Table of Contents Table of Contents
Previous Page  142 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 142 / 302 Next Page
Page Background

จากการสืบค้นข้อมูลนักเรียนควรอธิบายได้ว่าการเปิดปิดปากใบของพืชเป็นผลมาจากการ

เปลี่ยนแปลงความเต่งของเซลล์คุม ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายภายใน

เซลล์คุม โดยความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการเคลื่อนที่

เข้าและออกของโพแทสเซียมไอออน หรือสารต่าง ๆ และการสะสมของซูโครส โดยในเวลาเช้าเมื่อ

ความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์คุมสูงขึ้นส่งผลให้น้ำ�มีการเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ จนทำ�ให้เซลล์คุม

เต่ง เซลล์คุมจะโค้งตัวและทำ�ให้ปากใบเปิด เมื่อถึงเวลาเย็นความเข้มข้นของสารละลายในเซลล์คุม

ต่ำ�ลงส่งผลให้น้ำ�มีการเคลื่อนที่ออกจากเซลล์ ทำ�ให้เซลล์คุมสูญเสียความเต่ง เซลล์คุมจะแนบกันสนิท

นั่นคือปากใบปิด ทั้งนี้ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมว่า นอกจากโพแทสเซียมไอออนและซูโครสแล้ว

การเปลี่ยนแปลงความเต่งของเซลล์คุมยังมีไอออนและสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายชนิด

10.2.2 การแลกเปลี่ยนแก๊ส

ครูนำ�เข้าสู่เนื้อหาเพื่อให้นักเรียนเห็นถึงความสำ�คัญของการแลกเปลี่ยนแก๊สที่มีต่อการดำ�รง

ชีวิตของพืช โดยใช้คำ�ถาม ดังนี้

แก๊สที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและกระบวนการหายใจระดับเซลล์มีอะไรบ้าง

พืชได้รับ CO

2

และ O

2

มาจากแหล่งใด

นักเรียนควรตอบได้ว่าแก๊สที่พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงคือ CO

2

และแก๊สที่พืช

ใช้ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์คือ O

2

โดยพืชจะได้รับ CO

2

จากกระบวนการหายใจระดับเซลล์

และ O

2

จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้พืชยังได้รับ CO

2

และ O

2

จากการแลกเปลี่ยน

แก๊สกับบรรยากาศ

จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างพืชกับบรรยากาศจาก

หนังสือเรียนและรูป 10.10 ในหนังสือเรียน ซึ่งนักเรียนควรอธิบายได้ว่า พืชมีการแลกเปลี่ยนแก๊สกับ

บรรยากาศผ่านทางปากใบ เมื่อความเข้มข้นของแก๊สในอากาศภายนอกแตกต่างจากภายในใบพืช แก๊ส

จะแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ� การแลกเปลี่ยนแก๊สมีความสำ�คัญ

ต่อการดำ�รงชีวิตของพืชเนื่องจากพืชต้องใช้แก๊สในกระบวนการต่าง ๆ ที่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต เช่น

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง มีการใช้ CO

2

และมีการสร้าง O

2

ส่วนกระบวนการหายใจระดับเซลล์

มีการใช้ O

2

และมีการสร้าง CO

2

ซึ่งความเข้มข้นของแก๊สเหล่านี้ในเซลล์พืชมีการเปลี่ยนแปลง

ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับอัตราการเกิดกระบวนการเหล่านี้ และนำ�ไปสู่การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างพืชกับ

บรรยากาศ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

130