ทิศ
การรู้จักทิศช่วยไม่ให้หลงทาง ทิศหลัก 4 ทิศ ได้แก่ ทิศตะวันออก (E ; East) ทิศตะวันตก (W ; West) ทิศเหนือ (N ; North) และทิศใต้ ( S ; South) โดยทิศตะวันออกอยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันตก ทิศเหนืออยู่ตรง ข้ามกับทิศใต้ และเส้นตรงที่ต่อระหว่างจุดทิศตะวันออกกับจุดทิศตะวันตก จะตัดกันเป็นมุมฉากกับเส้นตรง ที่ต่อระหว่างจุดทิศเหนือและจุดทิศใต้ ทั้งนี้ เมื่อเรายืนหันหน้าไปทางทิศเหนือ ด้านขวามือ (ข) จะเป็นทิศ ตะวันออก และด้านซ้ายมือ (ซ) จะเป็นทิศตะวันตก
ภาพ 1 แสดงทิศทั้ง 4 บนพื้นดิน ระนาบขอบฟ้าและเส้นขอบฟ้า
ในภาพ 1 เมื่อยืนหันหน้าไปทางทิศเหนือ ซ้ายมือเป็นทิศตะวันตกและขวามือเป็นทิศตะวันออก (แต่เมื่อยืนหันหน้า ไปทางทิศใต้ ขวามือจะเป็นทิศตะวันตก และซ้ายมือเป็นทิศตะวันออก) ส่วนท้องฟ้าเป็นรูปครึ่งทรงกลมกลวงที่มีจุดสูงสุดอยู่ เหนือศีรษะ และเรียกจุดนี้ว่าจุดเหนือศีรษะ (Z ; Zenith) ส่วนพื้นราบที่คนยืนอยู่เรียกว่า ระนาบขอบฟ้า ซึ่งมีเส้นขอบฟ้า เป็นวงกลมใหญ่ที่แบ่งครึ่งทรงกลมฟ้าออกเป็นครึ่งทรงกลมอยู่สูงจากขอบฟ้า ซึ่งเรียกว่าท้องฟ้า กับครึ่งทรงกลมที่อยู่ต่ำกว่า ขอบฟ้า
ท้องฟ้า 2 ทิศทาง
ทิศบนพื้นดิน 4 ทิศหลัก นำไปใช้แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 2 ส่วนได้ เช่น ท้องฟ้าทางทิศเหนือ และท้องฟ้าทางทิศใต้ โดยมีเส้นแบ่งครึ่งเป็นเส้นโค้ง EZW (เส้นโค้งที่ตั้งฉากกับเส้นขอบฟ้าตรงจุดทิศตะวันออกและตรงจุดทิศตะวันตก ซึ่งจะผ่าน จุดเหนือศีรษะด้วย) นอกจากนี้ ยังอาจแบ่งท้องฟ้าออกเป็นท้องฟ้าทางทิศตะวันออกและท้องฟ้าทางทิศตะวันตกด้วย เส้นเมริเดียน NZS (เส้นโค้งที่ตั้งฉากกับเส้นขอบฟ้าตรงจุดทิศเหนือและจุดทิศใต้ ซึ่งจะผ่านจุดเหนือศีรษะด้วย)
ที่มาของทิศหลัก
ที่มาของทิศตะวันออก – ตะวันตก คือ การหมุนรอบตัวเองของโลก โดยหมุนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก รอบละ 1 วัน ไม่ว่าจะอยู่บนเส้นศูนย์สูตรโลก อยู่ในซีกโลกเหนือ หรืออยู่ในซีกโลกใต้ โลกหมุนแบบเดียวกันคือ จากทิศตะวันตก ไปทิศตะวันออก เมื่อเทียบกับการหมุนของเข็มนาฬิกาการหมุนของโลก จะเป็นตรงกันข้ามกล่าวคือ ในซีกโลกเหนือโลก หมุนทวนเข็มนาฬิกา และในซีกโลกใต้โลกหมุนตามเข็มนาฬิกา
ภาพ 2 แสดงทิศที่อยู่ติดกับโลก
ในภาพ 2 ถ้าผู้สังเกตยืนอยู่บนผิวโลกตรงจุดตัดของแนว EW และ NS ที่บริเวณศูนย์สูตร (ตำแหน่ง 1) เมื่อโลกหมุน จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออกจึงพาท้องฟ้าของผู้สังเกตไปด้วย ทำาให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย เช่น ขณะนี้ขอบฟ้าตะวันออกชี้ไปทางดวงอาทิตย์ และดาว C ทำให้ผู้สังเกตเห็นดวงอาทิตย์และ ดาว C ขึ้นทางทิศตะวันออก เริ่มเกิดเวลากลางวัน ตรงกับเวลา 6 นาฬิกา มองไม่เห็นดาว C เพราะเป็นเวลากลางวัน เมื่อเวลาผ่านไป 6 ชั่วโมงตรงกับเวลา 12 นาฬิกา ผู้สังเกต (ตำแหน่ง 2) จะเห็นดวงอาทิตย์และดาว C ผ่านเมริเดียน ดาว D ขึ้นทางตะวันออก ดาว B ตกทางตะวันตก หลังจากนั้นอีก 6 ชั่วโมงตรงกับเวลา 18 นาฬิกา (ตำแหน่ง 3) ขอบฟ้าตะวันตก จะชี้ไปทางดวงอาทิตย์และดาว C หมายความว่าดวงอาทิตย์และดาว C กำลังตก
จากภาพ 2 จะเห็นชัดเจนว่า ผู้สังเกตที่อยู่ตรงข้ามกันบนเส้นศูนย์สูตร จะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ในทิศที่แตกต่างกัน เช่น ตำแหน่ง 1 อยู่ตรงข้ามตำแหน่ง 3 ผู้สังเกตตำแหน่ง 1 เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกและเห็นดาว A ตกทางตะวันตก แต่ผู้สังเกต ณ ตำแหน่ง 3 เห็นดวงอาทิตย์ตกทางตะวันตก และเห็นดาว A ขึ้นทางตะวันออก ส่วนตำแหน่ง 4 เป็นตำแหน่ง เมื่อเวลาเที่ยงคืนของผู้สังเกต
