้หญิงจะไม่เก่งเท่า Galileo แต่ก็มีความสามารถในการเล่นแร่แปรธาตุไม่แพ้ผู้ชาย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สตรีอิตาลีได้รับการศึกษามากขึ้น และเริ่มเรียนวิทยาศาสตร์ด้วยการเข้าฟังการบรรยายในสมาคมและในสังคมชนชั้นสูง และในคอนเสิร์ตแต่ยังไม่สามารถข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้ จนกระทั่งมหาวิทยาลัย Bologna เปิดรับสตรีเข้าเรียนวรรณคดีวิทยาศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ ในปี ค.ศ.1726 เป็นครั้งแรกทั้ง ๆ ที่มหาวิทยาลัยนี้เก่าแก่ที่สุดในโลก เพราะจัดตั้งตั้งแต่ ค.ศ.1088 (ก่อนอาณาจักรสุโขทัย) และเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนนิสิตชายโดยเฉพาะ และประเด็นที่น่าสนใจของมหาวิทยาลัยนี้คือ นิสิตสามารถเลือกอาจารย์ และอธิการบดีมาเป็นคนสอนและบริหารมหาวิทยาลัยได้
จนในที่สุด Laura Bassi ก็ได้เป็นสตรีคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Bologna ในสาขาวิชาตรรกะวิทยา metaphysics และวิทยาศาสตร์ในปี ค.ศ.1732 โดยในการสอบวิทยานิพนธ์ กรรมการสอบที่สอบเธอคือบาทหลวง Lambertini ซึ่งในเวลาต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นสันตะปาปา Benedict ที่ 14 และมีสมาชิกวุฒิสภามาร่วมสอบอีก 4 คน ในการสอบครั้งนั้นมีประซาชนเข้าฟังมากมาย เพราะทุกคนต้องการจะรู้ว่า ผู้หญิงเก่งวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ ผลปรากฏว่าเธอสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้อย่างคล่องแคล่ว แม้จะสอบผ่าน แต่เธอก็ไม่สามารถสอนวิทยาศาสตร์ได้ เพราะสมัยนั้นมีกฎหมายห้ามผู้หญิงสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย แต่เธอก็รักฟิสิกส์และได้เปิดสอนนิสิตที่บ้านเป็นเวลานานร่วม 30 ปี
ภาพ Laura Bassi
ที่มา https://en.wilkipedia.org/wiki/Laura.Bassi
เมื่ออายุ 27 ปี เธอได้เข้าพิธีสมรสกับ Giuseppe Varati และมีทายาท 12 คน จึงไม่มีเวลาทำงานวิทยาศาสตร์ระดับสูง กระนั้นเมื่อ Francois Voltaire ต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกของ Academy of Sciences แห่ง Bologna เขาได้ขอให้เธอเขียนคำรับรองให้ เพราะชื่อเสียงและความเห็นของเธอมีน้ำหนักในการพิจารณา เขาก็ได้รับเลือกเป็นสมาชิกตามที่ต้องการ เมื่อมีชื่อเสียง สภาเมือง Bologna ได้มอบเงินเดือนให้เธอ ทำเหรียญที่ระลึกในนามของเธอ และตั้งชื่อถนนในเมืองตามชื่อของเธอ
ตั้งแต่นั้นมา อิตาลีก็มีผู้หญิงที่เก่งมาเรียนวิทยาศาสตร์มากขึ้น และมีสตรีคนหนึ่งที่เก่งคณิตศาสตร์มากชื่อ Maria Gaetana Agnesi เธอเกิดเมื่อปี๊ค.ศ. 1718 (ตรงกับรัชสมัยพระภูมินทราชา) เป็นลูกคนโตของครอบครัวที่มีน้อง 21 คน บิดาชื่อ Pietro และมารดาชื่อ Anna Fortunato Bivio ซึ่งได้จัดบ้านให้เป็นศูนย์กลางการพบปะของบรรดานักวิซาการ Maria จึงมีโอกาสได้เรียนภาษาต่าง ๆ จากบรรดาแขกที่มาเยี่ยม และสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสได้ตั้งแต่อายุได้ 5 ขวบ พูดละตินและกรีกได้เมื่ออายุ 9 ขวบเมื่ออายุ 11 ขวบ เธอสามารถพูดได้ถึง 7 ภาษา อีกทั้งสามารถเรียบเรียงตำรา "Propositiones Philosophicae" ที่เกี่ยวกับปรัชญาซึ่งเธอได้ยินได้ฟังมาจากวงสนทนา
