ครูสามารถยกตัวอย่างการนำ�ความรู้เกี่ยวกับชลศักย์มาใช้ในการศึกษาเซลล์พืช จากกล่องความรู้
เพิ่มเติม โดยครูสามารถอ่านความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโพรโทพลาสต์ได้จาก link ใน QR code ของหน้า
ประจำ�บท จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบ
ดังนี้
ของเหลวใน 2 บริเวณมีความเข้มข้นของตัวละลายและความดันเท่ากัน แต่อุณหภูมิแตกต่าง
กัน พบว่าของเหลวในบริเวณที่อุณหภูมิสูงเคลื่อนที่ไปบริเวณที่อุณหภูมิต่ำ� จากข้อมูล
ข้างต้นให้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ พลังงานอิสระของน้ำ� ชลศักย์ และทิศทาง
การเคลื่อนที่ของน้ำ�
เมื่อพบว่าของเหลวในบริเวณที่อุณหภูมิสูงเคลื่อนที่ไปบริเวณที่อุณหภูมิต่ำ� แสดงว่าอุณหภูมิ
มีผลต่อพลังงานอิสระของน้ำ� โดยเมื่ออุณหภูมิสูง พลังงานอิสระของน้ำ�จะสูงขึ้น ทำ�ให้
ชลศักย์สูงขึ้น น้ำ�จึงมีการเคลื่อนที่จากบริเวณที่อุณหภูมิสูงไปยังบริเวณที่อุณหภูมิต่ำ�
ตรวจสอบความเข้าใจ
ครูใช้รูป 10.2 ในหนังสือเรียน และ
รูปการเรียงต่อกันเป็นท่อของเวสเซลเมมเบอร์
และเทรคีดในไซเล็ม เพื่อให้นักเรียนอภิปราย
ร่วมกันว่า การลำ�เลียงน้ำ�ในพืชมีทิศทาง
อย่างไร ซึ่งนักเรียนควรสรุปได้ว่า น้ำ�และธาตุ
อาหารจะเคลื่อนที่จากดินเข้าสู่รากและเข้าสู่
ไซเล็มไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชผ่านเวสเซล
เมมเบอร์และเทรคีดซึ่งเป็นเซลล์ที่เรียงต่อกัน
มีลักษณะคล้ายท่อ โดยจะมีทิศทางการลำ�เลียง
จากรากขึ้นสู่ยอด การลำ�เลียงน้ำ�ในพืชอาจ
แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ การลำ�เลียงน้ำ�จาก
สิ่งแวดล้อมเข้าสู่รากพืช การลำ�เลียงน้ำ�เข้าสู่
ไซเล็ม และการลำ�เลียงน้ำ�ภายในไซเล็ม จาก
นั้นให้นักเรียนอภิปรายว่าการลำ�เลียงน้ำ�
ในแต่ละช่วงควรจะเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป
รูปทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำ�และธาตุอาหารในพืช
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
116