Table of Contents Table of Contents
Previous Page  149 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 149 / 302 Next Page
Page Background

อาหารของพืช plant nutrient deficiency และกระตุ้นให้นักเรียนนำ�ข้อมูลที่ได้จากการ

สืบค้นมาวิเคราะห์ และจัดกระทำ�ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ

รวมทั้งให้นักเรียนออกแบบรูปแบบการนำ�เสนอข้อมูล โดยอาจทำ�ในรูปแบบของแผ่นพับ

infographic โปสเตอร์ หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์นำ�เสนอด้วยโปรแกรม power

point เพื่อประกอบการนำ�เสนอ

4. ครูให้นักเรียนนำ�เสนอข้อมูลตามที่นักเรียนได้ออกแบบไว้ โดยอาจใช้วิธีการเวียนฐาน การ

นำ�เสนอหน้าชั้นเรียน โดยในขั้นตอนนี้ครูอาจใช้คำ�ถามกระตุ้นให้นักเรียนเห็นถึง

ความสำ�คัญของธาตุอาหาร และการนำ�ความรู้เกี่ยวกับอาการของพืชเมื่อได้รับธาตุอาหาร

น้อยเกินไปมาใช้ประโยชน์ เช่น

- อาการขาดธาตุอาหารแต่ละชนิดของพืชที่นักเรียนศึกษาเหมือนหรือแตกต่างกัน

อย่างไร

- อาการขาดธาตุอาหารชนิดนี้ในพืชที่นักเรียนศึกษาเมื่อเปรียบเทียบกับพืชที่เพื่อน

ทำ�การศึกษาเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

- อาการขาดธาตุอาหารแต่ละชนิดสัมพันธ์กับหน้าที่ของธาตุอาหารนั้นที่นักเรียน

เคยรู้มาหรือไม่ อย่างไร

- การขาดธาตุอาหารส่งผลอย่างไรต่อผลผลิตของพืชที่นักเรียนศึกษา

- ความรู้เกี่ยวกับอาการขาดธาตุอาหารพืชสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปข้อมูล เพื่อให้เห็นว่าธาตุอาหารมีความจำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต

ของพืช เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารน้อยเกินไปจะมีการแสดงอาการที่แตกต่างกันไปตามชนิด

ของธาตุอาหาร ซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช

เฉลยคำ�ถามท้ายกิจกรรม

ถ้าพืชต่างชนิดขาดธาตุอาหารชนิดเดียวกัน พืชจะแสดงอาการเหมือนหรือแตกต่างกัน

อย่างไร ให้ระบุชนิดพืช ธาตุอาหาร และอาการที่พืชแสดงออก

คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่นักเรียนทั้งห้องได้จากการทำ�กิจกรรม ทั้งนี้

นักเรียนควรสรุปได้ว่าอาการที่พืชแสดงออกจะใกล้เคียงกัน โดยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง

ตามชนิดพืช เช่น เมื่อขาดไนโตรเจนพืชต่าง ๆ จะแสดงอาการ ดังนี้

- ข้าว จะมีอาการต้นแคระแกร็น แตกกอน้อย ใบแคบ ใบแก่มีสีเขียวปนเหลือง สีเหลือง

และตายในที่สุด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

137