โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยดูจากเหนือขั้วโลกเหนือ ซึ่งแสดงโดยจุด ช่วงปลายเดือน (ประมาณวันที่ 21 ของเดือน)
ตวงอาทิตย์จะปรากฎอยู่ในกลุ่มดาวเดือนนั้น ๆ (นิพนธ์ ทรายเพชร : มหัศจรรย์มนุษย์กับตวงดาว, หน้า 34)
ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกใช้ดวงจันทร์เป็นเครื่องบอกเวลา บอกฤดูกาลบอกฤดูเก็บเกี่ยวมาเป็นเวลาข้านาน แต่ละวัฒนธรรมเรียกชื่อดวงจันทร์ต่างกันในยุโรปและอเมริกา จันทร์เพ็ญแต่ละเดือนในรอบปี มีชื่อเรียกไม่เหมือนกันดังต่อไปนี้
1. จันทร์เพ็ญในเดือนมกราคมมีชื่อว่า ดวงจันทร์สุนัขจิ้งจอก (Wolf Moon) (ชื่ออย่างอื่นอีกคือ ดวงจันทร์ชรา (Old Moon) ดวงจันทร์หิมะ (Snow Moon)
ที่เรียกว่าเป็นดวงจันทร์สุนัขจิ้งจอก เพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกเห่าหอนชัดเจนกว่าช่วงอื่น ๆ เนื่องจากเสียงสะท้อนจากน้ำแข็งที่หนาวเย็น ทำให้เสียงดังก้อง
ในซีกโลกเหนือ เดือนมกราคม อยู่ในช่วงฤดูหนาวมีหิมะขาวโพล มนุษย์บางเผ่าจึงเรียกว่า ดวงจันทร์หิมะ แต่ส่วนมากจะเก็บชื่อนี้ไปเป็นชื่อจันทร์เพ็ญของเดือนกุมภาพันธ์ จันทร์เพ็ญของเดือนมกราคมจะอยู่ในซีกฟ้าเหนือบริเวณกลุ่มดาวปู ซึ่งขึ้นเวลาหัวค่ำทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 20 องศาขึ้นไปอยู่สูงสุดขนฟ้าทางทิศใต้ของจุดเหนือศีรษะ เห็นได้ตลอดทั้งคืนก่อนตกไปทางตะวันตกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 20 องศาในเวลาเช้า ท้องฟ้าในคืนวันดวงจันทร์สุนัขจิ้งจอกจะสว่างมากตลอดทั้งคืน เพราะการสะท้อนแสงของจันทร์สุนัขจิ้งจอก
2. จันทร์เพ็ญในเดือนกุมภาพันธ์ มีชื่อว่า ดวงจันทร์หิมะ (Snow Moon)
ทั้งนี้เพราะเดือนกุมภาพันธ์ ยังหนาวอยู่และมีหิมะหนามากกว่าเดือนมกราคม สำหรับผู้ที่เรียกจันทร์เพ็ญเดือนมกราคมว่าเป็นดวงจันทร์หิมะ จะเรียกจันทร์เพ็ญเดือนนี้ว่าดวงจันทร์แห่งความหิว (Hunger Moon) เพราะเป็นสภาพที่ยากลำบากในการล่าสัตว์ จันทร์เพ็ญในเดือนกุมภาพันธ์จะอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าเหนือแต่อยู่ใกล้ศูนย์สูตรฟ้ามากกว่ากลุ่มดาวปู ดังนั้นดวงจันทร์หิมะจึงขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออกมากกว่าเดื่อนมกราคม โดยขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศา ขึ้นเวลาหัวค่ำ เส้นทางขึ้น-ตกของดวงจันทร์จะเฉียงไปทางใต้ตามละติจูดของผู้สังเกต เช่น ถ้าละติจูดของผู้สังเกตเป็น 50 องศาเหนือ ดวงจันทร์จะขึ้นเฉียงไปทางใต้ของเส้นตั้งฉากกับขอบฟ้าเป็นมุม 50 องศา ทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศา เมื่อขึ้นไปสูงสุดจะอยู่ทางทิศใต้ที่มุมเงย 90๐ – 50๐ + 15๐ เท่ากับ 55 องศา และตกไปทางตะวันตกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศา
3. จันทร์เพ็ญในเดือนมีนาคม เรียกว่า ดวงจันทร์ไส้เดือน (Worm Moon)
