เรียนรู้วิทย์ ที่เกาะคิวชู (Kyushu)
การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผลจากเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นปัญหาใหญ่ที่นานาประเทศทั่วโลกกำลังประสบกันถ้วนหน้า และปัญหาจากภัยสึนามิที่ซ้ำเติมทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นทรุดหนักลงไปอีก วิธีการหนึ่งที่ญี่ปุ่นใช้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้พลเมืองต่างประเทศสามารถเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า และหนึ่งในพลเมืองเหล่านั้นหมายถึงประชาขนคนไทยด้วย การมีสายการบินโลว์คอสสองสาย คือ แอร์เอเซียและ เจ็ทสตาร์ที่ปิดให้บริการจากกรุงเทพฯไปยังเมืองต่าง ๆเช่นโตเกียว โอซาก้า ฟุกุโอกะ และเมืองอื่น ๆ อีกหลายเมือง ทำให้คนไทยจำนวนมากพากันหลั่งไหลไปประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย
เกาะคิวชู เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะญี่ปุ่น มีเนื้อที่ 35.640 ตารางกิโลเมตร คำว่คิวชูแปลว่า เก้าแคว้น เกาะนี้มื่นครฟุกุโอะกะ (Fukuoka) เป็นเมืองเอกที่ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ด้วยสายการบินเจ็ทสตาร์ที่คิดค่าตั๋วโปรโมขันไป - กลับ จากกรุงเทพฯ ถึงฟุกุโอกะ คนละไม่ถึงหนึ่งหมื่นบาท รวมกับค่าเช่ารถ 7 ที่นั่ง เพราะคณะของเรามี 6 คนค่าผ่านทาง ค่าน้ำมัน ค่าอาหารและค่าที่พัก คิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายคนละประมาณ 24.000 บาท ในระยะเวลาท่องเที่ยว 6 คืน 7 วัน
การเดินทางครั้งนี้เราได้เห็นแหล่งเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยา ธรณีวิทยา คณิตศาสตร์ และได้นำภาพที่สื่อความหมายด้านศิลปะ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์มาฝากเพื่อนครู นักเรียน ดลอดจนผู้ปกครองเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนและสอนจากการได้ไปเปิดโลกการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่เกาะคิวซูด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยงบประมาณที่ประหยัดแต่ได้ทั้งความรู้และความสุขอย่างคุ้มค่าเงินและเวลา
ที่มา http://www.siamkane.com/wp/wp-content/uploads/2013/05/kyushu.jpg
เรียนรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้างจากเกาะคิวชู
ชีววิทยา : ซากุระ ชื่อสามัญ Cherry Bloom, Cherry Blossom, Japanese Flowering Cherry
ภาพ ดอกซากุระ
ช่วงเวลาเดินทางของเราเป็นปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หลังจากขึ้นรถเช่าที่สนามบินฟุกุโอกะแล้วจุดหมายแรก คือ ศาลเจ้าไดไซฟุ (Daizaifu) ที่นี่เราได้เห็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือ ดอกซากุระ แต่ด้วยความไม่แน่ใจว่าใช่ดอกซากุระ สมาชิกในกลุ่มต้องถกเถียงกันนานเพราะดอกซากุระที่เห็นมีหลากหลายชนิด เมื่อข้อมูลของกูเกิ้ลแสดงว่า ซากุระมีจำนวนมากกว่า 100 ชนิดและเป็นพืชในวงศ์ Rosaceae พวกเซอร์รี่ ในสกุล Prunus ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในจีนตอนใต้ เกาหลี ไต้หวัน หมู่เกาะโอกินาวา ญี่ปุ่น ดอกมีทั้งสีขาว สีชมพูอ่อนหรือสีขมพูเข้ม จำนวนกลีบดอกที่พบเห็นบ่อยมี 5 กลีบแต่มีพันธุ์อื่นที่มีจำนวนกลีบแตกต่างออกไปอาจมีมากกว่า 5 กลีบได้เรียกว่า Yaezakura ในประเทศไทยมีต้นซากุระที่ดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ลักษณะเด่นของซากุระคือ เวลาดอกร่วงมันจะร่วงพร้อมกันทั้งตันดอกไม้ต่าง ๆ รวมทั้งซากุระจะเริ่มต้นบานจากพื้นที่บริเวณเกาะทางใต้ ขึ้นไปเรื่อยจนถึง เกาะฮ็อกไกโด (Hokkaido) ซึ่งเป็นเกาะที่อยู่เหนือสุดของประเทศญี่ปุ่นช่วงเวลาดอกไม้บานที่เกาะคิวชู คือตันเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน ตามปกติดอกซากุระจะบานอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์
ภาพ ดอกซากุระนานาพันธุ์บานที่ศาลเจ้าไดไซฟุ Daizaiu
ที่มา: http://www.syalishan.com/Q1%20report%202011/7Q12011ume05.JPG
ธรณีวิทยา : บ่อน้ำพุร้อน (อังกฤษ: Hot spring) คืออะไร
จากเมืองฟุกุโอกะ จุดหมายต่อไปคือเมืองยูฟุอิน (Yufuin) ซึ่งอยู่ห่างจากฟุกุโอกะประมาณ 120 กิโลเมตรและเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีถ นนคนเดินหลายสาย เมืองนี้จึงสะท้อนศิลปะ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของซาวญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี หลังจากเที่ยวชมเมืองยุฟุอินและอิ่มอร่อยกับข้าวหน้าปลาไหลและซาบูแล้ว เราได้เดินทางต่อไปยังเมืองเบปปู (Beppu) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองยุฟุอินเพียง 47 กิโลเมตร
เมื่อรถถึงเมืองเบปปุ เราก็ตื่นตาที่ได้เห็นควันสีขาวพวยพุ่งออกมาจากทางระบายน้ำข้างถนนตลอดเวลาเมืองเบปปุอยู่ในจังหวัดโออิตะ (Oita มีชื่อเสียงเรื่องออนเซนหรือบ่อน้ำพุร้อน ที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่นโดยในปี คศ. 2011 นับจำนวนได้ 2.511 บ่อ รองลงมาคือที่ยฟูอิน ซึ่งมี 863 บ่อ
บ่อน้ำร้อน หรือ พุน้ำร้อน เป็นสถานที่ที่มีน้ำร้อนจากใต้ดินพุ่งขึ้นมา โดยผ่านตามช่องเปิดในพื้นดินน้ำพุร้อนมีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำที่ไม่พุ ซึ่งไหลมาขังอยู่ในแองบนพื้นดินจึงเรียกว่า "บ่อน้ำร้อน"
เมื่อถึงเมืองเบบปุสิ่งที่พลาดไม่ได้เลยคือการทัวร์บ่อนรก หรือ Jigoku Tour ทัวร์น้ำพุร้อนทั้ง 8 แห่ง แต่ละแห่งมีบ่อน้ำร้อนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละบ่อ เช่น จิโกกุ เมกุริ (Jigoku Meguri) คือบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังการระเบิดของภูเขาไฟมีน้ำซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุ อาทิเช่น กำมะถัน แร่เหล็ก โซเดียมคาร์บอเนต และเรเดียมที่มีความเข้มข้นสูง แต่ละบ่อมีลักษณะที่แตกต่างกันตามแร่ธาตุที่มีจึงทำให้สีของน้ำสวยและแปลกตาต่างกันไป บางบ่อมีสีแดง บางบ่อมีสีฟ้า หรือสีเขียว น้ำพุร้อนที่ยังเดือดจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 90 องศาเซลเซียส นอกจากเบปปุจะมีชื่อเสียงเรื่อง ออนเซ็นแล้วก็ยังมีชื่อเรื่องการอบทรายร้อนซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้ผิวพรรณดี แต่พวกเรามีทีเด็ดกว่านั้นตรงที่มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น 2 คนที่เรารู้จักที่ข้าวสารเบปปุซึ่งเป็นเรียวกังที่เราพักอยู่ เธอให้เราสัมผัสผิวของเธอแล้วแนะนำเราให้ไปแช่ตัวที่บ่อโคลนจะดีกว่า เพราะนอกจากจะทำให้ผิวพรรณนุ่มนวลแล้ว ยังผ่อนคลายอาการเมื่อยล้าด้วยเธอช่วยบอกเส้นทางการเดินทางไปสถานที่แช่บ่อโคลนสมาชิกทุกคนจึงตกลงกันว่าวันรุ่งขึ้นเราจะตามเธอไปแช่บ่อโคลน และก็ไม่ผิดหวังเลย นี่เป็นเสน่ห์อีกประการหนึ่งในการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น ที่เราไม่รู้สึกเบื่อที่จะมาเยือนอีกครั้งแล้วครั้งเล่า
ภาพ บ่อน้ำร้อนสีแดงมีส่วนประกอบของสนิมเหล็ก
ที่มา: http://www.kanpai-japan.com/beppu/jigoku-meguri
ภาพ บ่อน้ำร้อนสีฟ้ที่มีส่วนประกอบของแรโคบอลต์
ที่มา: http://www.kanpai-japan.com/beppu/igoku-meguri
ธรณีวิทยา : ภูเขาไฟ (อังกฤษ: Volcano) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ภาพ ปากปล่องภูเขาไฟอะโสะ
ที่มา: http://says.com/my/lifestyle/most-epic-volcano-hikes-in-the-world
สถานที่ท่องเที่ยวที่พลาดไม่ได้อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดคุมะโมโตะ (Kumamoto) ได้แก่ ภูเขาไฟอะโสะ (Aso)ภูเขาไฟที่ยังระอุอยู่นี้อยู่ที่ใจกลางอุทยานแห่งชาติ และเป็นภูเขาไฟที่มีปากปล่องกว้างที่สุดในโลกด้วย และภูเขาไฟอะโสะก็ได้ปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558
ภูเขาไฟ คือ ภูเขาที่เกิดขึ้นจากการปะทุของหินหนืดที่มีอุณหภูมิสูงโดยแรงดันสูงจากใต้เปลือกโลกแล้วปรากฏตัวเป็นเนินเด่นทางภูมิศาสตร์ ภูเขาไฟมีหลายชนิดโดยแบ่งตามสภาพความรุนแรงในการปะทุ (ราชบัณฑิตยสถาน,2516) ทฤษฎีการเกิดภูเขาไฟ ได้แก่ ทฤษฎีพลูม (Plume Theory) ของเจสัน มอร์แกน (Jason Morgan) ซึ่งกล่าวว่าภูเขาไฟเกิดจาก จุดศูนย์รวมความร้อน (Hot Spot) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พลูม" (Plume) ได้ถ่ายเทพลังงานของมวลที่แข็งและร้อนจากภายในชั้นของเปลือกโลกแมนเทิล (Mantle) ซึ่งเป็นชั้นหินหลอมเหลวใต้เปลือกโลกขึ้นมาที่ผิวโลก
ภาพ ภูเขาไฟอะโสะ
ที่มา: http://www.japantimeline.jp/en/0000000762/
ในวันที่เราเดินทางไปถึง ภูเขาไฟอะโสะที่กำลังปะทุอยู่ทางการจึงห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นไปถึงบริเวณปากปล่อง เราจึงเห็นภาพการคุกรุ่นจากระยะไกล
นี่เป็นเพียงตัวอย่างการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพียงเล็กน้อยจากประสบการณ์ตรงที่ได้จากการท่องเที่ยวที่เกาะคิวชู ประเทศไทยของเราก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ความรู้วิทยาศาสตร์มากมาย และสถานที่เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับที่ประเทศญี่ปุ่น เช่น ที่ญี่ปุ่นมีดอกซากุระที่งดงามในฤดูใบไม้ผลิ เรามีดอกนางพญาเสือใคร่งซึ่งเป็นพืชสกุลเดียวกับซากุระ นางพญาเสือใคร่งเป็นพืชดอก ในสกุล Prunus ที่ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ มีพบทั่วไปบนภูเขาตั้งแต่ 1,200 - 2,400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เราจะพบดอกพญาเสือโคร่งได้ที่ ภูลมโล จังหวัดเลย ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย ดอยเวียงแหง ดอยอ่างขาง ขุนช่างเคี่ยนขุนแม่ยะ จังหวัดเชียงใหม่ (วิกิพีเดีย)
ทางด้านธรณีวิทยา ประเทศไทยเราก็มีแหล่งที่เคยเป็นภูเขาไฟ สำหรับน้ำพุร้อนและบ่อน้ำร้อนในเมืองไทยข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณีแสดงแหล่งน้ำพุร้อน 112 แห่ง
ภาพ น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
ที่มา: http://yingthai-mag.com/magazine/reader/4623
กระจายอยู่ทั่วไปทั้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคใต้ เช่น น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บ่อน้ำร้อนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และบ่อน้ำร้อนในจังหวัดระนองและจังหวัดกระบี่ สถานที่ที่สามารถพบหินภูเขาไฟ ซึ่งจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครูสามารถพานักเรียนไปทำกิจกรรม เพื่อศึกษาเกี่ยวกับหินภูเขาไฟได้ชัดเจน และสะดวกได้แก่
- วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม บ้านเขาตาโม่ะ อำเภอเขาสมิงจังหวัดตราด
- อ่าวตาลคู่ อำเภอเมือง จังหวัดตราด
- เขากระโดง ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
- เขาพนมรุ้ง ตำบลตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
- ภูพระอังคาร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
- เขาหินกลิ้ง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
- เขาพระพุทธฉาย อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
- เขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี้ จังหวัดนครสวรรค์
การนำนักเรียนไปศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น ถ้าครูผู้สอนจัดเตรียมกิจกรรมและใบงานล่วงหน้าจะทำให้นักเรียนได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรงที่ยากจะลืมเลือนไม่เฉพาะแต่ครูเท่านั้นผู้ปกครองที่จะพาบุตรหลานไปท่องเที่ยว ถ้าเตรียมตัวหาข้อมูลที่น่าสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ของสถานที่ที่จะไปไว้ล่วงหน้า จะทำให้การท่องเที่ยวในแต่ละครั้ง นอกจากจะได้ตื่นตาตื่นใจกับสิ่งใหม่ ๆแล้ว ยังได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่อยู่รอบตัวด้วย ทั้งยังเป็นการปลูกฝัง การสังเกต การคิดอย่างมีเหตุผล เป็นการช่วยกระตุ้นให้เยาวชนไทยสนใจไฝ่เรียนรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์มากขึ้น
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
เกาะคิวซู. สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559. จาก www.japantimeline.jp/th
เกาะคิวชู. สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559. จา www.mmutphysics.com
ท่องเที่ยว. สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก www.thaventure.com
สิน สินสกุล (2547) แหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร.
"แหล่งเรียนรู้ หินภูเขาไฟ" เบ็ญจวรรณ ศรีเจริญ, สืบคั้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559. จาก http://secondsci.ipst.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=49:2010-06-29-04-50-27&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34
-
12580 เรียนรู้วิทย์ ที่เกาะคิวชู (Kyushu) /article-science/item/12580-2022-02-15-07-00-17-2-2-2-2-2-2-2เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง