10.4 การลำ�เลียงอาหาร
จุดประสงค์การเรียนรู้
อธิบายกลไกการลำ�เลียงอาหารในพืช
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�ตัวอย่างรูปพืชที่มีการสะสมอาหารบริเวณรากและลำ�ต้นใต้ดิน เช่น แครอท มันแกว
หัวไชเท้า เผือก มันฝรั่ง มาให้นักเรียนศึกษาและใช้คำ�ถามดังนี้ี้
อาหารที่พืชสะสมในบริเวณที่ไม่ได้มีการสังเคราะห์ด้วยแสงมาจากแหล่งใด
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ใบ พืชมีการลำ�เลียงอาหารที่สร้าง
ขึ้นไปยังส่วนต่าง ๆ ได้อย่างไร
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า พืชบางชนิดมีการสะสมอาหารในบริเวณรากและ
ลำ�ต้นใต้ดิน อาหารเหล่านี้ได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบแล้วลำ�เลียงจากใบไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของ
พืช นอกจากนี้ เซลล์ของเนื้อเยื่อพืช เช่น บริเวณรากและลำ�ต้น ต้องการอาหาร เพื่อนำ�พลังงานที่ได้
จากอาหารนั้นไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์ด้วย กระบวนการในการลำ�เลียงอาหารจาก
ใบไปยังส่วนต่าง ๆ นักเรียนอาจยังตอบไม่ได้ ครูควรรวบรวมคำ�ตอบของนักเรียน โดยนักเรียนจะได้
ศึกษาในเนื้อหานี้
10.4.1 การศึกษาการเคลื่อนย้ายอาหารในพืช
ครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับตำ�แหน่งของเนื้อเยื่อไซเล็มและโฟลเอ็มในลำ�ต้นพืชแล้วให้นักเรียน
ศึกษาการทดลองของมัลพิจิ และรูป 10.14 ในหนังสือเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือ
เรียนซึ่งมีแนวการตอบดังนี้
ส่วนของเปลือกลำ�ต้นที่ถูกลอกออกควรจะเป็นเนื้อเยื่อชนิดใด
ส่วนของเปลือกลำ�ต้นที่ถูกลอกออกควรจะเป็นบริเวณเนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิส คอร์เทกซ์ และ
โฟลเอ็มซึ่งเรียงตัวเป็นวงอยู่ทางด้านนอกของลำ�ต้น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
140