เดือนมีนาคมหิมะเริ่มละลาย เพราะอากาศอุ่นขึ้นเนื่องจากกำลังย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเริ่มูในตอนปลายเดือนมีนาคม (21 มีนาคม เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดีและตกตรงจุดทิศตะวันตกพอดี ทำให้กลางวันเท่ากับกลางคืน) เมื่อหิมะละลายพื้นดินจะชุ่มและอ่อนนุ่ม ไส้เดือนโผล่หัวออกมาหาอาหารได้ สังเกตเห็นรู้ไส้เดือนตลอดทั้งมูลของมัน สัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิเริ่มปรากฏ เป็นเสียงร้องของนกกา เรียกจันทร์เพ็ญในเดือนนี้อีกชื่อว่า ดวงจันทร์นกกา (Crow Moon) เกิดเปลือกนอกใส ๆของน้ำแข็งที่มาจากหิมะละลาย จึงเรียกว่า ดวงจันทร์เปลือกนอก (Crust Moon) เป็นจันทร์เพ็ญสุดท้ายของฤดูหนาว เนื่องจากวันที่ 21 มีนาคม ดวงอาทิตย์อยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าพอดี ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวปลา จันทร์เพ็ญในช่วงนี้อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จึงอยู่ในกลุ่มดาวผู้หญิงสาว เส้นทางขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์และของจันทร์เพ็ญจึงใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดี ขณะอยู่สูงสุดหรือผ่านเมริเดียนจะอยู่ทางใต้ของจุดเหนือศีรษะเท่ากับมุมที่บอกละติจูดของผู้สังเกต เช่น ถ้าอยู่ที่ละติจูด 60 องศาเหนือ จะเห็นดวงจันทร์ไส้เดือนผ่านเมริเดี้ยนที่มุมเงย 90๐ – 60๐ เท่ากับ 30 องศาเหนือขอบฟ้าทิศใต้ ดวงจันทร์ไส้เดือนจะปรากฏอยู่บนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน
ท้องฟ้าแสดงเส้นทางขึ้นตกของดวงจันทร์หิมะของผู้ที่อยู่ ณ ละติจูด 50 องศาเหนือ
4. จันทร์เพ็ญในเดือนเมษายน เรียกว่า ดวงจันทร์สีชมพู (Pink Moon)
ในซีกโลกเหนือ เดือนเมษายนอยู่ในช่วงอากาศอบอุ่นขึ้นต้นไม้ผลิดอกออกใบเต็มที่ พื้นดินเขียวชอุ่มด้วยพืชตลอดทั้งหญ้าสีชมพู และดอกไม้นานาชนิด จันทร์เพ็ญในเดือนนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกคือ ดวงจันทร์หญ้างอก (Sprouting Grass Moon) ดวงจันทร์ไข่ (Eggs Moon) และ ดวงจันทร์ปลา (Fish Moon) สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ชายทะเลดวงอาทิตย์ในเดือนเมษายนจะอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าเหนือ และในปลายเดือนเมษายน ดวงอาทิตย์จะอยู่ห่างไปทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 15 องศา จันทร์เพ็ญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในช่วงนี้จึงอยู่ในกฟ้าใต้ในกลุ่มดาวคั้นชั่ง ดวงจันทร์สีชมพูจะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้ไม่น้อยกว่า 15 องศา เมื่ออยู่สูงสุดจะอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้มากกว่าเดือนก่อน ๆ ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ถ้ำสังเกต ณ ละติจูด60 องศาเหนือ จะเห็นดวงจันทร์ผ่านเมริเดียน ณ จุดที่มีมุมเงยเพียง 90๐ – 60๐ – 15๐ เท่ากับ 15 องศา ดวงจันทร์สี่ชมพูจึงอยู่ในระดับต่ำใกล้ขอบฟ้าตลอดทั้งคืน
เส้นทางขึ้น-ตา ของดวงจันทร์สีชมพูจากละติจูด 60 องศาเหนือ
5. จันทร์เพ็ญในเดือนพฤษภาคม เรียกว่า ดวงจันทร์ดอกไม้ (Flower Moon)
ในเดือนพฤษภาคม ดอกไม้นานาชนิดจะบานสะพรั่ง พื้นดินอุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะลงข้าวโพด ดวงจันทร์ดอกไม้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ดวงจันทร์วันปลูกข้าวโพด (Corn Planting Moon) ดวงอาทิตย์ในปลายเดือนพฤษภาคมอยู่ในกลุ่มดาววัว ซึ่งอยู่ทางซีกฟ้าเหนือ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 20 องศาเป็นช่วงที่กลางวันยาวกว่ากล้างคืน จันทร์เพ็ญซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ
