เพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดน้ำ�และธาตุอาหาร ส่วนที่ยื่นยาวออกไปของเซลล์ขนรากไม่มีคิวทินเคลือบ จึง
ทำ�ให้น้ำ�สามารถเคลื่อนที่เข้าสู่รากพืชได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ซึ่งครูอาจทบทวนว่าบริเวณที่พบเซลล์ขนราก
คือ บริเวณการเปลี่ยนสภาพและการเจริญเต็มที่ของเซลล์ (region of cell differentiation and
maturation)
10.1.2 การลำ�เลียงน้ำ�เข้าสู่ไซเล็ม
ครูนำ�รูป 10.3 ในหนังสือเรียนที่แสดงภาพตัดขวางของรากพืชใบเลี้ยงคู่มาให้นักเรียนศึกษา
โดยเน้นที่ไซเล็มและเอนโดเดอร์มิส จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่า
น้ำ�เข้าสู่
ไซเล็มได้อย่างไร
โดยครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากหนังสือเรียนเพื่อหาคำ�ตอบ และใช้คำ�ถามเพื่อ
นำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลดังนี้
การลำ�เลียงน้ำ�ในรากมีกี่แบบ อะไรบ้าง แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร
จากการสืบค้นข้อมูลนักเรียนควรอธิบายได้ว่าการลำ�เลียงน้ำ�ในรากมี 3 แบบ และสามารถใช้
รูป 10.3 ในหนังสือเรียนเพื่อประกอบการอธิบายว่า เมื่อน้ำ�เข้าสู่รากและเข้าสู่เซลล์แล้วเคลื่อนที่จาก
เซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่งทางพลาสโมเดสมาตา เรียกการลำ�เลียงน้ำ�แบบนี้ว่า แบบซิมพลาสต์ ทั้งนี้ครูอาจ
เน้นย้ำ�ว่า โมเลกุลของน้ำ�ในระหว่างการเคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งสู่เซลล์หนึ่งผ่านพลาสโมเดสมาตาจะ
ไม่ผ่านผนังเซลล์และเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนการลำ�เลียงน้ำ�แบบอโพพลาสต์ น้ำ�จะไม่ผ่านเข้าสู่เซลล์ แต่จะ
เคลื่อนที่ไปตามผนังเซลล์หรือช่องว่างระหว่างเซลล์ และการลำ�เลียงน้ำ�แบบทรานส์เมมเบรน น้ำ�จะ
เคลื่อนที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของสองเซลล์ที่ติดกัน ดังนั้นการลำ�เลียงน้ำ�ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์จะพบในแบบ
ทรานส์เมมเบรนเท่านั้น
ครูควรเน้นว่าโมเลกุลของน้ำ�ที่ลำ�เลียงแบบอโพพลาสต์เมื่อมาถึงเอนโดเดอร์มิสซึ่งตาม
ผนังเซลล์จะมีแถบแคสพาเรียน น้ำ�จะไม่สามารถลำ�เลียงแบบอโพพลาสต์ผ่านไปได้อีก จึงต้องผ่าน
เยื่อหุ้มเซลล์เพื่อเข้าสู่เซลล์แล้วเปลี่ยนมาลำ�เลียงแบบซิมพลาสต์หรือแบบทรานส์เมมเบรนผ่าน
ผนังเซลล์ด้านที่ขนานกับเอพิเดอร์มิสซึ่งเป็นด้านที่ไม่มีการสะสมของซูเบอรินแทน การลำ�เลียงจึง
เกิดขึ้นต่อเนื่องจนเข้าสู่ไซเล็ม นอกจากนี้น้ำ�แต่ละโมเลกุลอาจเปลี่ยนรูปแบบการลำ�เลียงไปมาได้
ระหว่างการเคลื่อนที่เข้าสู่ไซเล็ม
จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
118