Table of Contents Table of Contents
Previous Page  126 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 126 / 302 Next Page
Page Background

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนความรู้เดิมให้กับนักเรียนว่า น้ำ� ธาตุอาหาร และอาหารที่ได้จาก

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงล้วนมีความสำ�คัญต่อการดำ�รงชีวิตของพืช จากนั้นครูใช้รูปนำ�บทหรือ

รูปต้นไม้ที่มีความสูงมากมาเปรียบเทียบกับอาคารที่มีความสูงใกล้เคียงกัน แล้วให้ข้อมูลนักเรียนว่า

อาคารที่มีความสูงมากจะมีเครื่องสูบน้ำ�เพื่อส่งน้ำ�ไปสำ�รองในถังเก็บน้ำ�ที่อยู่ชั้นบนสุดของอาคาร เพื่อ

ปล่อยลงมาใช้ภายในอาคาร ในขณะที่พืชซึ่งไม่มีกลไกดังกล่าวแต่ก็ต้องมีการลำ�เลียงน้ำ�และธาตุอาหาร

ที่ได้จากพื้นดินขึ้นไปสู่ลำ�ต้นด้านบนเช่นกัน

จากนั้นครูให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามในหนังสือเรียนว่า

พืชมีกลไกในการลำ�เลียง

น้ำ�จากดินไปยังส่วนต่างๆ ของพืชได้อย่างไร

หรืออาจใช้คำ�ถามดังนี้

พืชที่มีความสูงมากดังรูป มีกระบวนการในการลำ�เลียงน้ำ�จากรากขึ้นสู่ลำ�ต้นและส่วนยอด

ได้อย่างไร

จากการอภิปรายร่วมกันของนักเรียนอาจยังไม่ได้คำ�ตอบที่ถูกต้อง ครูอาจรวบรวมคำ�ตอบของ

นักเรียนมาเพื่อสรุป โดยยังไม่ต้องบอกว่าคำ�ตอบที่ได้นั้นผิดหรือถูก ซึ่งนักเรียนจะสามารถสรุปได้เมื่อ

ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้

10.1 การลำ�เลียงน้ำ�

จุดประสงค์การเรียนรู้

สืบค้นข้อมูลและอธิบายกลไกการลำ�เลียงน้ำ�จากดินเข้าสู่ราก และการลำ�เลียงไปยังส่วนต่าง ๆ

ของพืช

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับความสำ�คัญของน้ำ�ที่มีต่อการดำ�รงชีวิตและการเจริญเติบโต

ของพืช โดยน้ำ�เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญของเซลล์พืช ช่วยรักษาความเต่งของเซลล์ มีผลต่อการขยาย

ขนาดของเซลล์ เป็นตัวทำ�ละลาย มีส่วนสำ�คัญในกระบวนการต่าง ๆ ของเซลล์ และช่วยในการรักษา

อุณหภูมิในเซลล์พืชให้คงที่

จากนั้นครูทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับการแพร่และออสโมซิส และถามนักเรียนโดยใช้คำ�ถาม

ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

114