Table of Contents Table of Contents
Previous Page  134 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 134 / 302 Next Page
Page Background

ด้านความรู้

- กลไกการลำ�เลียงน้ำ�จากดินเข้าสู่ราก และการลำ�เลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช จากการ

อธิบาย การอภิปราย การตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจ และการทำ�แบบฝึกหัด

ด้านทักษะ

- การสังเกต จากการอธิบาย การอภิปราย และการทำ�แบบฝึกหัด

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

- การใช้วิจารณญาณ จากการอภิปรายและพฤติกรรมในการตอบคำ�ถามในชั้นเรียน

แนวการวัดและประเมินผล

นักเรียนควรตอบได้ว่ากัตเตชัน คือ ปรากฏการณ์ที่พืชสูญเสียน้ำ�ในรูปของหยดน้ำ�ผ่านทาง

รูหยาดน้ำ� เกิดในภาวะที่พืชไม่เกิดการคายน้ำ�เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศสูงมากหรือ

ปากใบปิด และน้ำ�ในดินเคลื่อนที่เข้าสู่รากจนความดันรากมีมากพอ น้ำ�จะเคลื่อนที่ออกมาทาง

โครงสร้างพิเศษที่เรียกว่า รูหยาดน้ำ� ซึ่งอยู่ปลายสุดของไซเล็มบริเวณขอบใบหรือปลายใบ โดยครูอาจ

นำ�รูปรูหยาดน้ำ�จากอินเทอร์เน็ตมาให้นักเรียนศึกษาเพื่อประกอบการอธิบาย จากนั้นครูให้นักเรียน

ตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบดังนี้

การคายน้ำ�และกัตเตชันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

เหมือนกัน โดยเป็นการสูญเสียน้ำ�ของพืช แต่แตกต่างกันในรูปของน้ำ�และตำ�แหน่งที่สูญเสียน้ำ�

โดยการคายน้ำ�พืชจะสูญเสียน้ำ�ในรูปของไอน้ำ� เกิดขึ้นผ่านทางปากใบเป็นหลัก ในขณะที่

กัตเตชันพืชจะสูญเสียน้ำ�ในรูปหยดน้ำ�ผ่านทางรูหยาดน้ำ�

จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของน้ำ�ในไซเล็มว่าน้ำ�จะเคลื่อนที่จาก

รากขึ้นสู่ด้านบนโดยอาศัยการซึมตามรูเล็ก แรงดึงจากการคายน้ำ� และความดันราก โดยร่วมกับแรง

ยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้ำ�กับผนังท่อของไซเล็มเรียกว่า แรงแอดฮีชัน และแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง

โมเลกุลของน้ำ�ด้วยกันเรียกว่า แรงโคฮีชัน จึงสามารถดึงน้ำ�ขึ้นไปในท่อไซเล็มได้เป็นสายไม่ขาดตอน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

122