จากการทดลองที่ 1 จะสรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
ในครอบแก้วที่เทียนไขดับมีแก๊สที่ทำ�ให้หนูตาย และในครอบแก้วที่หนูตายมีแก๊สที่ทำ�ให้
เทียนไขดับ หรือแก๊สที่หนูใช้หายใจเป็นชนิดเดียวกับแก๊สที่ทำ�ให้เทียนไขลุกไหม้
จากการทดลองที่ 1 พริสต์ลีย์ตั้งสมมติฐานว่าอย่างไร
สมมติฐานตั้งได้ว่า แก๊สที่ทำ�ให้หนูตายและเทียนไขดับน่าจะเป็นแก๊สชนิดเดียวกัน หรือแก๊ส
ที่หนูใช้หายใจและแก๊สที่ทำ�ให้เทียนไขติดไฟน่าจะเป็นแก๊สชนิดเดียวกัน
การทดลองที่ 2 เมื่อมีพืชเข้ามาเกี่ยวข้อง พริสต์ลีย์ตั้งสมมติฐานว่าอย่างไร
สมมติฐานตั้งได้ว่า แก๊สที่ทำ�ให้เทียนไขลุกไหม้ได้น่าจะมาจากพืช หรือพืชเปลี่ยนแก๊สที่ได้
จากเทียนไขที่ดับเป็นแก๊สที่ทำ�ให้เทียนไขลุกไหม้
เพราะเหตุใดในการทดลองที่ 2 จึงต้องทำ�การทดลองเพิ่มเติมโดยแบ่งอากาศหลังจากที่
เทียนไขดับแล้วออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งใส่พืชไว้ และอีกส่วนหนึ่งไม่ใส่พืชไว้ แล้วจึงจุด
เทียนไข
เพื่อควบคุมตัวแปรทำ�ให้สามารถเปรียบเทียบและสรุปได้ว่าเทียนไขลุกไหม้ได้อีกครั้งเมื่อมี
พืชอยู่เท่านั้น ถ้าไม่มีพืชจะไม่สามารถจุดเทียนไขให้ลุกไหม้ได้
จากการทดลองที่ 2 จะสรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
พืชสามารถทำ�ให้แก๊สที่ได้จากการลุกไหม้ (อากาศเสีย) เป็นแก๊สที่ทำ�ให้เกิดการลุกไหม้
(อากาศดี) ได้อีก
หมายเหตุ
จากการทดลองของพริสต์ลีย์สามารถให้นักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับวิธีดำ�เนินการทดลองต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และตระหนักว่าในการทดลองจะต้องมีการควบคุมตัวแปร
ต่าง ๆ ให้รัดกุม โดยอาจใช้คำ�ถามดังนี้
การนำ�พืชใส่เข้าไปในครอบแก้วที่เคยจุดเทียนไขไว้ก่อนแล้วทำ�ได้อย่างไร โดยไม่ทำ�ให้แก๊ส
ภายในครอบแก้วออกมาภายนอกและแก๊สภายนอกเข้าไปในครอบแก้ว
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
169