โดยความหนาแน่นของปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านบนกับเอพิเดอร์มิสด้านล่างของพืช
ชนิดเดียวกันอาจแตกต่างกัน ดังรูป
ลักษณะลักษณะผิวใบของพลับพลึงตีนเป็ดที่กำ�ลังขยาย 400 เท่า
เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม
นักเรียนสรุปเกี่ยวกับการคายน้ำ�ของชบาจากการเปลี่ยนสีของกระดาษโคบอลต์คลอไรด์
ได้ว่าอย่างไร
เนื่องจากการเปลี่ยนสีของกระดาษโคบอลต์คลอไรด์สัมพันธ์กับความชื้น จากการทดลอง
พบว่าการเปลี่ยนสีของกระดาษโคบอลต์คลอไรด์ที่ผิวใบด้านบนและผิวใบด้านล่างของชบา
มีความเร็วแตกต่างกัน โดยผิวใบด้านล่างมีการเปลี่ยนสีของกระดาษโคบอลต์คลอไรด์เร็ว
กว่า จึงสรุปได้ว่าชบามีการคายน้ำ�ที่ผิวใบด้านล่างมากกว่าผิวใบด้านบน
เซลล์คุมแตกต่างจากเซลล์อื่นๆ ในชั้นเอพิเดอร์มิสอย่างไร
แตกต่างคือ เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไต โดยจะมี 2 เซลล์ ประกบกันเป็นคู่ทางด้านเว้า หรือ
ในพืชบางชนิดอาจพบเซลล์คุมรูปร่างคล้ายดัมเบล 2 เซลล์ มาประกบกัน ทำ�ให้เกิดเป็น
ช่องตรงกลาง เรียกช่องนี้ว่า รูปากใบ ภายในเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ จึงมักเห็นเซลล์คุม
เป็นสีเขียว แต่เซลล์เอพิเดอร์มิสทั่ว ๆ ไปมักไม่มีคลอโรพลาสต์และจะมีลักษณะค่อนข้าง
เหลี่ยมหรือบางเซลล์มีลักษณะมีรอยหยัก นอกจากนี้อาจเห็นเอพิเดอร์มิสบางเซลล์มี
ลักษณะเป็นเส้น เรียก ขน (hair)
เอพิเดอร์มิสด้านบน
เอพิเดอร์มิสด้านล่าง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
126