จากนั้นครูนำ�เข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยอาจเชื่อมโยงจากการศึกษา
ของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตว่าจากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์จำ�นวนมากทำ�ให้สรุปได้เป็น
สมการเคมีของการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งสมการเคมีดังกล่าวนั้นเป็นเพียงสมการโดยรวมที่ประกอบไป
ด้วยปฏิกิริยาหลายปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเหล่านั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ปฏิกิริยาแสง
และการตรึงคาร์บอน ครูอาจใช้คำ�ถามว่า
ปฏิกิริยาแสงและการตรึงคาร์บอนเกิดที่ส่วนใดของ
คลอโรพลาสต์
คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีได้หลากหลายโดยสุดท้ายครูเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติมและสรุป
ให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาแสงและการตรึงคาร์บอน ดังนี้
ปฏิกิริยาแสง
เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลืนแสงของสารสี โดยสารสีจะฝังตัวอยู่ที่
เยื่อไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาแสง เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาแสง พลังงานแสงจะ
เปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีในสารพลังงานสูง 2 ชนิด ได้แก่ NADPH และ ATP ซึ่งจะถูกใช้ใน
การตรึงคาร์บอน
การตรึงคาร์บอน
เป็นขั้นตอนที่ตรึงคาร์บอนเพื่อนำ�มาสร้างน้ำ�ตาลโดยอาศัยสารตั้งต้นและ
เอนไซม์หลายชนิดที่อยู่ในสโตรมา ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดการตรึงคาร์บอน โดยในขั้นตอนนี้
จะใช้ NADPH และ ATP ที่ได้จากปฏิกิริยาแสง ทำ�ให้ได้ NADP
+
และ ADP ซึ่งจะนำ�กลับ
ไปใช้ในปฏิกิริยาแสงเพื่อสร้างสารพลังงานสูงต่อไป
หลังจากสรุปเกี่ยวกับปฏิกิริยาแสงและการตรึงคาร์บอนแล้ว ครูใช้รูป 11.4 ในหนังสือเรียนเพื่อ
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างปฏิกิริยาแสงและการตรึงคาร์บอน
หมายเหตุ
การตรึงคาร์บอน (carbon fixation) บางครั้งอาจเรียกว่า การตรึง CO
2
หรือวัฏจักร
คัลวิน ซึ่งหากใช้คำ�ว่าการตรึง CO
2
ในกรณีพืช C
4
และพืช CAMอาจทำ�ให้เกิดความสับสนได้ เนื่องจาก
พืช C
4
และพืช CAMนอกจากจะตรึงคาร์บอนในรูป CO
2
แล้ว ยังตรึงคาร์บอนในรูปHCO ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นในบทเรียนนี้จึงเลือกใช้คำ�ว่าการตรึงคาร์บอนเป็นส่วนใหญ่และใช้คำ�ว่าการตรึง CO
2
หรือวัฏจักร
คัลวินเมื่อกล่าวถึงขั้นตอนที่ตรึงคาร์บอนในรูป CO
2
ครูอาจกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมเสนอแนะ เรื่อง
สารสีและการดูดกลืนแสงของสารสี
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
173