ดวงอาทิตย์จะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้ ดังนั้นดวงจันทร์ดอกไม้จึงขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้ประมาณ 20 องศา และตกไปทางตะวันตกเฉียงไปทางใต้ประมาณ 20 องศาเส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์ดอกไม้จะอยู่ค่อนไปทางทิศใต้มากกว่าดวงจันทร์สีชมพู
6. จันทร์เพ็ญในเดือนมิถุนายน เรียกว่า ดวงจันทร์สตรอเบอร์รี่ (Strawberry Moon)
วันที่ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ปรากฎห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทางเหนือมากที่สุด ตรงกับวันครีษมายัน (Summer Solstice) ในซีกโลกเหนือ วันนี้เป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดดวงอาทิตย์ขึ้นเฉียงไปทางเหนือ มากกว่าเดือนอื่น ๆ และดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ดังนั้นดวงจันทร์สตรอเบอร์รี่ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์จึงอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งอยู่ในซีกฟ้าใต้โดยดวงจันทร์จะอยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางใต้เกือบ 30 องศา เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์สตรอเบอร์รี่จึงอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้มากขึ้นกว่าเดือนอื่น ๆ
7. จันทร์เพ็ญในเดือนกรกฎาคม เรียกว่า ดวงจันทร์กวางผู้ (Buck Moon)
ในเดือนกรกฎาคมกวางตัวผู้ ตัวเมียเจริญเติบโตขึ้นมีขนงอกที่เขาของตัวผู้ จันทร์เพ็ญในเดือนกรกฎาคม จี้งมีชื่อว่าดวงจันทร์กวางผู้ นอกจากนั้นลมฟ้าอากาศแปรปรวนมีฟ้าร้องฟ้าแลบอยู่บ่อย ๆ ทำให้ดวงจันทร์กวางผู้มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า ดวงจันทร์ฟ้าร้อง (Thunder Moon) ชนพื้นเมืองบางเผ่าเรียกว่า ดวงจันทร์หญ้าเฮย์ (Hay Moon) เป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวหญ้าเฮย์
ดวงอาทิตย์ในเดือนกรกฎาคมอยู่ในกลุ่มดาวปู่ อยู่ห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทางเหนือประมาณ 20 องศา ดั่งนั้นจันทร์เพ็ญในช่วงนี้จึงอยู่ห่าง ศูนย์สูตรฟ้าไปทางใต้ประมาณ 20 องศา เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์จะยังอยู่ทางทิศใต้ของศูนย์สูตรฟ้าแต่อยู่ค่อนมาทางเหนือมากกว่าเดือนก่อน
8. จันทร์เพ็ญในเดือนสิงหาคม เรียกว่าดวงจันทร์ปลาสเตอร์เจียน (Sturgeon Moon)
ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งพบทั่วไปในทะเลสาบใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และพื้นที่ใกล้เคียงชาวประมงจับปลาชนิดนี้ได้ง่ายในเดือนสิงหาคม จันทร์เพ็ญในเดือนนี้จึงมีชื่อว่า ดวงจันทร์ปลาสเตอร์เจียน นอกจากนี้เดือนสิงหาคมมักมีหมอกควัน ทำให้เห็นจันทร์เพ็ญเป็นสีแดง ชนเผ่าพื้นเมืองบางผ่าเห็นเช่นนั้นจึงเรียกว่า ดวงจันทร์สีแดง (Red Moon)
ดวงอาทิตย์ในเดือนสิงหาคมอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ซึ่งอยู่ทางเหนือของศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 15 องศา จันทร์เพ็ญในช่วงนี้จึงอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำตรงข้ามกับกลุ่มดาวสิงโตและอยู่ทางใต้ของศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 15 องศา เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์ปลาสเตอร์เจียนจึงยังอยู่ทางใต้ของศูนย์สูตรฟ้าแต่อยู่ใกล้ศูนย์สูตรฟ้ามากขึ้น ดวงจันทร์อยู่บนฟ้านานมากขึ้นกว่าจันทร์เพ็ญในเดือนกรกฎาคม
