เพราะเหตุใดน้ำ�ตาลจึงไม่สามารถลำ�เลียงผ่านมายังส่วนด้านล่างของลำ�ต้นจนทำ�ให้เกิดการ
พองของเปลือกลำ�ต้นเหนือรอยควั่น
เนื่องจากการที่โฟลเอ็มถูกลอกออกทำ�ให้ท่อที่เกิดจากการเรียงตัวของซีฟทิวบ์เมมเบอร์ใน
เนื้อเยื่อโฟลเอ็มถูกตัดขาดจากกัน น้ำ�ตาลที่ถูกลำ�เลียงมาตามโฟลเอ็มจึงไม่สามารถไปสู่ลำ�ต้น
ที่อยู่ด้านล่างและมาสะสมอยู่บริเวณเหนือรอยควั่น จนทำ�ให้เกิดการพองของเปลือก
ลำ�ต้นเหนือรอยควั่น
จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำ�การทดลองต่อมา
และรูป 10.15 ในหนังสือเรียน พร้อมใช้คำ�ถามถามนักเรียนว่า
จากการทดลองนักเรียนจะสรุปการลำ�เลียงน้ำ�ตาลของโฟลเอ็มว่ามีทิศทางการลำ�เลียง
อย่างไร
เมื่อใบสร้างอาหารแล้ว น้ำ�ตาลที่ใบพืชที่อยู่ส่วนล่างของลำ�ต้นจะลำ�เลียงสู่ส่วนล่างของลำ�ต้น
น้ำ�ตาลที่ใบพืชที่อยู่ใกล้ปลายยอดจะถูกลำ�เลียงไปสู่บริเวณยอด ดังนั้นใบพืชที่อยู่ตรงกลาง
ลำ�ต้นเมื่อสร้างน้ำ�ตาลแล้วจะสามารถลำ�เลียงน้ำ�ตาลไปได้ทั้ง 2 ทิศทางคือ ทิศทางด้านบน
ลำ�เลียงขึ้นไปสู่ส่วนยอดและทิศทางด้านล่างลำ�เลียงลงสู่ส่วนราก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่อ
โฟลเอ็มในพืชจะเชื่อมโยงติดต่อกันตลอดลำ�ต้นพืช พืชจึงสามารถเคลื่อนย้ายอาหารไปได้
ทุกๆ ส่วนของต้นพืช
ถ้าทำ�การทดลองโดยควั่นรอบเปลือกลำ�ต้นอ้อยและลอกส่วนเปลือกบริเวณรอยควั่นออก
จะได้ผลเช่นเดียวกับการทดลองนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ได้ผลแตกต่างกัน เพราะอ้อยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีเนื้อเยื่อลำ�เลียงกระจายอยู่ทั่วไปใน
ลำ�ต้น เมื่อควั่นเปลือกของลำ�ต้นออกไปจึงยังสามารถลำ�เลียงอาหารผ่านเนื้อเยื่อโฟลเอ็มที่
อยู่ด้านในของลำ�ต้น จึงไม่เกิดการสะสมของอาหารบริเวณเหนือรอยควั่น
ตรวจสอบความเข้าใจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
141