จากการทำ�กิจกรรม 10.1 ในระหว่างที่กระดาษโคบอลต์คลอไรด์เปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีชมพู
การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างใบพืชกับบรรยากาศเกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร
ในระหว่างที่กระดาษโคบอลต์คลอไรด์เปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีชมพู แสดงว่าพืชมีการเปิด
ปากใบซึ่งทำ�ให้เกิดการคายน้ำ�และการแลกเปลี่ยนแก๊ส การแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างใบพืช
และบรรยากาศจะเกิดขึ้นโดยแก๊สจะมีการแพร่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปบริเวณที่
มีความเข้มข้นต่ำ�ผ่านทางปากใบ
ตรวจสอบความเข้าใจ
10.2.3 การคายน้ำ�
ครูให้ความรู้กับนักเรียนว่า พืชคายน้ำ�ผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ
ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต่ำ�กว่าภายในใบพืช โดยการคายน้ำ�ทำ�ให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำ�ซึ่งช่วย
ในการลำ�เลียงน้ำ�และธาตุอาหารของพืช และช่วยในการรักษาอุณหภูมิของใบพืช จากนั้นครูให้นักเรียน
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ�ของพืช โดยครูใช้คำ�ถามดังนี้
ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการคายน้ำ�ของพืช และปัจจัยเหล่านั้นมีผลอย่างไร
จากการสืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกันนักเรียนควรสรุปได้ว่า ความชื้นสัมพัทธ์ ลม อุณหภูมิ
ปริมาณน้ำ�ในดิน และความเข้มแสง เป็นปัจจัยหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการเปิดปิดของ
ปากใบและการคายน้ำ�ของพืช นอกจากนี้ครูอาจใช้คำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียนถามนักเรียนเพิ่มเติม
ดังนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
132