9. จันทร์เพ็ญในเดือนกันยายน เรียกว่าดวงจันทร์เก็บเกี่ยว (Harvest Moon)
กันยายนเป็นช่วงที่ฤดูร้อนกำลังจะสิ้นสุด และย่างเข้าฤดูใบไม้ร่วง วันที่ 23 กันยายนดวงอาทิตย์ปรากฎอยู่บนศูนย์สูตรฟ้าคล้ายวันที่ 21 มีนาคม แต่เป็นคนละฤดู กันยายนเป็นฤดูเก็บเกี่ยวพืชผล เช่น ข้าวโพด ถั่ว ข้าว แสงจันทร์เพ็ญในเดือนนี้สว่างมากพอที่จะช่วยให้ชาวนาของยุโรปเก็บเกี่ยวพืชผลได้นานขึ้นในช่วงเวลากลางคืน จึงเรียกว่าดวงจันทร์เก็บเกี่ยว บางที่เรียกว่า ดวงจันทร์ข้าวโพด (Corn Moon)
ดวงอาทิตย์ในวันนี้อยู่ในกลุ่มดาวผู้หญิงสาว จันทร์เพ็ญจึงอยู่ในกลุ่มดาวปลา เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงคล้ายกัน เพราะต่างก็เป็นกลุ่มดาวที่ศูนย์สูตรฟ้าผ่าน
10. จันทร์เพ็ญในเดือนตุลาคม เรียกว่าดวงจันทร์นักล่าสัตว์ (Hunter's Moon)
ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชผลแล้ว ใบไม้ใบหญ้าจะหล่นและพวกกวางจะอ้วนพี่ พร้อมที่จะเป็นอาหารของมนุษย์ได้ ทำให้เกิดฤดูการล่าสัตว์ แสงจันทร์เพ็ญสว่างช่วยให้นักล่าสัตว์มองเห็นทางที่จะขี่ม้า และมองเห็นสุนัขจิ้งจอกและสัตว์อื่นได้โดยไม่ยากจันทร์เพ็ญเดือนนี้จึงได้ชื่อว่า ดวงจันทร์นักล่าสัตว์
ดวงอาทิตย์ในเดือนตุลาคมอยู่ทางใต้ของศูนย์สูตรฟ้าโดยอยู่ห่างไปทางใต้ประมาณ 15 องศา อยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งกลางวันสั้นกว่ากลางคืน จันทร์เพ็ญในเดือนตุลาคมอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์จึงอยู่ในกลุ่มดาวแกะ เส้นทางขึ้น-ตกของดวงจันทร์จะอยู่ทางเหนือของศูนย์สูตรฟ้า เห็นดวงจันทร์เพ็ญอยู่สูงจากขอบฟ้าด้านทิศใต้มากกว่าจันทร์เพ็ญเดือนกันยายน อยู่บนท้องฟ้านานมากกว่า 12 ชั่วโมง
11. จันทร์เพ็ญในเดือนพฤศจิกายน เรียกว่าดวงจันทร์บีเวอร์ (Beaver Moon)
เดือนนี้กำลังจะย่างเข้าฤดูหนาว พวกบีเวอร์รู้ถึงเวลาที่จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับอากาศหนาวเย็นที่กำลังจะมา จึงสร้างที่อยู่และทำเขื่อนให้แข็งแรง และสำหรับมนุษย์ก็เป็นช่วงเวลาของการทำกับดักบีเวอร์ เพื่อเอาหนังมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มกันหนาว ชนพื้นเมืองบางเผ่าเรียกว่า ดวงจันทร์หนาวเหน็บ (Frosty Moon)
ดวงอาทิตย์ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทางใต้มากขึ้น ทำให้เวลากลางวันสั้นลงอีก ส่วนจันทร์เพ็ญของเดือนนี้จะอยู่ในกลุ่มดาววัว ซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือของศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 20 องศา เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์จึงอยู่ทางเหนือมากกว่าเดือนพฤศจิกายน โดยดวงจันทร์จะอยู่บนท้องฟ้ามากกว่า 12 ชั่วโมง
12. จันทร์เพ็ญในเดือนธันวาคม เรียกว่าดวงจันทร์หนาวเย็น (Cold Moon)
ธันวาคมเป็นช่วงที่ฤดูหนาวกำลังเริ่มต้น จันทร์เพ็ญของเดือนธันวาคมจึงเรียกว่า ดวงจันทร์หนาวเย็น เพราะเวลาที่ดวงจันทร์อยู่บนฟ้า คนบนโลกจะหนาวเย็นตลอดทั้งคืนที่ยาวนานดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 ธันวาคูม จะปรากฏอยู่ใต้สุดในกลุ่มดาวคนยิงธนู เป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวนานที่สุด จันทร์เพ็ญช่วงนี้จึงอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ซึ่งอยู่ห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทางเหนือมากที่สุด ดั่งนั้น เส้นทางขึ้น-ตก ของดวงจันทร์หนาวเย็นจึงอยู่เหนือสุดของเส้นทางขึ้น - ตก ของจันทร์เพ็ญเดือนอื่น ๆ โดยดวงจันทร์จะอยู่บนฟ้านานที่สุดด้วย
