Table of Contents Table of Contents
Previous Page  131 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 131 / 302 Next Page
Page Background

นอกจากนี้ ครูควรถามคำ�ถามเพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่ของ

น้ำ�ในรากกับชลศักย์โดยใช้คำ�ถามถามนักเรียนว่า

จากทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำ�ในรากที่ศึกษามา

นักเรียนคิดว่าชลศักย์ในบริเวณต่าง ๆ ของรากควรเป็นอย่างไร

ซึ่งนักเรียนควรตอบได้ว่า

การเคลื่อนที่ของน้ำ�ในรากควรเป็นไปตามความแตกต่างของชลศักย์ ดังนั้นชลศักย์บริเวณเซลล์ขนราก

ควรจะสูงกว่าในเซลล์ของคอร์เทกซ์และไซเล็มตามลำ�ดับ โดยครูอธิบายเพิ่มเติมว่าเนื่องจากน้ำ�ภายใน

ไซเล็มได้รับแรงดึงจากการคายน้ำ�ซึ่งทำ�ให้ชลศักย์ลดลง จึงเกิดความแตกต่างของชลศักย์ในบริเวณต่างๆ

ของรากขึ้น จากนั้นครูใช้คำ�ถามถามนักเรียนว่า

เมื่อน้ำ�ลำ�เลียงถึงไซเล็มแล้วจะเคลื่อนที่ต่อไปได้

อย่างไร

10.1.3 การลำ�เลียงน้ำ�ภายในไซเล็ม

ครูทบทวนความรู้ให้แก่นักเรียนว่า เมื่อน้ำ�เคลื่อนที่เข้าสู่ไซเล็มของรากแล้ว จะเคลื่อนที่ขึ้น

ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของลำ�ต้นผ่านทางไซเล็ม และอาจเชื่อมโยงความเข้าใจระหว่างการลำ�เลียงน้ำ�ตาม

ไซเล็มและโครงสร้างของไซเล็มในลำ�ต้น โดยนำ�ดอกไม้สีขาว ที่มีก้านตรง ยาว มาผ่าก้านตามยาว

อาจผ่าเป็น 2-4 แฉก นำ�แต่ละแฉกไปจุ่มในน้ำ�ที่มีสีผสมอาหารสีต่างกัน นานประมาณ 3-5 ชั่วโมง

เพื่อให้ได้ดอกไม้ที่มีกลีบหลายสีในดอกเดียวกัน นำ�มาให้นักเรียนดูแล้วถามว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนี้

เกิดขึ้นได้อย่างไร

โมเลกุลน้ำ�จากดินมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่เข้าสู่ไซเล็มโดยไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้หรือไม่

เพราะเหตุใด

ไมได้ เนื่องจากโมเลกุลน้ำ�ที่เข้าสู่รากและผ่านการลำ�เลียงน้ำ�ในรากแบบซิมพลาสต์และ

แบบทรานส์เมมเบรนนั้น จะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่เซลล์ขนรากตั้งแต่ขั้น

การลำ�เลียงน้ำ�จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่รากพืช ส่วนโมเลกุลน้ำ�ที่เข้าสู่รากและผ่านการลำ�เลียงน้ำ�

ในรากแบบอโพพลาสต์นั้น จะต้องเปลี่ยนมาเคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อเข้าสู่เซลล์

ก่อนที่จะผ่านเอนโดเดอร์มิสเข้าสู่ไซเล็ม

ตรวจสอบความเข้าใจ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

119