ครูเชื่อมโยงการทำ�กิจกรรมข้างต้นเพื่อเข้านำ�สู่เรื่องพลังงานแสงและสารสี ซึ่งเป็นเรื่องที่
นักเรียนควรทำ�ความเข้าใจก่อนเรียนรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้
11.2.1 พลังงานแสง
จากการทำ�กิจกรรมเสนอแนะ ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องพลังงานแสง ดังนี้
จากการทดลองข้างต้นนักเรียนสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าสารสกัดจากใบพืชมีการดูดกลืนแสง
เพราะเหตุใดสารสกัดจากใบพืชจึงดูดกลืนแสงได้
แสงคืออะไร และแสงเป็นพลังงานหรือไม่ อย่างไร
นักเรียนสามารถตอบคำ�ถามข้างต้นได้โดยใช้ความรู้เดิม ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่าพืชสามารถ
ดูดกลืนแสงเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยแสงเป็นพลังงานและเป็นรังสีในรูปของ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีสมบัติเป็นอนุภาค ทั้งนี้ครูสามารถใช้รูป 11.5 ในหนังสือเรียนเพื่ออธิบาย
เพิ่มเติมว่าแสงมีสมบัติเป็นอนุภาคเรียกว่าโฟตอน ซึ่งแสงที่ตามนุษย์มองเห็นได้ประกอบด้วยโฟตอน
ที่มีความยาวคลื่นต่างๆ และมีระดับพลังงานที่ต่างกัน โดยระดับพลังงานของโฟตอนจะแปรผกผันกับ
ความยาวคลื่นของแสง ซึ่งครูอาจเชื่อมโยงความรู้ดังกล่าวนี้กับเนื้อหาในวิชาฟิสิกส์ได้
คำ�ถามท้ายกิจกรรม
เมื่อนำ�สารสกัดจากใบพืชมาทดสอบการดูดกลืนแสงด้วยอุปกรณ์ดังข้อ 2.1 ก่อนและหลัง
วางสารสกัดจากใบพืชจะเห็นแสงสีที่อยู่บนแผ่นซีดีแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
ก่อนวางสารสกัดจากใบพืชจะเห็นแสงสีบนแผ่นซีดีมีสีน้ำ�เงิน เขียว และแดงชัดเจน ส่วน
หลังวางสารสกัดจากใบพืชจะยังคงเห็นแสงสีบนแผ่นซีดีมีสีเขียวได้ชัดเจนเช่นเดิม และอาจ
จะเห็นสีแดงบ้างเล็กน้อย แต่จะไม่เห็นสีน้ำ�เงิน
การหายไปของแสงสีที่เห็นบนแผ่นซีดีหลังจากวางสารสกัดจากใบพืช เนื่องจากในสารสกัด
จากใบพืชมีคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์ซึ่งเป็นสารสีที่สามารถดูดกลืนแสงได้ โดยจาก
การทดลองพบว่าจะดูดกลืนแสงสีน้ำ�เงินและสีแดงได้มาก แต่ดูดกลืนแสงสีเขียวได้น้อย
ทำ�ให้หลังวางสารสกัดจากใบพืชจึงเห็นเพียงแสงสีเขียวเหลืออยู่บนแผ่นซีดีได้ชัดเจน
เมื่อนำ�สารสกัดจากใบพืชมาแยกโดยโครมาโทกราฟีจะพบว่ามีสารสีชนิดใดบ้าง
เมื่อนำ�สารสกัดจากใบพืชมาแยกโดยโครมาโทกราฟีจะเห็นแถบสีเขียวและแถบสีเหลือง
ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าสารสกัดจากใบพืชมีคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์อยู่ด้วย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
177