12.1 ฮอร์โมนพืช
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายกระบวนการตอบสนองของพืชต่อฮอร์โมนพืช
2. สืบค้นข้อมูล อธิบายบทบาทและหน้าที่ของออกซิน ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน เอทิลีน
และกรดแอบไซซิก และอภิปรายเกี่ยวกับการนำ�ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูตั้งประเด็นคำ�ถามถามนักเรียนเพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช และ
สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืช ดังนี้
นักเรียนเคยบ่มผลไม้หรือไม่และใช้วิธีใด
นักเรียนเคยสังเกตต้นหูกวางหรือไม่ ก่อนที่ใบหูกวางจะร่วงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เกิดขึ้นบ้าง
คำ�ถามเหล่านี้นักเรียนอาจตอบได้หลากหลายตามประสบการณ์ของนักเรียน แต่ครูควร
อธิบายและเพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าการบ่มผลไม้ ทำ�ให้ผลไม้สุก และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับใบหูกวาง
เป็นผลมาจากฮอร์โมนพืช นอกจากนี้ครูอาจใช้รูป 12.2 อธิบายว่าวัฏจักรชีวิตของต้นพืชตั้งแต่งอก
ออกจากเมล็ดจนกระทั่งออกดอก ติดผล พบว่ามีการตอบสนองต่อฮอร์โมนพืชและทำ�ให้มีการ
เปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าฮอร์โมนพืชที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบนั้น
แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้หลายกลุ่ม โดยให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมในหนังสือเรียน ฮอร์โมนพืช
ที่ค้นพบคือ ออกซิน ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน เอทิลีน และกรดแอบไซซิก
12.1.1 ออกซิน
ครูให้นักเรียนศึกษาการทดลองการค้นพบออกซินจากรูป 12.3 ในหนังสือเรียน และครูอาจ
ถามคำ�ถาม ดังนี้
การทดลองของ Peter Boysen-Jensen สามารถสรุปได้ว่าออกซินมีผลต่อพืชอย่างไร
ออกซินทำ�ให้โคลีออพไทล์โค้งเข้าหาแสง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช
ชีววิทยา เล่ม 3
237