ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าในพืชจะมีระบบแสง 2 ระบบ ได้แก่ ระบบแสง I และระบบแสง II โดยใช้
รูป 11.12 ในหนังสือเรียน เพื่อแสดงให้เห็นว่าสารสีในแต่ละระบบแสงจะฝังตัวอยู่ในโปรตีนต่างชนิดกัน
จึงทำ�ให้แต่ละระบบแสงสามารถดูดกลืนพลังงานแสงได้แตกต่างกัน ซึ่งนำ�ไปสู่การเรียกศูนย์กลาง
ปฏิกิริยาของระบบแสง I ว่า P700 และศูนย์กลางปฏิกิริยาของระบบแสง II ว่า P680
จากนั้นครูอาจใช้รูป 11.10 ในหนังสือเรียนเพื่ออธิบายเกี่ยวกับภาพรวมของปฏิกิริยาแสงว่า
เมื่อศูนย์กลางปฏิกิริยาของระบบแสงได้รับพลังงานจะทำ�ให้อิเล็กตรอนของคลอโรฟิลล์เอโมเลกุลพิเศษ
มีพลังงานสูงขึ้น และเมื่อมีตัวรับอิเล็กตรอนจะเกิดการถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสง ซึ่งจะ
เป็นการถ่ายทอดพลังงานเช่นกัน โดยการถ่ายทอดอิเล็กตรอนนี้จะมีการรับและส่งอิเล็กตรอนเป็นทอดๆ
ต่อเนื่องกันผ่านตัวรับอิเล็กตรอนต่างๆ ทั้งนี้ครูอาจใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับการสร้าง NADPH และ ATP โดยใช้ข้อมูลจากแผนภาพในรูป 11.10 ดังนี้
จากรูป 11.10 ตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายคือสารใด
การสร้าง ATP น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องมาจากสาเหตุใด
คำ�ตอบของนักเรียนอาจยังไม่ครอบคลุม ซึ่งนักเรียนอาจตอบได้ว่าเมื่อดูจากแผนภาพตัวรับ
อิเล็กตรอนตัวสุดท้าย คือ NADP
+
ได้เป็น NADPH และในระหว่างที่มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจะทำ�ให้
เกิดการสร้าง ATP ขึ้น โดยครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร
และการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักรโดยใช้รูป 11.13 11.14 และ 11.15 ในหนังสือเรียน เพื่อ
ให้นักเรียนเข้าใจปฏิกิริยาแสงโดยมีครูเป็นผู้เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับปฏิกิริยาแสงเพื่อให้ได้ข้อสรุป ดังนี้
1. ปฏิกิริยาแสงเกิดบนเยื่อไทลาคอยด์ ซึ่งมีระบบแสง I ระบบแสง II ตัวรับอิเล็กตรอนต่าง ๆ
และเอนไซม์ ATP synthase
2. เมื่อมีตัวรับอิเล็กตรอนจากคลอโรฟิลล์เอโมเลกุลพิเศษที่เป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยาแสงจะ
มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนต่อเนื่องกันผ่านตัวรับอิเล็กตรอนต่าง ๆ
3. การถ่ายทอดอิเล็กตรอนในปฏิกิริยาแสงเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่
- การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร จะเป็นการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่เกี่ยวข้อง
กับทั้งระบบแสง I และระบบแสง II โดยมี NADP
+
เป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายได้
เป็น NADPH
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
182