10.1.1 การลำ�เลียงน้ำ�จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่รากพืช
ครูตั้งคำ�ถามเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนว่า
พืชมีการลำ�เลียงน้ำ�จากดินเข้าสู่รากได้อย่างไร ซึ่งนักเรียน
อาจตอบว่าเกิดจากออสโมซิส จากนั้นครูทบทวนเรื่องชลศักย์
เพื่อให้นักเรียนนำ�มาอธิบาย โดยตั้งคำ�ถามดังนี้
สารละลายในดินกับสารละลายในเซลล์ขนราก
มีความเข้มข้นแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
ชลศักย์ของสารละลายในดินกับสารละลายใน
เซลล์ขนรากแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
การเคลื่อนที่ของน้ำ�จากดินเข้าสู่รากอธิบายได้
ด้วยชลศักย์อย่างไร
นักเรียนควรตอบได้ว่า ความเข้มข้นของสารละลายในดินต่ำ�กว่าในเซลล์ขนราก ชลศักย์ของ
สารละลายในดินจึงสูงกว่าสารละลายในเซลล์ขนราก และอธิบายได้ว่าการเคลื่อนที่ของน้ำ�จากดินเข้าสู่
รากเกิดจากความแตกต่างระหว่างชลศักย์ของสารละลายในดินกับสารละลายในเซลล์ขนราก
ดังรูปการเคลื่อนที่ของน้ำ�จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่รากพืช โดยน้ำ�บางส่วนอาจผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่
ไซโทพลาซึมของเซลล์ขนรากโดยออสโมซิสและการแพร่แบบฟาซิลิเทต และน้ำ�บางส่วนอาจเคลื่อนที่
ผ่านไปตามผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมว่าน้ำ�ที่เคลื่อนที่ผ่านตาม
ผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์อาจไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เพื่อเข้าสู่ไซโทพลาซึม แต่จะซึมผ่านไปตาม
ผนังเซลล์ของเซลล์พืชซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยเซลลูโลสสานกัน และซึมผ่านไปตามช่องว่างระหว่าง
เซลล์
จากนั้นครูทบทวนเกี่ยวกับโครงสร้างของปลายรากพืช โดยใช้คำ�ถามดังนี้
บริเวณใดของรากพืชที่มีความสามารถในการดูดน้ำ�ได้มากกว่าบริเวณอื่น
ลักษณะของเซลล์ขนรากมีผลต่อการเคลื่อนที่ของน้ำ�เข้าสู่รากพืชอย่างไร
นักเรียนควรตอบได้ว่า บริเวณที่มีความสามารถในการดูดน้ำ�ได้มากคือบริเวณที่มีเซลล์ขนราก
โดยเซลล์ขนรากมีผนังด้านนอกยื่นยาวออกไปคล้ายขนและยาวกว่าความกว้างของเซลล์หลายเท่าเพื่อ
รูปทิศทางการเคลื่อนที่ของน้ำ�
จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่รากพืช
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
117