- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร จะเป็นการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้องกับ
ระบบแสง I โดยจะมีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนผ่านตัวรับอิเล็กตรอนต่าง ๆ จนกลับมายัง
ศูนย์กลางปฏิกิริยาของระบบแสง I เช่นเดิม โดยไม่มี NADP
+
เป็นตัวรับอิเล็กตรอน
ตัวสุดท้ายจึงไม่มีการสร้าง NADPH
4. การสร้าง ATP เกิดขึ้นได้ดังนี้
- เมื่อเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร ศูนย์กลางปฏิกิริยาแสงของ
ระบบแสง II ซึ่งสูญเสียอิเล็กตรอนไปจะสามารถดึงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลของน้ำ�ได้
และทำ�ให้เกิดการแตกตัวของน้ำ�สลายเป็นออกซิเจน โปรตอน และอิเล็กตรอน ทำ�ให้
โปรตอนอยู่ในลูเมน
- เมื่อเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนทั้งแบบไม่เป็นวัฏจักรและแบบเป็นวัฏจักร การถ่ายทอด
อิเล็กตรอนจะเกิดขึ้นในลักษณะที่ส่งต่อไปยังตัวรับอิเล็กตรอนที่มีพลังงานต่ำ�กว่าและ
ในขณะที่มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจากพลาสโทควิโนนผ่านไซโทโครมคอมเพล็กซ์จะ
ทำ�ให้เกิดการเคลื่อนย้ายโปรตอนจากสโตรมาเข้าสู่ลูเมน
- เมื่อมีโปรตอนสะสมในลูเมนมากขึ้นจนเกิดความแตกต่างของความเข้มข้นของโปรตอน
ในลูเมนและสโตรมา จึงเกิดการเคลื่อนย้ายของโปรตอนจากลูเมนสู่สโตรมาผ่าน
ATP synthase และพลังงานจากความแตกต่างของความเข้มข้นของโปรตอนในลูเมน
และสโตรมาจะถูกนำ�มาใช้ในการสร้าง ATP
5. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักรจะได้ทั้ง NADPH และ ATP รวมทั้งเกิด O
2
ส่วนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรจะเกิดเฉพาะ ATP
6. ปฏิกิริยาแสงเป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมีในรูปของสารพลังงานสูง คือ
NADPH และ ATP ซึ่งจะนำ�ไปใช้ในการตรึงคาร์บอนต่อไป
สำ�หรับคำ�ถามในหนังสือเรียนมีแนวคำ�ตอบ ดังนี้
อิเล็กตรอนที่ออกจากระบบแสง II จะเข้าสู่ระบบแสง I ทันทีหรือไม่
ไม่ได้ทันที โดยอิเล็กตรอนที่ออกจากระบบแสง II จะส่งผ่านตัวรับอิเล็กตรอนหลายชนิดซึ่งมี
พลังงานต่ำ�ลงเป็นลำ�ดับก่อนจะเข้าสู่ระบบแสง I
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
183