ทิศบนท้องฟ้าและทิศบนโลกเกิดจากเหตุเดียวกัน
โลกหมุนรอบตัวเองจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก คือสาเหตุที่ทำให้ผู้สังเกตบอกได้ว่า ประเทศเมียนมาร์อยู่ทาง ทิศตะวันตกของประเทศไทย เพราะโลกหมุนจากตะวันตก (เมียนมาร์) มาทางตะวันออก (ประเทศไทย) มีอีกหลายประเทศ นอกจากเมียนมาร์ ที่อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศไทย เช่น อินเดีย ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ในแอฟริกา และในฝั่งตะวันออก ของอเมริกาใต้ ส่วนประเทศที่อยู่ตรงกันข้ามกับประเทศไทย คือ ประเทศที่ใช้เขตเวลามาตรฐานน้อยกว่าของประเทศไทย 12 ชั่วโมง (เขต -5 ชั่วโมง) เช่น ฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ สำาหรับประเทศที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศไทย โดยเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนมีหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมไปถึงฝั่งตะวันตกและตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ
ทิศบนท้องฟ้าเกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง จากภาพ 2 ดวงอาทิตย์และดาว C อยู่ตรงข้ามกับดาว A ทำให้เห็น ดาว A ตลอดทั้งคืน (ขึ้นเวลา 18 นาฬิกา ตกเวลา 6 นาฬิกา) ดาว D อยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์เป็นมุม 90 องศา จึงขึ้นเวลา 12 นาฬิกากลางวัน (เวลาเที่ยงวัน) และตกเวลา 24 นาฬิกา (เวลาเที่ยงคืน)
ดาว B อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์เป็นมุม 90 องศา จึงขึ้นเวลากลางคืนเมื่อเวลา 24 นาฬิกาหรือเที่ยงคืน และตกเวลาเที่ยงวัน
ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ เมื่ออยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลากลางวัน และเมื่ออยู่ทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลากลางคืน
ดวงจันทร์ โคจรรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก รอบละ 1 เดือน จึงมีโอกาสที่จะอยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์ประมาณ ครึ่งเดือน และอยู่ทางตะวันตกของดวงอาทิตย์อีกครึ่งเดือน ตำแหน่ง ที่ดวงจันทร์อยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์คือ ดวงจันทร์ข้างขึ้น และตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์คือ ดวงจันทร์ข้ามแรม ดังนั้น ดวงจันทร์ข้างขึ้นจึงขึ้นเวลากลางวัน เช่นวันขึ้น 8 ค่ำ ดวงจันทร์จะขึ้นเวลาประมาณ 12 นาฬิกา ส่วนดวงจันทร์ข้างแรม ขึ้นเวลากลางคืน เช่น วันแรม 8 ค่ำ ดวงจันทร์ขึ้นเวลาประมาณ 24 นาฬิกา
ภาพ 3 แสดงข้างขึ้น-ข้างแรมของดวงจันทร์
ที่มา https://www.stkc.go.th/info/ข้างขึ้นข้างแรม
ดาวเคราะห์ โคจรรอบดวงอาทิตย์จากตะวันตกไปตะวันออก ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน เช่น ดาวพุธ ดาวศุกร์ เคลื่อนที่ไปทาง ตะวันออกเร็วกว่าดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปทาง ตะวันออกวันละประมาณ 1 องศา เพราะการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ การเลื่อนไปทางตะวันออกวันละประมาณ 1 องศา จึงเป็นการเคลื่อนที่ แทนโลก ซึ่งโคจรเร็วเป็นที่ 3 รองจากดาวพุธและดาวศุกร์) ส่วนดาวเคราะห์ ที่เคลื่อนที่ไปทางตะวันออกช้ากว่าดวงอาทิตย์คือ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์
