สาระสำ�คัญ
การเคลื่อนที่ของน้ำ�ในพืชเป็นไปตามความแตกต่างของชลศักย์ พืชจะลำ�เลียงน้ำ�และธาตุอาหาร
ต่างๆ จากดินทางเซลล์ขนรากแล้วลำ�เลียงผ่านชั้นคอร์เทกซ์เข้าสู่ไซเล็มในชั้นสตีล ซึ่งเป็นการลำ�เลียงน้ำ�
ในแนวระนาบ และลำ�เลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชในแนวดิ่งทางไซเล็ม ในภาวะปกติการลำ�เลียงน้ำ�
จากรากสู่ยอดของพืชอาศัยแรงดึงจากการคายน้ำ�ร่วมกับแรงโคฮีชัน แรงแอดฮีชัน แต่ในภาวะที่
บรรยากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมากจนไม่สามารถเกิดการคายน้ำ�ได้ตามปกติและมีปริมาณน้ำ�ในดิน
มากเพียงพอ การลำ�เลียงน้ำ�จะอาศัยความดันราก ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดปรากฏการณ์กัตเตชัน
พืชมีการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ�ผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ ปากใบพบได้ที่ใบและ
ลำ�ต้นอ่อน เมื่อความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศภายนอกต่ำ�กว่าความชื้นสัมพัทธ์ภายในใบ ทำ�ให้ไอน้ำ�ภายในใบ
แพร่ออกมาทางรูปากใบ เรียกว่า การคายน้ำ� โดยมีหลายปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ�ของพืช เช่น
ความชื้นสัมพัทธ์ ลม อุณหภูมิ ปริมาณน้ำ�ในดิน ความเข้มแสง
พืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารที่ต่างกันทั้งชนิดและปริมาณพืชได้รับธาตุอาหารจากดินผ่าน
ทางรากแล้วเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชพร้อมกับการลำ�เลียงน้ำ�ในไซเล็ม ความรู้เกี่ยวกับสมบัติ
ของธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชในสารละลาย
ธาตุอาหาร
อาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงจากแหล่งสร้าง จะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นซูโครส
และลำ�เลียงผ่านทางโฟลเอ็มโดยอาศัยกลไกการลำ�เลียงอาหารในพืชซึ่งเกี่ยวข้องกับความแตกต่างของ
ความดันในซีฟทิวบ์เมมเบอร์ระหว่างบริเวณแหล่งสร้างและแหล่งรับ
เวลาที่ใช้
บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 9 ชั่วโมง
10.1 การลำ�เลียงน้ำ�
2 ชั่วโมง
10.2 การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ�
3 ชั่วโมง
10.3 การลำ�เลียงธาตุอาหาร
2 ชั่วโมง
10.4 การลำ�เลียงอาหาร
2 ชั่วโมง
รวม
9 ชั่วโมง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
112