Table of Contents Table of Contents
Previous Page  150 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 150 / 302 Next Page
Page Background

- ฝ้าย ใบแก่จะมีสีเหลืองและมีจุดสีน้ำ�ตาลอยู่ทั่วไป ขนาดใบเล็กกว่าปกติ

- มันสำ�ปะหลัง จะมีลำ�ต้นเล็ก เตี้ย เติบโตช้า ใบมีสีเขียวอ่อนหรือค่อนข้างเหลือง

- ส้ม ใบจะเหลืองแล้วหลุดร่วง โดยมักพบในใบแก่ก่อน

- ยางพารา ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้ม ปลายใบและขอบใบจะค่อย ๆ แห้ง

โดยอาการเกิดที่ใบแก่หรือใบล่างก่อน ขนาดของใบจะเล็กกว่าปกติ

จากนั้นครูให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่นักเรียนเพื่อเฉลยคำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียนว่าเมื่อพืชได้รับ

ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อพืชได้เช่นกัน พร้อมยกตัวอย่างอาการที่พืช

จะแสดงออกเมื่อได้รับธาตุอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น เมื่อข้าวได้รับไนโตรเจนมากเกินไป จะแสดง

อาการเฝือใบหรือบ้าใบ ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ลำ�ต้นสูง อ่อนแอ ล้มง่าย เมล็ดลีบ ผลผลิตลดลง

หรือเมื่อได้รับเหล็กมากเกินไป จะพบจุดสีน้ำ�ตาลที่ใบซึ่งอยู่บริเวณด้านล่างของลำ�ต้น โดยเริ่มจาก

ปลายใบเข้าสู่โคนใบ ต่อมาจุดเหล่านี้จะขยายขนาดและรวมกันเป็นจุดใหญ่ระหว่างเส้นใบ หากมีอาการ

รุนแรงการเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก

จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลในหนังสือเรียนและอภิปรายร่วมกัน โดยใช้คำ�ถามดังนี้

พืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารในปริมาณที่เท่ากันหรือไม่

ในแต่ละช่วงระยะการเจริญเติบโตพืชต้องการธาตุอาหารแต่ละชนิดเท่ากันในทุกช่วงหรือไม่

จากการอภิปรายร่วมกัน นักเรียนควรสรุปได้ว่า พืชต้องการธาตุอาหารแต่ละชนิดในปริมาณไม่

เท่ากัน และปริมาณธาตุอาหารที่พืชต้องการยังแตกต่างกันไปในแต่ละระยะการเจริญเติบโตและ

แตกต่างไปตามชนิดพืช จากนั้นครูนำ�เข้าสู่เนื้อหาการปลูกพืชในสารละลายหรือไฮโดรพอนิกส์ โดย

เชื่อมโยงกับชีวิตประจำ�วันว่า ถ้าหากต้องการปลูกพืชแต่ไม่มีพื้นที่เพียงพอที่จะปลูกพืชบนดินได้ หรือ

หากต้องการปลูกพืชโดยควบคุมปริมาณธาตุอาหารที่พืชได้รับนักเรียนคิดว่าจะมีวิธีใดบ้าง ครูให้

นักเรียนอภิปรายร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อนำ�ไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับการปลูกพืชไฮโดรพอนิกส์ โดยครูอาจใช้

รูปการปลูกพืชไฮโดรพอนิกส์หรือรูป 10.13 ในหนังสือเรียนเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักเรียนดู จากนั้นให้

นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 10 | การลำ�เลียงของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

138