Table of Contents Table of Contents
Previous Page  253 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 253 / 302 Next Page
Page Background

จากความรู้เรื่องกระบวนการตอบสนองของพืชต่อฮอร์โมนพืชและผลของเอทิลีน สามารถ

นำ�ไปใช้เพื่อยืดอายุการปักแจกันของไม้ตัดดอกได้อย่างไร

ใช้สารที่ยับยั้งการสร้างหรือการทำ�งานของเอทิลีนหรือเก็บไว้ในตู้ควบคุมอุณหภูมิต่ำ� เพื่อลด

เมแทบอลิซึมของไม้ตัดดอก

ครูอาจอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำ�เอทิลีนไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรอื่น ๆ ได้อีก

เช่น การใช้เอทิฟอนทาที่เปลือกต้นยางพารา เพื่อกระตุ้นให้น้ำ�ยางจับตัวแข็งช้าลงจึงทำ�ให้มีปริมาณ

น้ำ�ยางต่อการกรีดแต่ละครั้งมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรสามารถลดจำ�นวนความถี่ในการกรีดยางลง เช่น

กรีดยางวันเว้นสองวัน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพารา และต้นยางพารามีอายุใช้กรีดยาง

ได้ยาวนานขึ้น

12.1.5 กรดแอบไซซิก

ครูให้นักเรียนศึกษาการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบกรดแอบไซซิก ซึ่งพบว่ากรด

แอบไซซิกมีผลต่อการพักตัวของตา และการร่วงของผลฝ้าย และครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งสร้าง

กรดแอบไซซิก ผลของกรดแอบไซซิก และกรดแอบไซซิกกับการนำ�มาใช้ประโยชน์ในหนังสือเรียน จาก

นั้นครูใช้คำ�ถามเพิ่มเติมถามนักเรียน ดังนี้

กรดแอบไซซิกมีผลต่อพืชด้านใด

ทำ�ให้เมล็ด และตา เกิดการพักตัว กระตุ้นให้ปากใบปิดในภาวะที่พืชขาดน้ำ�

หลังจากที่นักเรียนได้ศึกษาฮอร์โมนพืชทั้ง 5 กลุ่ม แล้ว ครูอาจมีประเด็นอภิปรายเพิ่มเติม

ดังนี้

การตอบสนองของพืชส่วนใหญ่เกิดจากการทำ�งานของฮอร์โมนพืชเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

เท่านั้นหรือไม่

การตอบสนองของพืชส่วนใหญ่เกิดจากการทำ�งานร่วมกันของฮอร์โมนพืชมากกว่า 1 กลุ่ม

เช่น ออกซินและไซโทไคนินกระตุ้นการเจริญของผล นอกจากนี้ออกซิน ไซโทไคนิน และ

จิบเบอเรลลิน ชะลอการเสื่อมตามอายุของใบ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 12 | การควบคุมการเจริญเติบโตและการตอบสนองของพืช

ชีววิทยา เล่ม 3

241