เพราะเหตุใดจะต้องปลูกต้นหลิวในถังที่ปิดฝาตลอดเวลา
การปลูกต้นหลิวในถังที่ปิดฝาตลอดเวลาเพื่อควบคุมปริมาณดินไม่ให้สูญหายไปโดยวิธีอื่นๆ
เช่น ลมพัด สัตว์คุ้ยเขี่ย เป็นต้น รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีสิ่งอื่นใดปะปนลงในดิน เช่น ใบไม้
ที่อาจร่วงหล่นทับถมลงในดิน โดยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านั้นนับเป็นตัวแปรที่ควบคุม เพื่อให้
ผลการทดลองที่ได้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
จากการทดลองของแวน เฮลมองท์ นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่า น้ำ�หนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้น
จากเดิม 5 ปอนด์ เป็น 169 ปอนด์ 3 ออนซ์มาจากไหน
คำ�ตอบของนักเรียนอาจมีหลากหลาย บางคนอาจตอบว่ามาจากน้ำ�ที่ใช้รด บางคนอาจตอบ
ว่ามาจากดิน บางคนอาจจะตอบไม่ได้ แต่ประจักษ์พยานที่เห็นได้ชัดก็คือ น้ำ�หนักที่เพิ่มขึ้น
ไม่น่าจะได้มาจากดิน หรืออาจมีบ้างเป็นส่วนน้อยที่อาจได้มาจากธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ใน
ดิน เพราะน้ำ�หนักของดินน้อยลงกว่าเมื่อเริ่มทดลองเพียง 2 ออนซ์ เท่านั้น
(แต่อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ส่วนประกอบของดินที่หายไปนั้น
เข้าไปอยู่ในพืชจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงไม่ควรตัดสินคำ�ตอบของนักเรียนว่าถูกหรือผิดในทันที
จนกว่าจะได้ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อไปเพื่อหาคำ�ตอบเพิ่มเติม)
แวน เฮลมองท์ สรุปว่าน้ำ�หนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นได้มาจากน้ำ�เท่านั้น นักเรียนเห็นด้วย
กับข้อสรุปดังกล่าวหรือไม่
นักเรียนอาจมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของแวน เฮลมองท์ (ขึ้นกับเหตุผลที่
นักเรียนแสดงความเห็น)
บางคนอาจเห็นด้วยกับข้อสรุปของแวน เฮลมองท์ เนื่องจากอาจมีข้อคิดเห็นว่าหากพิจารณา
เกี่ยวกับองค์ความรู้ในสมัยนั้นที่ยังมีไม่เพียงพอ ข้อสรุปดังกล่าวนี้ก็น่าจะสมเหตุสมผลใน
สมัยนั้น เพราะสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ ถ้าน้ำ�หนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นมาจากดิน
น้ำ�หนักของดินน่าจะต้องหายไปมากกว่านั้น แต่พบว่าน้ำ�หนักของดินซึ่งมีการควบคุม
ปริมาณดินโดยการปิดฝาถังหายไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงทำ�ให้นำ�ไปสู่ข้อสรุปว่า
น้ำ�หนักของต้นหลิวที่เพิ่มขึ้นจึงน่าจะมาจากน้ำ�ฝนที่รดให้ทุกวัน
บางคนอาจไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปของแวน เฮลมองท์ เนื่องจากอาจมีข้อคิดเห็นว่าน่าจะยัง
มีปัจจัยอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอกที่อาจส่งผลต่อการทดลองของแวน เฮลมองท์ ซึ่ง
ควรควบคุมในการทดลองด้วยเช่นกัน เช่น แสง แก๊สต่าง ๆ เป็นต้น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
167