ตัว Maria สนใจเรื่องศาสนามาก จึงขออนุญาตบิดาออกบวซชี แต่บิดาไม่ยินยอม เธอจึงหันไปสนใจคณิตศาสตร์และได้เรียบเรียงตำรา Instituzioni Analitiche อันเป็นผลงานที่ได้จากการสังเคราะห์วิชาพืชคณิตกับเรขาคณิตเข้าด้วยกันผลงานของเธอฉบับที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1748 ถูกนำไปถวายแด่จักรพรรดินี้ Maria Teresa แห่งออสเตรีย ซึ่งได้ทำให้พระนางทรงพอพระทัยมาก จึงทรงประทานแหวนให้เธอหนึ่งวง
หนังสือเล่มนั้นถูกแบ่งแยกออกเป็นสองเล่มเล่มแรกแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพืชคณิตกับเรขาคณิตและมีสมการหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ เส้นโค้ง Agnesi (Agnesi's Cur) ซึ่งมีสมการเป็น x2y = a2 (a-y) โดยที่ a เป็นค่าคงตัว แม้แต่ Pierre de Fermat ก็ยังอ้างถึงผลงานชิ้นนี้เพราะเขารู้สึกประทับใจในความสามารถของเธอมาก
ภาพ หน้าแรกของหนังสือ Instituzioni Analltiche
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Maria_Gaetana.Agnesi
ส่วนเล่มที่สองเป็นเรื่องแคลคูลัส ที่มีความลึกซึ้งจน Joseph Louise Lagrange ก็ยังอ้างว่า ผลงานของเขาได้รับอิทธิพลด้านการเขียนจาก Agnesi นอกจากนี้สมาคมFrench Academy of Sciences ก็ยังได้ยกย่องเธอว่า ถ้าเป็นผู้ชาย สมาคมก็คงเลือกเธอเข้าเป็นสมาชิกแล้ว
ภาพ Maria Gaetana Agnesi
ที่มา https://en.wilkdpedia.org/wikiMaria_Gaetana.Agnesi
แม้ว่าสมาคมวิซาการของฝรั่งเศสหลายสมาคมจะปฏิเสธไม่รับเธอเป็นสมาชิก แต่ Agnesi ก็ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม Bologna และเป็นศาสตราจารย์คณิตศาสตร์สตรีคนแรกของมหาวิทยาลัย
เมื่อบิดาของเธอเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1752 Agnesi วัย 34 ปีได้ทิ้งงานคณิตศาสตร์ ไปอุทิศชีวิตที่เหลือเพื่อช่วยคนยากจน คนเจ็บ และคนขรา โดยได้ซื้อบ้านให้คนจนอยู่ได้ขายทรัพย์สมบัติที่เธอได้รับจากมรดก และขายของขวัญที่เธอได้รับจากสันตะปาปากับจักรพรรดินีเป็นทุนในการจัดการบ้านคนชรา และเธอได้พำนักอยู่ที่บ้านนั้นจนกระทั่งเสียชีวิตในวัย 81 ปี ศพถูกนำไปฝังในสุสานของคนยากไร้ ปัจจุบันในเมือง Milan มีรูปปั้นครึ่งตัวของ Agnesi ติดตั้งเป็นที่ระลึกถึงนักคณิตศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียนในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาคนนี้
ภาพ รูปปั้นครึ่งตัวของ Agnesi
ที่มา https://en.wilkdpedia.org/wikiMaria_Gaetana.Agnesi
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Phipps. Alison. (2008). Italian Woman in Science. Trentham Books.
-
12487 นักวิทยาศาสตร์สตรีชาวอิตาเลียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-18 /article-science/item/12487-16-18เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง