ความหนาแน่นของปากใบจะบอกถึงอัตราการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ�ของพืช ซึ่ง
สัมพันธ์กับลักษณะการดำ�รงชีวิตของพืช ดังนี้
- ลีลาวดีซึ่งเป็นพืชบกทั่วไป เอพิเดอร์มิสด้านล่างมีความหนาแน่นของปากใบมาก แต่
ไม่พบปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านบน เนื่องจากพืชบกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแก๊ส
ต่าง ๆ และความชื้นในบรรยากาศน้อย การมีปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสที่ผิวใบ
ด้านบนน้อยจะช่วยลดการสูญเสียน้ำ�จากการคายน้ำ�
- บัวสายซึ่งเป็นพืชน้ำ�ที่มีใบปริ่มน้ำ� เอพิเดอร์มิสด้านบนมีความหนาแน่นของปากใบ
มาก ส่วนเอพิเดอร์มิสด้านล่างไม่มีปากใบ เนื่องจากพืชน้ำ�ได้รับน้ำ�อยู่ตลอดเวลา
แต่ได้รับแก๊สที่ละลายอยู่ในน้ำ�น้อย การมีรูปากใบที่เอพิเดอร์มิสด้านบนมากจะช่วย
ให้การคายน้ำ�เกิดได้รวดเร็ว และทำ�ให้ได้รับแก๊สจากบรรยากาศมาก
- สับปะรดสีซึ่งเป็นพืชทนแล้ง มีปากใบน้อยเมื่อเทียบกับพืชบกทั่วๆ ไปและพืชน้ำ� โดย
ไม่พบปากใบบริเวณเอพิเดอร์มิสด้านบนเลย เนื่องจากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง
การมีปากใบน้อยจะช่วยให้ลดการสูญเสียน้ำ� นอกจากนี้ปากใบของพืชทนแล้งยัง
มักจะฝังตัวลึกกว่าระดับชั้นเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส ผิวใบทั้งด้านบนและด้านล่างยังมี
สารคิวทินเคลือบอยู่ พืชทนแล้งจึงมีสภาพโครงสร้างของใบเหมาะสมที่จะทำ�ให้
สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ได้โดยสูญเสียน้ำ�น้อยที่สุด
10.2.1 กลไกการเปิดปิดปากใบ
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 10.7 ในหนังสือเรียนเกี่ยวกับลักษณะของปากใบในเวลากลางวันและ
กลางคืน แล้วใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนถามนักเรียนว่าการเปิดและปิดของปากใบเกิดขึ้นได้อย่างไร
คำ�ตอบที่ได้อาจยังไม่ถูกต้อง ครูควรรวบรวมคำ�ตอบของนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล
เกี่ยวกับกลไกการเปิดปิดปากใบของใบพืชจากหนังสือเรียน และรูป 10.8 และ 10.9 ในหนังสือเรียน
โดยมีคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้น ดังนี้
การเปิดปิดปากใบเป็นผลมาจากอะไร
ลักษณะของเซลล์คุมสัมพันธ์กับการเปิดปิดปากใบอย่างไร
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
129