13. จันทร์เพ็ญในประเทศไทย
ประเทศไทยูของเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร จันทร์เพ็ญในแต่ละเดือนมีเส้นทางขึ้น-ตก ไม่ห่างกันมากนัก ทั้งนี้เพราะศูนย์สูตรฟ้าที่ดูจากประเทศไทยจะผ่านจุดสูงสุดหรือผ่านเมริเดียน ณ จุดที่ทางใต้ของจุดเหนือศีรษะเพียง 15 องศา และจันทร์เพ็ญจะมีเส้นทางขึ้น-ตกห่างศูนย์สูตรฟ้าไปทางใต้หรือทางเหนือของศูนย์สูตรฟ้าประมาณ 28 องศา เราจึงเห็นจันทร์เพ็ญทุกเดือนอยู่สูงจากขอบฟ้าเสมอ และมีชื่อเฉพาะจันทร์เพ็ญของเดือนสำคัญในทางพระพุทธศาสนาซึ่งได้แก่ จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชาจันทร์เพ็ญวันวิสาขบูชา จันทร์เพ็ญวันอาสาฬหบูชาจันทร์เพ็ญวันออกพรรษา นอกจากนี้ยังมีจันทร์เพ็ญอีกวันหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นวันประเพณีสำคัญของประเทศไทย นั่นคือวันเพ็ญเดือน 12 วันลอยกระทง
13.1 จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชา
ตรงกับวันเพ็ญหรือขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ทางจันทร์คติ ซึ่งไมใช่เดือน 3 ทางสุริยคติ อย่างหลังนี้หมายถึงเดือนมีนาคม เดือนทางจันทรคติไม่มีชื่อเดือน ยุกเว้นเดือน 1 และ เดือน 2 ซึ่งเรียกว่าเดือนอ้าย และเดือนยี่ ตามลำดับ เดือนจันทรคติที่เหลือตั้งแต่ 3-12 เป็นตัวเลขบอกลำดับของเดือน โดยกำหนดให้เดือนคี่มี 29 วัน เดือนคู่มี 30 วัน เมื่อเฉลี่ยต่อเดือนจะได้จำนวนวันต่อเดือนเป็น 29.5 วันนี่คือตัวเลขที่ใกล้เคียงกับคาบซินอดิกของดวงจันทร์ (ช่วงเวลาระหว่างจันทร์เพ็ญแรกถึงจันทร์เพ็ญถัดไป) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 29.530589 วัน (29 วัน 12 ชั่วโมง 44 นาที 2.9 วินาที) แต่เพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลหรือปีทางสุริยคติจึงมีปีจันทรคติ 3 ประเภท คือ ปีปกติมาสปกติวาร (มี 12 เดือนรวม 354 วัน) ปีอธิกมาสปกติวาร (มี 13 เดือน โดยกำหนดให้มีเดือน 8 สองหน รวม 384 วัน) และ ปีปกติมาสอธิกวาร (มี 12 เดือน โดยเดือน 7 มี 30 วัน ทำให้จำนวนวันใน 1 ปีเท่ากับ 355 วัน) ปีจันทรคติแตกต่างจากปีสุริยคติแต่เทียบเคียงกันได้ เช่นจันทร์เพ็ญวันมาฆบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 3 จันทร์เพ็ญอยู่ในมาฆฤกษ์ บริเวณดาวหัวใจสิงห์ (Regulus) ในกลุ่มดาวสิงโต (Leo) ดวงอาทิตย์ในวันนี้ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับดวงจันทร์จะต้องอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำหรือกลุ่มดาวเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นวันมาฆบูชา จึงอยู่ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์สำหรับ ปีปกติมาสปกติวาร หรือ ปีปกติมาสอธิกวาร แต่ถ้าเป็น ปีอธิกมาสปกติวาร วันมาฆบูชาจะตรงกับวันเพ็ญเดือน 4 ซึ่งจะตรงกับเดือนมีนาคมในปฏิทินสุริยคติ เช่น พ.ศ. 2558 เป็น ปีอธิกมาสปกติวาร (มีเดือน 8 สองหน) วันมาฆบูชาตรงกับวันที่ 4 มีนาคม แต่ พ.ศ. 2557 เป็นปีปกติมาสปกติวาร วันมาฆบูชาตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นต้น