ภาพ 4 ระบบสุริยะ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ระบบสุริยะ
การปรากฏเคลื่อนที่ไปทางตะวันออกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ ด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ทำาให้ ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ อยู่ห่างดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออกหรือตะวันตกแตกต่างกันไปอย่างไม่คงที่ ในขณะที่ดาวฤกษ์ ดวงใดดวงหนึ่ง จะอยู่ห่างไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของดวงอาทิตย์เป็นมุมที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างคงที่ ตามวันที่เพิ่ม ไปข้างหน้า ดังตารางต่อไปนี้
ภาพ 5 แสดงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออก
ภาพ 5 เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออก ทำให้คนบนโลกสังเกตเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางตะวันออก ผ่านดาวฤกษ์ A B C D และกลับมาที่เดิม A ในเวลา 1 ปี โดย A B C D เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวปลา กลุ่มดาวคนคู่ และกลุ่มดาวหญิงสาว ตามลำดับ ภาพนี้ใช้บอกตำแหน่งของดาวเทียบกับดวงอาทิตย์ในตารางข้างบน
มุมห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์
เป็นมุมที่วัดตามแนวสุริยวิถี ซึ่งเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี และโดยเหตุ ที่มุมเอียงของระนาบวงโคจรของดาวเคราะห์กับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมเล็ก ๆ (น้อยกว่า 7 องศา) ดาวเคราะห์จึงปรากฏอยู่ใกล้ สุริยวิถี เมื่อเห็นดาวเคราะห์อยู่บนฟ้า จึงเรียงเป็นเส้นโค้งเดียวกัน ดังภาพ 6
ภาพ 6 แสดง ตำแหน่งดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวศุกร์
ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2463 เวลา 6 นาฬิกา
จากภาพ 6 ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคารและดาวเสาร์อยู่ทางทิศตะวันตกของดวงอาทิตย์ โดยอยู่ห่างดวงอาทิตย์ เป็นมุม 67 องศา 67 องศา 60 องศา ตามลำดับ ดาวพฤหัสบดีจึงขึ้นก่อนดาวเคราะห์ดวงอื่นที่อยู่ใกล้ ๆ ดาวพฤหัสบดี คือ ดาวอังคาร และต่ำลงไปทางตะวันออกคือ ดาวเสาร์ ซึ่งสว่างกว่าดาวอังคาร (โชติมาตร-2) เพราะมีโชติมาตร-2 ในขณะที่ดาว พฤหัสบดี (โชติมาตร-2) สว่างกว่าดวงอื่น ๆ ในเวลาใกล้รุ่ง
ส่วนดาวศุกร์ (โชติมาตร-4.2) อยู่ทางตะวันออกของดวงอาทิตย์เป็นมุม 45 องศา จึงขึ้นเวลากลางวันตาม หลังดวงอาทิตย์ ปรากฏให้เห็นเป็นดาวประจำเมือง เป็นดาวที่สว่างสุกใสทางตะวันตกในเวลาหัวคำค่ำ
โชติมาตรคือ การบอกความสว่างของเทห์ฟ้าเมื่อมองจากโลก เป็นความสว่างตามที่มองเห็นหรือตรวจวัดได้ ขึ้นกับการส่องสว่าง ค่ายิ่งน้อยแสดงว่ายิ่งสว่างมาก เช่น ดวงอาทิตย์ ค่าความสว่าง = -26.8 Magnitude [mag.] ดาว Sirius = -1.5 Magnitude [mag.] ดาวเคราะห์น้อย = +15 Magnitude [mag.] ขึ้น
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
K. Adulyanukosol, S. Poovachiranon & P. Boukaew, (2010). Stomach contents of dugongs (Dugong dugon) from Trang Province, Thailand. Proceedings of the th International Symposium on SEASTAR2000 and Asian Bio-logging Science (The 9th SEASTAR2000 workshop):51-57.
-
12172 ทิศ /article-stem/item/12172-copy-2เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง