Table of Contents Table of Contents
Previous Page  139 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 139 / 302 Next Page
Page Background

ความหนาแน่นของปากใบชบาสัมพันธ์กับการเปลี่ยนสีของกระดาษโคบอลต์คลอไรด์

อย่างไร

ความหนาแน่นของปากใบชบาสัมพันธ์กับการเปลี่ยนสีของกระดาษโคบอลต์คลอไรด์ โดย

เมื่อทดสอบด้วยกระดาษโคบอลต์คลอไรด์กับใบชบา พบว่าผิวใบด้านล่างซึ่งมีความ

หนาแน่นของปากใบมากกว่า กระดาษโคบอลต์คลอไรด์จะเปลี่ยนสีเร็วกว่าบริเวณผิวใบ

ด้านบนซึ่งมีความหนาแน่นของปากใบน้อยกว่า

ความหนาแน่นของปากใบที่เอพิเดอร์มิสด้านบนและเอพิเดอร์มิสด้านล่างของพืชชนิด

เดียวกัน แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร

แตกต่างกัน โดยที่เอพิเดอร์มิสด้านบนอาจมีความหนาแน่นของปากใบมากกว่าหรือน้อยกว่า

ที่เอพิเดอร์มิสด้านล่างก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ถ้าเป็นพืชบกโดยทั่ว ๆ ไป อาจมี

จำ�นวนปากใบอยู่ที่เอพิเดอร์มิสด้านล่างมากกว่าเอพิเดอร์มิสด้านบน เช่น ชบา หัวใจม่วง

ข้าวโพด เป็นต้น หรือบางชนิดอาจไม่พบปากใบที่เอพิเดอร์มิสด้านบน ส่วนพืชน้ำ�ที่มี

ใบปริ่มน้ำ� เช่น บัวสาย พบปากใบเฉพาะที่เอพิเดอร์มิสด้านบน ในขณะที่พืชน้ำ�ที่ใบอยู่ใต้น้ำ�

เช่น สาหร่ายหางกระรอก ไม่พบปากใบ

จากการทำ�กิจกรรมครูให้นักเรียนอภิปรายและสรุปร่วมกัน ซึ่งนักเรียนควรอธิบายได้ว่าพืช

มีการคายน้ำ�ผ่านทางปากใบ โดยปากใบประกอบด้วยเซลล์คุมและรูปากใบ พืชแต่ละชนิดอาจมีจำ�นวน

ปากใบและลักษณะของเซลล์คุมแตกต่างกันไป ซี่งสัมพันธ์กับการคายน้ำ�และลักษณะการดำ�รงชีวิต

ของพืช

จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

127