ในประเทศไทย จันทร์เพ็ญวันมาฆบูชาจะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศาในเวลาหัวค่ำ เมื่อเวลาเที่ยงคืนจะขึ้นไปสูงเหนือศีรษะ และตกทางตะวันตกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 15 องศาในเวลาเช้าของวันใหม่ เป็นจันทร์เพ็ญที่สวยงามตลอดทั้งคืน
13.2 จันทร์เพ็ญวันวิสาขบูชา
ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ทางจันทรคติ จันทร์เพ็ญอยู่ในวิสาขฤกษ์ ซึ้งอยู่บริเวณดาวแอลฟา คันชั่ง ในกลุ่มดาวคันชั่ง ดวงอาทิตย์ในวันนี้จะอยู่ในกลุ่มดาวแกะหรือกลุ่มดาวเดือนเมษายน จันทร์เพ็ญวันวิสาขบูชาจึงตรงกับปลายเดือนเมษายนและต้นเดือนพฤษภาคม สำหรับปีปกติมาสปกติวาร และจะเป็นปลายเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือน มิถุนายนสำหรับปีอธิกมาสปกติวาร ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 7 ทางจันทรคติ
13.3 จันทร์เพ็ญวันอาสาฬหบูชา
ตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 ทางจันทรคติ (วันเพ็ญเดือน 9 สำหรับปีอธิกมาสปกติวาร)อาสาฬหฤกษ์อยู่บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ จึงตรงกับปลายเดือนมิถุนายนจันทร์เพ็ญวันอาสาฬหบูชา จะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้มากที่สุด เมื่ออยู่สูงสุดจะอยู่ค่อนไปทางใต้ของจุดเหนือศีรษะและตกทางตะวันตกเฉียงไปทางใต้ ในปีอธิกมาสปกติวารวันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันเพ็ญเดือน 9
13.4 จันทร์เพ็ญวันออกพรรษา
เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2543)
13.5 วันอุโบสถ
ตรงกับวันเพ็ญหรือวันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน วันแรม 14 ค่ำ (สำหรับเดือนคี่) และวันแรม 15 ค่ำ (สำหรับเดือนคู่) เรียกว่าวันพระใหญ่เป็นวันที่พระสงฆ์ลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์ และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีล คือ ศีล 8
13.6 จันทร์เพ็ญวันลอยกระทง
ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12จันทร์เพ็ญอยู่บริเวณกระจุกดาวลูกไก่ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น กิตติกาฤกษ์ เมื่อจันทร์เพ็ญอยู่บริเวณกระจุกดาวลูกไก่ในกลุ่มดาววัวดวงอาทิตย์จะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องหรือกลุ่มดาวเดือนพฤศจิกายน จันทร์เพ็ญวันลอยกระทงจึงอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน หรือต้นเดือนธันวาคม
จันทร์เพ็ญวันลอยกระทง จะขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากกว่าจันทร์เพ็ญสำคัญอื่น ๆ เป็นจันทร์เพ็ญที่สวยงามอยู่บนท้องฟ้านานกว่าปกติ โดยอาจเห็นนานถึง 13 ชั่วโมง
ดวงจันทร์บริวารของโลกเป็นดาวที่มีตำนานกล่าวถึงมากมาย เช่นไทยเราเชื่อว่าพระจันทร์เป็นเทพเจ้าหนุ่ม สง่างามถือกระบองและดอกบัว นั่งบนราชรถที่ลากด้วยม้าขาว 10 ตัวขึ้นจากฟากฟ้าตะวันออกทุกคืน เป็นผู้ให้กำเนิดเวลากลางคืนจึงมีชื่อว่า นิศากร (Nishakar) หรือ เป็นผู้มีกระต่ายอยู่บนร่าง (ศศิ : Shashi) หรือเป็นผู้มีน้ำอมฤต (โสม : Soma) ดวงจันฺทร์สวยงาม ไม่ว่าจะเต็มดวง ค่อนด่วง ครึ่งดวง หรือเป็นเสี้ยวดวงจันทร์ให้ความสุขแก่ทุกคนถ้วนหน้าและตลอดเวลาที่เราเห็นดวงจันทร์
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)