แรงดึงจากการคายน้ำ�
ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าการซึมตามรูเล็กเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะ
ลำ�เลียงน้ำ�ขึ้นไปถึงส่วนยอดของพืชที่มีความสูงมากๆ ได้จึงต้องอาศัยแรงดึงจากการคายน้ำ�ร่วมด้วย
ครูใช้รูป 10.4 และ 10.5 ในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนบอกได้ว่าการคายน้ำ�เกิดขึ้นที่ใบ และ
เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของน้ำ�ทำ�ให้เกิดแรงดึงต่อเนื่องกันจากใบจนถึงราก เป็นผลให้
น้ำ�ภายในไซเล็มลำ�เลียงจากรากขึ้นมาจนถึงลำ�ต้นและใบตามลำ�ดับ โดยเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับ
โครงสร้างภายในของราก ลำ�ต้น และใบ เพื่อให้นักเรียนเห็นเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการลำ�เลียงน้ำ�
ซึ่งเชื่อมต่อกัน และใช้คำ�ถามถามนักเรียนเพื่อให้อภิปรายร่วมกันดังนี้
การเคลื่อนที่ของน้ำ�จากรากขึ้นสู่ด้านบนซึ่งเป็นผลจากแรงดึงจากการคายน้ำ�นี้ เป็นไปตาม
ความแตกต่างของชลศักย์หรือไม่ อย่างไร
จากการอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรสรุปได้ว่า เป็นไปตามความแตกต่างของชลศักย์ โดย
แรงดึงจากการคายน้ำ�ทำ�ให้ชลศักย์ในบริเวณใบลดลง จนกระทั่งเกิดความแตกต่างของชลศักย์ที่ใบกับ
ชลศักย์ที่รากที่สูงเพียงพอ น้ำ�จึงเคลื่อนที่ขึ้นสู่ด้านบนในทิศทางที่สวนกับทิศทางของแรงโน้มถ่วงของ
โลก
ความดันราก
ครูนำ�ต้นพืชขนาดเล็ก เช่น ดาวเรือง ดาวกระจาย ที่ตัดลำ�ต้นบริเวณเหนือพื้นดิน
ประมาณ 5 เซนติเมตร มารดน้ำ�ให้ชุ่มแล้วตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที จะสังเกตเห็นน้ำ�บริเวณเหนือ
รอยตัด จากนั้นครูใช้คำ�ถามถามนักเรียนว่า น้ำ�บริเวณเหนือรอยตัดมาจากไหน และเกิดขึ้นได้อย่างไร
นักเรียนอาจตอบว่าเกิดจากการซึมตามรูเล็ก ครูให้ข้อมูลแก่นักเรียนว่านอกจากแรงดึงจากการคายน้ำ�
และการซึมตามรูเล็กแล้วในบางครั้งการเคลื่อนที่ของน้ำ�จากรากขึ้นสู่ด้านบนอาจอาศัยความดันราก
จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับความดันรากในหนังสือเรียน นักเรียนควรอธิบายได้ว่า
ในภาวะที่พืชไม่มีการคายน้ำ�และน้ำ�ในดินมีมากพอจนทำ�ให้เกิดความดันราก ซึ่งความดันรากที่เพิ่มขึ้น
นี้ทำ�ให้ชลศักย์ที่รากสูงขึ้น น้ำ�จึงเคลื่อนที่ไปตามไซเล็มขึ้นสู่ด้านบนซึ่งชลศักย์ต่ำ�กว่า นักเรียนจะสังเกต
เห็นหยดน้ำ�บริเวณรอยตัด แล้วใช้รูป 10.6 ในหนังสือเรียน เพื่อถามนักเรียนว่า
กัตเตชันเกิดได้ในภาวะใด
ความดันรากสามารถอธิบายการเกิดกัตเตชันได้อย่างไร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
121