11.2.3 ปฏิกิริยาแสง
ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารสีว่าแม้สารสีต่าง ๆ จะสามารถดูดกลืนพลังงานแสงได้ แต่ไม่ใช่
สารสีทุกชนิดที่สามารถให้อิเล็กตรอนแก่ตัวรับอิเล็กตรอนได้ จะต้องเป็นสารสีที่เป็นคลอโรฟิลล์เอ
โมเลกุลพิเศษเท่านั้น โดยครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับระบบแสงของพืชโดยใช้รูป11.11 ในหนังสือเรียน
ประกอบ เพื่อทำ�ความเข้าใจว่าสารสีจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มในโครงสร้างของโปรตีนเชิงซ้อนซึ่งเรียกว่า
ระบบแสงเพื่อช่วยกันดูดกลืนพลังงานแสง โดยระบบแสงจะมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยกลุ่มของสารสี
ที่เรียกว่าแอนเทนนา ซึ่งจะทำ�หน้าที่รับส่งพลังงานไปยังศูนย์กลางปฏิกิริยาซึ่งเป็นคลอโรฟิลล์เอ
โมเลกุลพิเศษและทำ�ให้เกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนไปยังตัวรับอิเล็กตรอนได้
เกลือเฟอรัสในการทดลอง ข. เกิดขึ้นได้อย่างไร
เกลือเฟอรัสในการทดลอง ข. เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยเกลือเฟอริกรับอิเล็กตรอน
และเปลี่ยนเป็นเกลือเฟอรัส
เพราะเหตุใดการทดลอง ก. และ ข. จึงเกิด O
2
แต่การทดลอง ค. ไม่มี O
2
เกิดขึ้น
ในการทดลอง ก. และ ข. มีตัวรับอิเล็กตรอนทำ�ให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นได้ จึงมี O
2
เกิดขึ้น
ส่วนในการทดลอง ค. ไม่มีตัวรับอิเล็กตรอนจึงไม่มี O
2
เกิดขึ้น
จากการทดลองของฮิลล์ สามารถสรุปได้ว่าอย่างไร
การทดลองของฮิลล์แสดงให้เห็นว่า ปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับแสงในกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสง จะเกิดขึ้นได้ (มี O
2
เกิดขึ้น) เมื่อมีตัวรับอิเล็กตรอน
ในปัจจุบันทราบแล้วว่าพืชมี NADP
+
(nicotinamide adenine dinucleotide phosphate)
มารับอิเล็กตรอน เกิดเป็น NADPH ซึ่งเป็นตัวรีดิวส์ที่จะนำ�ไปใช้ในการเปลี่ยน CO
2
ให้อยู่ใน
รูปคาร์โบไฮเดรตต่อไป โดยน้ำ�ที่แตกตัวจะได้เป็นโปรตอน (H
+
) อิเล็กตรอน (e
-
) และ O
2
คลอโรฟิลล์เอโมเลกุลพิเศษที่เป็นศูนย์กลางปฏิกิริยาเป็นโมเลกุลคู่ของคลอโรฟิลล์เอ
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
181