Table of Contents Table of Contents
Previous Page  246 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 246 / 302 Next Page
Page Background

สาระสำ�คัญ

ในวัฏจักรชีวิตของพืช ตั้งแต่เมล็ดมีการงอกเป็นต้นพืช จนกระทั่งออกดอก ติดผล พบว่า พืชมี

การเจริญเติบโต และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสรีรวิทยา ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการตอบสนอง

ของพืชต่อปัจจัยภายนอก เช่น น้ำ�หรือความชื้น แก๊สออกซิเจน อุณหภูมิ และแสง ซึ่งจะส่งผลต่อไปยัง

ปัจจัยภายใน เช่น ฮอร์โมนพืชกลุ่มต่าง ๆ คือ ออกซิน ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน เอทิลีน และกรด

แอบไซซิก พืชจะสร้างฮอร์โมนเหล่านี้ในปริมาณน้อย และทำ�งานในระดับความเข้มข้นต่ำ� โดยฮอร์โมน

ต่างๆ มีการทำ�งานร่วมกันในสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตซึ่งสามารถกระตุ้น ยับยั้ง

หรือทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพทางสรีรวิทยาของพืชให้เป็นไปตามธรรมชาติได้ นอกจากฮอร์โมน

พืชที่พืชสร้างขึ้นตามธรรมชาติแล้ว มนุษย์สามารถสังเคราะห์สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมน

พืช เพื่อประโยชน์ในทางการเกษตรอีกด้วย

พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกในรูปแบบของการเคลื่อนไหว เช่น แสง แรงโน้มถ่วง

ของโลก สารเคมี การสัมผัส โดยการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า อาจเกิดในรูปแบบทรอพิซึมหรือ

แนสติกมูฟเมนต์ นอกจากนี้พืชยังมีการตอบสนองแบบนูเทชันที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก

แต่เป็นผลมาจากธรรมชาติของพืชที่ควบคุมโดยพันธุกรรม

พืชมีการตอบสนองต่อภาวะเครียด เนื่องจากได้รับปัจจัยภายนอกมากหรือน้อยเกินไป เช่น

ภาวะเครียดจากน้ำ�ท่วม ความแห้งแล้ง ความร้อน อุณหภูมิต่ำ� ความเค็ม การถูกสัตว์กัดกิน หรือ

การเข้าทำ�ลายของจุลินทรีย์ พืชจะมีวิธีการตอบสนองต่อภาวะเครียดต่าง ๆ เพื่อให้สามารถมีชีวิต

อยู่รอดต่อไปได้

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 9 ชั่วโมง

12.1 ฮอร์โมนพืช

3 ชั่วโมง

12.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด

2 ชั่วโมง

12.3 การตอบสนองของพืชในลักษณะการเคลื่อนไหว

3 ชั่วโมง

12.4 การตอบสนองต่อภาวะเครียด

1 ชั่วโมง

รวม

9 ชั่วโมง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

234