การเคลื่อนที่ของน้ำ�โดยออสโมซิสเป็นผลมาจากอะไร
นักเรียนอาจตอบว่าเป็นผลจากความแตกต่างของความเข้มข้นของสารละลาย โดยครูอาจ
ทบทวนความรู้ให้แก่นักเรียนว่า น้ำ�สามารถออสโมซิสผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ โดยโมเลกุลน้ำ�มีการเคลื่อนที่
ไปมาผ่านเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่สุทธิจะพบว่าน้ำ�มีการเคลื่อนที่สุทธิ
จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายต่ำ�ไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายสูงจนกระทั่ง
สารละลายภายในเซลล์มีความเข้มข้นเท่ากับสารละลายภายนอกเซลล์หรือเข้าสู่ภาวะสมดุลของ
การแพร่ โดยในภาวะสมดุลนี้การเคลื่อนที่ของโมเลกุลน้ำ�ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จะยังคงเกิดขึ้นอยู่ แต่
การเคลื่อนที่สุทธิของน้ำ�จะเป็นศูนย์
จากนั้นครูให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าการเคลื่อนที่ของน้ำ�นั้นสามารถอธิบายได้ด้วยชลศักย์ (water
potential) โดยอธิบายเกี่ยวกับชลศักย์และปัจจัยที่ทำ�ให้ชลศักย์เปลี่ยนแปลง ซึ่งนักเรียนควรสรุป
ได้ว่า ชลศักย์ คือ พลังงานอิสระของน้ำ�ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร โดยน้ำ�จะมีการเคลื่อนที่สุทธิจากบริเวณ
ที่มีชลศักย์สูงไปบริเวณที่มีชลศักย์ต่ำ� ชลศักย์จะเปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทำ�ต่อโมเลกุล
ของน้ำ� เช่น การมีตัวละลาย แรงดัน และแรงดึง ครูอาจให้นักเรียนศึกษารูป 10.1 ในหนังสือเรียนหรือ
วีดิทัศน์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของน้ำ�ระหว่างบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารละลายแตกต่างกัน เพื่อ
แสดงถึงชลศักย์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ
ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชลศักย์
1. ชลศักย์มีหน่วยเป็นหน่วยของความดัน เช่น bar, atm, MPa (Megapascal)
2. สัญลักษณ์ของชลศักย์ใช้แทนด้วย
w
อ่านว่า psi (ไซ)
3. ชลศักย์เป็นผลรวมของพลังงานอิสระของน้ำ�ที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อ
พลังงานอิสระของโมเลกุลน้ำ� ดังนั้นการพิจารณาชลศักย์จึงต้องดูจากหลายปัจจัยร่วมกัน
เช่น สารละลายที่ได้รับแรงดันและแรงดึงในเวลาเดียวกัน ค่าของชลศักย์จะขึ้นอยู่กับ
ผลรวมจากทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ ตัวละลาย แรงดัน และแรงดึง
4. ในพืชยังมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับชลศักย์ เช่นอุณหภูมิแรงโน้มถ่วงของโลก แรงที่โมเลกุลน้ำ�
กระทำ�กับโมเลกุลต่าง ๆ ของผนังเซลล์ โปรตีนภายในเซลล์ เม็ดแป้ง อนุภาคดิน
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
115