Table of Contents Table of Contents
Previous Page  251 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 251 / 302 Next Page
Page Background

12.1.2 ไซโทไคนิน

ครูให้นักเรียนศึกษาการทดลองที่ทำ�ให้ค้นพบไซโทไคนิน แหล่งสร้างไซโทไคนิน ผลของ

ไซโทไคนิน และไซโทไคนินกับการนำ�ไปใช้ จากนั้นครูอาจกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยให้

นักเรียนดูรูป 12.6 ซึ่งเป็นรูปการตัดแต่งกิ่งเพื่อควบคุมทรงพุ่มของต้นทุเรียน และรูป 12.7 ความ

เข้มข้นของออกซินและไซโทไคนินที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อพืช ถ้าต้องการชักนำ�ให้พืช

เกิดแคลลัส และรากความเข้มข้นของออกซินต้องสูงกว่าไซโทไคนิน แต่ถ้าต้องการชักนำ�ให้พืชเกิดยอด

ความเข้มข้นของออกซินต้องต่ำ�กว่าไซโทไคนิน และถามคำ�ถามในหนังสือเรียน ดังนี้

เพราะเหตุใดชาวสวนต้องตัดยอดแต่งกิ่งทุเรียนเพื่อควบคุมทรงพุ่ม

เพื่อทำ�ให้ต้นทุเรียนแตกตาข้างออกมาใหม่ ทรงพุ่มโปร่ง และทำ�ให้ผลทุเรียนได้รับธาตุอาหาร

และเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่

การตัดยอดแต่งกิ่งมีผลต่อการทำ�งานของออกซินและไซโทไคนินอย่างไร

การตัดยอดแต่งกิ่งเป็นการลดแหล่งสร้างออกซิน ทำ�ให้ตาข้างที่อยู่ใกล้ยอดสามารถเจริญได้

เนื่องจากสัดส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินต่ำ� ทำ�ให้ต้นพืชแตกกิ่งข้างออกเป็นพุ่ม

ถ้าไม่ใช้วิธีการตัดยอดแต่งกิ่ง การทำ�ให้ทุเรียนแตกตาข้างสามารถทำ�ได้อย่างไร

การให้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายไซโทไคนิน เช่น BA เพื่อช่วยเร่งการแตกตาข้าง

จากรูป 12.7 นักเรียนจะสรุปได้ว่าอย่างไร

ออกซินและไซโทไคนินสามารถชักนำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อพืช ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

สัดส่วนของออกซินและไซโทไคนิน

ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมว่า ไซโทไคนินในธรรมชาติ คือ ซีเอทิน และสารสังเคราะห์ที่มีสมบัติ

คล้ายไซโทไคนิน เช่น ไคเนทิน มีสูตรโครงสร้างที่คล้ายกันในส่วนของอะดีนีนดังรูป

CH

2

CH

3

CH C

CH

CH

CH

2

OH

N

NH

NH

HN

N

N

N

CH

2

O

N

HN

N

ซีเอทิน

ไคเนทิน

C

CH CH

CH

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

239